แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิทยุสมัครเล่น แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิทยุสมัครเล่น แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รหัสมอร์สนุกแค่ใหน ลองฟํงดู เสียงระหว่างการแข่งขัน ARRL International DX Contest, CW 2010



ระหว่างการแข่งขันในรูปแบบ CW หรือรหัสมอร์ส จะได้ยินเพื่อนสมาชิกจำนวนมากมาใช้ความถี่ร่วมกัน ถ้าฟังผ่าน ๆ อาจจะรู้สึกสับสน แต่ถ้าฟังออก อาจจะรู้สึกเหมือนกำลังแข่งรถด้วยความเร็ว มีรถหลายคันวิ่งไล่ตามเรามา ลองฟังดูนะครับ

ผมกลับมาเปิดวิทยุสมัครเล่นย่าน 2 มิเตอร์ในบ้านเรา ก็ยังคุยกันเหมือนเดิม เล่นกันไปวัน ๆ หลายคนไม่เคยติดตามข่าวสารอะไรในวงการเลย

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การแข่งขัน CQ160 CW ปี 2010 และสายอากาศ Inverted L ของ HS8JYX

รายการแข่งขันที่ผมสนใจอีกรายการก็คือ CQ160 meter CW ในปี 2010 นี้จัดขึ้นในวันที่ 29 (2200 UTC)-31 มกราคม 2531 หรือพูดกันง่าย ๆ เขาจะจัดทุกสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มกราคม ของทุกปี โดยให้นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลกติดต่อกันให้ได้มากที่สุด สำหรับย่านความถี่ 1.8 MHz ผมเลือกใช้สายอากาศ Inverted L วัสดุที่ใช้ทำก็ใช้สายไฟที่ใช้เดินตามอาคาร ขนาด 1.5 mm. และ คาปาซิเตอร์ทนแรงดันสูงเก่า ๆ จากทีวี

ผมเดินทางมาถึงจุดที่จะตั้งสถานีในวันศุกร์ ใช้ไม้ไผ่ 2 ต้นเป็นเสาแทนที่จะใช้เสาโลหะ

ใช้ไม้ไผ่ 2 ต้นเป็นเสาแทนที่จะใช้เสาโลหะ

จุด ป้อนสัญญาณ ผมได้จัดทำไว้แล้ว โดยใช้ VC เป็นตัวปรับค่า SWR ใช้ Ground Rod 1 แท่งยาว 6 ฟุต ผมตอกลงไปประมาณ 5 ฟุต อีก 1 ฟุตไว้ต่อสาย และเพื่อความสะดวกเวลาเก็บอุปกรณ์ ใช้ Ground Radial 3 เส้น ตามสูตร สายที่ใช้ไปแล้วคือ 100 เมตร (1 ม้วน) โดยประมาณ

สายอากาศ inverted L

จาก การทดลอง ผมรับวิทยุกระจายเสียง AM ได้ดีมาก อย่างไม่เคยรับได้แบบนี้มาก่อน (ในเวลากลางวัน) ผมทดลองถอดสายอากาศ Inverted L ออก แล้วรับด้วยสายไฟธรรมดาดู ปรากฏว่า รับได้ไม่ดี สัญญาณรบกวนมาก หลังจากนั้นผมก็ทดลองส่งสัญญาณ ปรากฏว่าค่า SWR สูงกว่า 3:1 ลองปรับ VC แล้ว ปรับได้นิดหน่อย ผมสังเกตว่า พอปรับ VC ให้มีค่ามากสุด SWR จะตำลง แสดงว่า ค่า C ต้องน้อยไปแน่ ๆ (ผมคิดเอาเอง) จากนั้นก็ไปหยิบ C ที่พามาด้วยมาลองต่อขนานดู ทดลองเปลี่ยนดูหลาย ๆ ค่าได้ผลครับ ค่า SWR ลดลงมากจนถือว่า สามารถออกอากาศได้เลย

สายอากาศ inverted L

C ที่ใช้ต้องเป็น C ที่ทนแรงดันสูง ๆ หน่อยนะครับ อย่างน้อยๆก็ 1.5KV ขึ้นไป ผมนำ C 2 ตัวมาขนานกัน เพื่อให้ได้ค่าที่ใกล้เคียงตามที่ต้องการ และผมได้นำ C อีกตัวมาลองขนานเข้าไปอีก ปรากฏว่า ไม่มีผล SWR ไม่ลดแล้ว น่าจะมากไปแล้ว ผมก็เลยเอาออก

สายอากาศ inverted L

ผมได้ความสูงของไม้ไผ่ประมาณ 6-7 เมตรเองครับ ตามสูตรที่เขาคำนวณไว้ควรจะสูง 12.5 เมตร

สายอากาศ inverted L

ปลาย อีกด้าน ไม่ได้ต่อกับไม้ไผ่โดยตรง ผมจะใช้เชือกฟางมีเป็นฉนวนอีกที ที่ไม่ต่อตรง ๆ เพราะไม้ไผ่ยังสดอยู่ มันจะมีความชื้นอาจจะให้ค่า SWR สูง (ไม่อยากเสียเวลาและแรงงาน ยกไม้ไผ่ขึ้นลงหลายรอบก็ควรใช้ฉนวน)

ในคืนวันศุกร์ ก่อนการแข่งขัน ผมเปิดเครื่องลองหาเพื่อนสมาชิกที่ CQ ในโหมด CW แต่ก็ไม่เจอ (คงนอนหลับเอาแรงก่อนการแข่งขัน) เลยมารับฟังวิทยุ AM รอไปพลาง ๆ สัญญาณวิทยุที่รับได้นั้นแรงมาก ๆ เรียกได้ว่าแค่หมุนไปนิดเดียวก็เจอ เพลงและดีเจ ล้วนจะออกแนว ๆ โบราณ โฆษณาบางตัวผมไม่นึกว่าจะยังมีอยู่ (ฟังมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว) สัญญาณวิทยุ AM ถ้าไม่ใช่นักวิทยุสมัครเล่นคงไม่มีใครชอบรับฟังสักเท่าไร เสียงไม่สดใส เดียวแรง เดียวขาดหาย บ้างก็โดนรบกวน จากสถานีใกล้เคียง หรือ จากธรรมชาติ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ก็โดนหมด แต่ถ้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้วนี่คือมนต์ขลังแห่งวงการอย่างหนึ่งก็ว่าได้ ครับ

ถึงเวลาเริ่มการแข่งขัน เวลาตี 5 ของประเทศไทย ผมรับได้หลายสถานี เป็นที่น่าพอใจ ผมรู้สึกว่าความถี่ที่เขาให้มามันน้อยนะคนเล่นกันแน่นเอี๊ยด ! จะติดต่อได้มากได้น้อยก็อยู่ที่ประสบการณ์ของ Operator แล้วละครับ ผมเล่นไปสักพักก็สว่าง สัญญาณไกล ๆ เริ่มจางหาย จนสายขึ้นมาอีกนิด สัญญาณทุกสัญญาณหายไปหมดเลย มีแต่เสียงรบกวนจากธรรมชาติแทน ผมเลยหยุดเล่น เอาเวลาว่างไปเพิ่มสาย Ground Radial อีก 3 เส้น รวมเป็น 6 เส้น รู้สึกว่าค่า SWR จะสูงขึ้น ผมไปอ่านมาจากหนังสือ Low Band DX เขาบอกให้ทดลองเปลี่ยนความสูง ของปลาย Ground Radial ยกขึ้นสักนิดหน่อยจากพื้นดินจะช่วยในการปรับ SWR ได้ ผมทดลองตามนั้นก็ได้ผล SWR กลับมาไม่เกิน 1.5:1 ตามเดิม (โดยไม่ตัดสายให้สั้นลง)

ข้อมูลที่น่าสนใจ

  • Ground Rod นั้นมีผลดีในแง่ของ dc ground ลดอันตรายจากฟ้าผ่า ไม่ค่อยมีผล หรือมีผลน้อยมาก กับ RF ground ผมเลยลดความสนใจเรื่องนี้ลง (ตอนแรกจะเอา Ground Rod มาหลาย ๆ แท่ง)
  • ผมมี Ground Rod แบบสั้น 2 แท่ง (ยาวประมาณ 1 ฟุต) ทดลองมาปักไว้ไกล้ ๆ กับ Ground Rod แท่งเดิมปรากฏว่าค่า SWR สูงขึ้นผิดปกติจนเครื่องลดกำลังส่งเองโดยอัตโนมัติ ผมทดลองอยู่หลายรอบ ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  • ขนาดของ Ground Radial ในกรณีที่ Ground Radial มีน้อยว่า 6 เส้น ขนาดของ Ground Radial จะมีผลควรจะใช้ลวดเบอร์ 16 ขึ้นไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ถ้าจำนวน Ground Radial มีมาก ขนานของ Ground Radial จะมีผลน้อยลง เราสามารถใช้ลวดที่เล็กลงได้
  • สายอากาศแบบ Inverted L เป็นสายอากาศแบบ Vertical การทำงานเหมือนสายอากาศ Quarter wave แต่พับส่วนปลายของสายลงมา ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรจะส่วนที่เป็นแนวดิ่งสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความยาวรวมของส่วนที่เป็นตัว L ก็จะประมาณ 1/4 Lambda
  • กลาง วัน ความถี่ 1.8 MHz ติดต่อได้เฉพาะพื้นที่ใกล้ ๆ เมื่อดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมา ชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า D layer จะถูกสร้างขึ้น การ ionization จะสูงสุดตอนบ่าย (หลังเที่ยงวันไปเล็กน้อย) ชั้นนี้จะดูดกลื่นความถี่ช่วงนี้เป็นอันมาก หลังจากดวงอาทิตย์ตก ชั้น D layer จะค่อย ๆ จางหายไป การติดต่อย่าน 1.8 MHz ก็เริ่มขึ้น

หนังสือ Low - Band DXing หนังสือที่น่าอ่านสำหรับผู้ที่สนใจความถี่ต่ำ ๆ

หนังสือ Low - Band DXing หนังสือที่น่าอ่านสำหรับผู้ที่สนใจความถี่ต่ำ ๆ เนื้อหาเป็นวิชาการมากเลยครับ

แถมด้วยบรรยากาศ ทุ่งนา ทะเล อ.หัวไทร

http://www.hs8jyx.com/html/cq160_2010.html

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภาพ 100 วัตต์เล่มที่ 11 ราคา 25 บาท

เอาฉบับเก่า ๆ มาให้ดูกันครับ

 

หน้าปก วิทยุรุ่นเก่า สวยงามและทนทานมาก



FT411 ดีอย่างไร นิตยสาร 100 วัตต์ฉบับที่ 9 เคยลงรูป YAESU FT-411 ซึ่งทำให้นักเลงวิทยุน้ำลายหกไปหลายคน



เทคนิคการซ่อมเครื่อง รับ-ส่งวิทยุ ICOM IC-2N



วิทยุรับ - ส่ง CB 49 MHz



Super Slim Jim "นกหงส์หยก" ส่วนประกอบที่จำเป็นอย่างหนึ่งของวิทยุก็คือระบบสายอากาศ มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบ หลายลักษณะ เพื่อการรับส่งคลื่นวิทยุ Ham เมืองไทย มีโอกาสประดิษฐ์คิดค้น ดัดแปลงมากที่สุดก็สายอากาศนี่เหละ ...



ตอบปัญหาสายอากาศ "โกวิท สูรพันธ์"



ปกหลัง

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

CQ World Wide DX Contest CW 2009 ของ HS8JYX

งานนี้เริ่ม วันที่ 28-29 พฤษจิกายน 2552 เป็นรายการแรกใน Mode CW ที่ผมทดลองลงเล่น และดูท่าว่าสภาพอากาศจะไม่เป็นใจ และเป็นครั้งแรกที่ออกอากาศตอนแข่งขันที่จังหวัดกระบี่ พื้นที่ในการติดตั้งสายอากาศจำกัด เลยติดต่อได้น้อย
  • วันที่ 28-11-52 ค่า Solar Flux เท่ากับ 73
  • วันที่ 29-11-52 ค่า Solar Flux เท่ากับ 73

รูปดวงอาทิตย์วันที่ 29/11/2009 จากเว็บไซต์ http://www.solarcycle24.com/

สถานที่ออกอากาศที่ จ.กระบี่ (จุดแรก)

เนื่องจาก จุดแรกติดต่อได้น้อยเลยทดลองเปลี่ยนสถานที่ และวางสายอากาศใหม่

สายอากาศไดโพลย่าน 20 มิเตอร์ ตัวเดิม

Link :: http://www.hs8jyx.com/html/cq_ww_dx_cw_2009.html


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Electronic confirmations EQSL ไปสมัครกันนะครับ

Electronic confirmations EQSL ไปสมัครกันนะครับ




ปัจจุบัน อะไร ๆ ก็ออนไลน์ QSL CARD ก็มีแบบออนไลน์ การส่งการ์ดออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าจะให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถแลกรางวัลต่าง ๆ ได้ต้องนี่เลยครับ http://www.eqsl.cc/




หน้าตาของเว็บ



หนังสือ CQ อเมริกา จะรับรองเฉพาะสมาชิกที่ได้รับ Authenticity Guaranteed ขอยกตัวอย่างของผมแล้วกัน



การขอ Authenticity Guaranteed นั้นก็ไม่ยากครับโดยมีรายละเอียด ตามลิ้งนี้ และที่ดีกว่านั้นคือ สมาชิกท่านใดที่เป็นสมาชิกของ LoTW สามารถขอ Authenticity Guaranteed ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบอีกให้เสียเวลา

ตัวอย่าง EQSL



ดูเพิ่มเติมคลิก



Radio Contesting



Radio Contesting (หรือเรียกอีกอย่างว่า radiosport ) เป็นกิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่น โดย ติดต่อเพื่อนสมาชิกนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน (Contest exchange) ภายใต้เวลาที่กำหนด การแข่งขันอาจจะทำเป็นกลุ่ม หรือ เดี่ยว ก็ได้ การแข่งขัน ในบางครั้ง อาจจะกำหนด เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น อาจจะใช้เฉพาะบาง Mode หรือแค่ช่วงความถี่

Contest exchange ในการแข่งขันแต่ละรายการ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่กรณี ยกตัวอย่างเช่น แลกเปลี่ยน signal report, ชื่อ, zone, grid locator, อายุของพนักงานวิทยุ หรือ serial number เป็นต้น ในการติดต่อแต่ละ ครั้งสิ่งที่สำคัญคือ call sign ของคู่สถานี และข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ตามด้วยเวลาและความถี่หรือ band ที่ใช้ติดต่อกันลงใน Log

ตัวอย่างการติดต่อระหว่างการแข่งขัน CQ World Wide DX Contest (ดัดแปลงมาจาก วิกิพีเดีย) ของนักวิทยุ อังกฤษ กับ นิวซีแลนด์

สถานีที่ 1: CQ contest Mike Two Whiskey, Mike Two Whiskey, contest.
(สถานี M2W กำลัง CQ เพื่อเรียกคู่สถานีระหว่างการแข่งขัน)

สถานีที่ 2: Zulu Lima Six Quebec Hotel
(สถานี ZL6QH ตอบ โดยขาน callsign ของเขาโดยยังไม่ต้องแจ้งรายละเอียดอย่างอื่น)

สถานีที่ 1: ZL6QH 59 14 (พูดว่า "five nine one four")
(M2W ยืนยัน Callsign ของ ZL6QH และทำการรายงาน สัญญาณ 59, พร้อมด้วย Zone 14 (ยุโรป ตะวันตก)

สถานีที่ 2: Thanks 59 32 (said as "five nine three two")
(ZL6QH ยืนยันการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ M2W และรายงานสัญญาณกลับมา 59พร้อมด้วย Zone 32 (แปซิฟิกใต้)

สถานีที่ 1: Thanks Mike Two Whiskey
(M2W ยืนยันการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ ZL6QH เป็นอันเสร็จพิธี และพร้อมสำหรับการติดต่อสถานีต่อไป)

ตัวอย่างบันทึกเสียงของ K5ZD ในงาน CQ WW Phone 2008

Link :: http://www.hs8jyx.com

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชาวมองโกเลีย เขาก็มีใจที่จะส่งเสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นนะ

http://img524.imageshack.us/img524/757/001bgd.jpg

The Mongolian Amateur Radio Society (MARS) promotes and organizes the “Mongolian DX Contest”. MARS has the honor to invite all Licensed Amateurs and SWLs throughout the World to participate the annual “Mongolian DX Contest.

Purpose of contest
The objective of the contest is to establish as many contacts as possible between Radio Amateurs around the World and Radio Amateurs of Mongolia.

ชาวมองโกเลีย เขาก็มีใจที่จะส่งเสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นนะ

โหลดเอกสารได้ที่นี่ www.harts.org.hk/Rules_JTDXContest_Eng.pdf

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทดลองสร้าง ATU เฉพาะย่านความถี่ กำลังส่งสูง

ทดลองสร้าง ATU เฉพาะย่านความถี่ กำลังส่งสูง

ลองมาดู โครงสร้างของ variable capacitor ก่อนนะครับ

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ air variable capacitor

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ air variable capacitor อุปกรณ์สำคัญที่จะนำมาประกอบเป็น ATU

รูปแสดง ตำแหน่ง การหมุน ต่อค่า capacitance ที่จะเกิดขึ้น

รูป แสดง ตำแหน่ง การหมุน ต่อค่า capacitance ที่จะเกิดขึ้น ค่า capacitance จะมากที่สุดก็ต่อเมื่อชิ้นส่วนของ Roter และ Stator ซ้อนทับกันพอดี ตามรูป

สำหรับ ตัวอย่าง จะต่ออุปกรณ์แบบ T - Network โดยมีอุปกรณ์หลัก ๆ คือ variable capacitor แบบโลหะ 2 ตัว และ ขดลวด เบอร์ 16 ตัวอย่าง ทำ ATU ไว้ใช้ที่ย่าน 14 MHz ก็พัน 5 รอบเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 mm.

Schematic Diagram วงจร ATU ครับ

Schematic Diagram ครับ ค่า L จะเปลี่ยนไปตามความถี่ที่ต้องการนำไปใช้ ดังนี้ (ใช้ลวดเบอร์ 16 เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 mm.)

  • ความถี่ 24-28 MHz พัน 3 รอบ
  • ความถี่ 18-21 MHz พัน 4 รอบ
  • ความถี่ 14 MHz พัน 5 รอบ
  • ความถี่ 7-10 MHz พัน 8 รอบ

อย่าลืมนะครับ ระหว่าง VC กับแผ่นพริ้นต้องมีฉนวนรองเอาไว้

ตัวอย่างการวาง อุปกรณ์ อย่าลืมนะครับ ระหว่าง VC กับแผ่นพริ้นต้องมีฉนวนรองเอาไว้

Jump สาย ระหว่าง C ทั้งสองตัว

Jump สาย ระหว่าง C ทั้งสองตัว เพื่อให้ได้ค่า capacitance ที่มากขึ้น แผ่นพริ้นควรจะเคลือบเอาไว้ ป้องกันสนิมเขียวเมือใช้ไปนาน ๆ (ผมใช้ยางสนผสมทินเนอร์ ทาเคลือบเอาไว้)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.hs8jyx.com/html/high_power_atu.html

เอกสารเก่า ในวงการวิทยุสมัครเล่นไทย ที่ไม่อยากให้สูญหาย

เอกสารเก่า ในวงการวิทยุสมัครเล่นไทย ที่ไม่อยากให้สูญหาย


เอกสารเก่า ในวงการวิทยุสมัครเล่นไทย ที่ไม่อยากให้สูญหาย


เอกสารเก่า ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิทยุสมัครเล่น นับวันเอกสารเก่า ๆ เหล่านี้ก็หายากเต็มที หายไปกับความเก่าของหนังสือ ทางกระผมเลยเอามาเผยแพร่ในรูปของเอกสารคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สมาชิกรุ่นหลัง ๆ ได้นำมาอ่านกัน อย่างน้อย ๆ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการวิทยุสมัครเล่นของไทยเรา สมาชิกท่านอื่นที่มีเอกสารภาษาไทยที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ สามารถนำมาเผยแพร่ได้เช่นกันครับ ** เอกสารเหล่านี้เป็นผลงานของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยมีชื่อเจ้าของอยู่ภายในวงเล็บ เอกสารชุดใดไม่ต้องการให้เผยแพร่ สามารถแจ้งลบได้ที่นี่ **

จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในวงการวิทยุ (UPDATE)

จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในวงการวิทยุ (UPDATE)



เป็นบริเวณที่มืด (Dark, cool areas) ที่ปรากฎที่ผิวดวงอาทิตย์ มีการเปลี่ยนแปลงครบรอบ ประมาณ 11 ปี (11-year cycle) เมือจำนวนจุดดับ เกิดขึ้นมากที่สุด จะทำให้เกิดการ ไอออนมาก การสือสารระยะไกล จะดีมากอย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่ง ดูได้จากค่า Sunspotnumber โดยใช้กล้องโทรทัศน์

การหมุนรอบตัวเอง ของดวงอาทิตย
ดวงอาทิตย์ จะหมุนรอบตัวเอง ภายใน 27 วัน ดังนั้น ถ้า MUF สูง และถ้าการติดต่อดี ๆ หลายวันก็สามารถคาดเดาได้ ว่าจะดีอย่างนั้นอีกใน 27 วันถัดมา เพราะพื้นที่ส่วนนั้นของดวงอาทิตย์ จะกลับมาอีก

SOLAR FLUX INDEX

ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) ได้เพิ่มวิธีการหาค่า solar activity โดยการวัด solar radio flux เข้ามา ค่า SOLAR FLUX INDEX แสดง ฟฤติกรรมได้ทำนองเดียวกับ Sunspot Number แต่สามารถหาได้ทุกสภาวะอากาศ โดยไม่ต้องใช้กล้องโทรทัศน์ การวัด Solar Flux หรือคลื่น วิทยุที่มาจากดวงอาทิตย์ ถ้าพลังงานนี้มากค่าที่วัดได้ก็จะมาก ค่านี้วัดที่ประเทศแคนนาดา (Dominion Radio Astrophysical Observatory) ในเวลา 1700 UTC ด้วยความถี่รับ 2800 MHz (มีความยาวคลื่น 10.7 cm)

ข้อมูลแสดง SOLAR FLUX ออนไลน์

Solar Flux เป็นตัวบ่งบอกพื้นฐานของ solar activity มีค่าที่หลากหลาย อาจจะต่ำกว่า 50 (very low solar activity) หรือบางครั้งอาจจะสูงกว่า 300 (very high solar activity) ค่าสูงกว่า 200 แสดงว่าเข้าสู่จุดสูงสุดของ solar cycles นั้น ๆ แล้ว ถ้า ค่า solar flux ต่ำ นั้นหมายถึง ค่า MUF (maximum usable frequency :: ค่าความถี่สูงสุดที่สามารถใช้ติดต่อกันได้ในเวลานั้น ๆ ) จะต่ำ มองโดยรวม ๆ แล้วไม่ค่อยดีต่อการติดต่อสื่อสารย่าน HF (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถี่สูงในย่าน HF เช่น 21,24,28 MHz) แต่ถ้า solar flux มีค่าสูง การ ionization มากพอที่รองรับการติดต่อสื่อสารระยะไกล สามารถใช้ความถี่สูง ๆ (ในย่าน HF) ได้ดี กว่าช่วงเวลาปกติ อย่างน่าแปลกใจ

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.hs8jyx.com/html/sunspots.html

ชุด Interface สำหรับส่ง รหัสมอร์ส แบบง่าย ๆ

ชุด Interface สำหรับส่ง รหัสมอร์ส แบบง่าย ๆ

อยากลง Contest ใน Mode CW แต่ไม่มีคีย์และไม่อยากหาคีย์เพราะขาดงบประมาณ มีเงินไม่ถึงร้อยบาทจะทำไงได้ครับ ?? นั่งคิดไป คิดมา เอ้ ..มาสร้างตัว interface แบบง่าย ๆ ดีกว่า

รายการอุปกรณ์

  • ทรานซิสเตอร์ แบบ NPN เบอร์ 2SC945 หรือเบอร์แทน (สามารถใช้ได้หลายเบอร์ บางเบอร์ตำแหน่งขาอาจจะไม่ตรงกันต้องดัดแปลงเอาเองครับ)
  • ตัวต้านทาน 1K (สี น้ำตาล ดำ แดง ทอง) ขนาด 1/4 วัตต์ หรือเล็กกว่า เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง
  • สายต่อ ผมเลือกใช้สาย RG58 เพราะมีขนาดพอเหมาะ และมีอยู่ที่บ้านแล้ว ไม่ต้องไปหาชื้อ
  • DB9 ตัวเมีย
  • เจ็กไมโครโฟน แบบโมโน

รูปวงจร (Schematic Diagram)

ตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SC945

ตัวอย่างการต่อสาย

สายพร้อมใช้งาน

ทดลองนำไปต่อใช้งานจริง ร่วมกับโปรแกรม N1MM logger

ทดลองนำไปต่อใช้งานจริง ร่วมกับโปรแกรม N1MM logg

รายละเอียดเต็ม ๆ อ่านได้ที่ http://www.hs8jyx.com/html/easy_cw_interface.html

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

CQ World Wide DX Contest SSB 2009 ของ HS8JYX

CQ World Wide DX Contest SSB 2009 ของ HS8JYX

ในวันที่ 24 - 25 ตุลาคม 2552 นี้ (00.00 UTC ของวันที่ 24 ถึง 23-59 UTC ของวันที่ 25) จะมีรายการ CQ World Wide DX Contest 2009 (SSB) เวลาในการแข่งขัน 48 ชั่วโมง จุดประสงค์เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก ติดต่อกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความถี่ที่ใช้ ตั้งแต่ 1.8 ถึง 28 MHz ยกเว้น WARC bands การแข่งขันมีทั้งประเภทเดี่ยวและทีม สำหรับผมแล้วคงหาสมาชิกมาร่วมทีมยาก ก็ต้องลงเดียวครับ แบบเดี่ยวก็ยังมีหลายประเภทย่อย ตามกำลังส่ง กำลังส่งสูงไม่เกิน 1500 วัตต์ กำลังส่งต่ำไม่เกิน 100 วัตต์ และQRP ไม่เกิน 5 วัตต์ครับ

สายอากาศที่เลือกใช้ มี 3 ชุดประกอบด้วย ไดโพล วางแบบธรรมดา 1 ชุด วางแบบ Inverted Vee 1 ต้น สุดท้ายเป็น Delta Loop

เป็นครั้งแรกที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการลง Log แผนที่ และ Gray line มีปัญหาบางอย่างที่ติดขัดอยู่บ้างเหมือนกันครับ

ทดลองต่อสายดิน สำหรับย่านความถี่ต่ำ ๆ (1.6 -3.5 MHz) แล้วรู้สึกว่าได้ผลดี ในการกำจัดสัญญาณรบกวนต่าง ๆ ออกไป

ผลการแข่งขัน สามารถติดต่อได้ 16 Zone ได้ดังรูปครับ

ผลการแข่งขัน สามารถติดต่อได้ 16 Zone ได้ดังรูปครับ

โปรแกรมที่สำคัญอีกตัวคือโปรแกรม Dx Atlas ที่สามารถดู Prefixes, Zones, Gray Line, Local time และอื่น ๆ

โปรแกรมที่สำคัญอีกตัวคือโปรแกรม Dx Atlas ที่สามารถดู Prefixes, Zones, Gray Line, Local time และอื่น ๆ

http://www.hs8jyx.com/html/cq_ww_dx_ssb_2009.html