วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สายอากาศสำหรับเครื่องส่ง FM แบบง่าย ๆ

สายอากาศแบบง่าย ๆ สำหรับเครื่องส่ง FM ก็คือแบบ 1/4 wave หรือเรียกอีกอย่างว่า Quarter-wave 



 ตัวอย่างของผมใช้ ขั้วต่อ SO-239 และ แผ่นวงจรเปล่า ๆ ในส่วนที่เป็นลวดทองแดง อาจจะใช้อลูมิเนียมก็ได้




ความยาวของลวดเท่ากับ 1/4 Lambda ของความถี่ใช้งาน 
เช่นใช้งานที่ความถี่ 100 MHz ก็จะได้เท่ากับ

1 Lambda  = 300/100  = 3 เมตร 
1/4 Lambda = 3 เมตร /4  = 75 เซนติเมตร


เช่นใช้งานที่ความถี่ 88 MHz ก็จะได้เท่ากับ

1 Lambda  = 300/88  = 3.4 เมตร 
1/4 Lambda = 3.4 เมตร /4  = 85 เซนติเมตร


การปรับแต่ง ปรับโค้งงอส่วนที่เป็นกราวด์ขึ้นลงเล็กน้อย จนค่า swr ดีที่สุด ในนี่นี้อาจจะปรับลงได้ถึง 1:1 เลยทีเดียว

สายนำสัญญาณที่ใช้ต้องเป็นสายสำหรับเครื่องส่งวิทยุด้วยนะครับ ที่หาง่ายที่สุดก็เบอร์ RG58 ในกรณีที่เดินสายยาวไม่เกิน 10-15 เมตร ถ้ายาวกว่านี้ควรเปลี่ยนสายเป็นเบอร์ที่ดีกว่า (เส้นโตกว่า การสูญเสียน้อยกว่า)



จากการทดลองนำเครื่องส่ง 100 เมตรมาต่อกับเสาต้นนี้สามารถส่งได้ไกลขึ้น เป็นประมาณ 200 กว่าเมตร

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทดลองสร้างวิทยุรับส่ง 21 MHz QRP 300mW

วิทยุรับส่งชุดนี้ผมจะนำวงจร QRP หลาย ๆ วงจรมาผสมผสานกันตามที่เราพอจะหาอะใหล่ได้ โดยผมจะเริ่มต้นจากการสร้างภาคส่ง ในที่นี้เลือกใช้ชุดส่งของ HiMite 15 Meter




(รูปเฉพาะภาคส่ง)

จุดต่อสายอากาศจะต่อไปยังสายอากาศนอกบ้าน ส่วนจุด Receiver สามารถต่อไปยังเครื่องรับ (อาจจะใช้วิทยุ HF ที่เรามีเป็นภาครับ) และเพื่อให้การรับสัญญาณได้ดีที่สุด ต้องปรับจูน Trimmer 50 pFจนมีเสียงซ่าที่เครื่องรับมากที่สุด  

ภาคส่งสามารถปรับแต่ง ยืด หด ขดลวดที่พันบนแกน Toroid จนได้กำลังส่งมากที่สุด

ภาคส่งใช้ขดลวดพันบนแกน Toroid จะได้กำลังส่งสูงกว่าใช้ขดลวดสำเร็จรูป

ในวงจรนี้สามารถทดลองใช้ทรานซิสเตอร์ได้หลายเบอร์แต่กำลังส่งที่ได้จะต่างกัน




ภาครับ 

ภาครับผมใช้ภาครับแบบง่าย ๆ เครื่องรับ DC ใช้ NE602 อย่างที่เคยทำมา วงจร Bandpass filter แบบ double tuned และขยายเสียง LM386 วงจรนี้เหมาะกับหูฟังมากกว่าลำโพงขนาดใหญ่


(รูปวงจรสมบูรณ์ รับ - ส่ง)
 
Mute จะทำงานในขณะส่งสัญญาณ จะลดระดับเสียง side tone ให้ต่ำลง ไม่อย่างนั้นเสียงจะดังมากจนแสบหูเลย การ Mute สามารถทำได้หลายแบบ วงจรเครื่องส่ง QRP หลายวงจรใช้ FET อย่าง 2N7000 แต่ในที่นี้ผมขอเลือกใช้ทรานซิสเตอร์ และ Mute ที่ IC LM386 แทน
 





อัปเดท
การการทดลองใช้ ผมไม่อยากให้หูฟัง เลยเพิ่มภาคขยายเสียงเข้าไปอีกชั้น




วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สร้างสายอากาศ Yagi 2E 24 MHz

หลังจากทดลองสร้างสายอากาศยากิย่านความถี่ 21 MHz ไปแล้ว ผลน่าพอใจ ผมเลยอยากจะสร้างอีกสักย่าน แต่เท่าที่ดูเรื่องการขนส่งอลูมิเนียมและการติดตั้งแล้ว ย่านต่ำ ๆ คงจะยุ่งยาก ผมเลยตัดสินใจลองย่าน 24 MHz 

ต้นแบบสายอากาศจาก http://dk7zb.darc.de/2-Ele-Kurzwelle/2-Ele-12m-Dir28.htm

เว็บต้นแบบบอกว่าสายอากาศต้นนี้มี Gain 4.2 dBd หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือมีความแรงกว่าสายอากาศไดโพล 2.63 เท่าในทิศทางที่เราต้องการ


ข้อมูลของสายอากาศยากิที่น่าสนใจ (3 E จากเว็บของ dk7zb)

1. Gain อัตราการขยาย ถ้าสายอากาศยากิมีอัตราขยายที่สูงจะมี Bandwidth แคบ ค่า F/B ต่ำ และ อิมพีแดนซ์ต่ำ
2. F/B (อัตราส่วนของสัญญาณที่ไปด้านหน้า/ด้านหลัง) ถ้า F/B สูง อัตราขยายจะต่ำ 
3. Bandwidth/SWR สายอากาศที่ Bandwidth กว้างจะมีอัตราขยายน้อยและอิมพีแดนซ์สูงกว่า
4.อิมพีแดนซ์ 
  • อิมพีแดนซ์สูง = Bandwidth กว้างแต่อัตราขยายน้อย (50โอห์ม)
  • อิมพีแดนซ์ปานกลาง =  Bandwidth และอัตราขยายปานกลาง
    (28 โอห์ม)
  •  อิมพีแดนซ์ต่ำ = Bandwidth แคบแต่อัตราการขยายสูง
    (12.5 โอห์ม)



บาลัน 1:1 รอบนี้พันด้วยสาย RG174 บนแกน FT114-43 


จากตารางเราใช้สาย RG179 ก็ใช้สายยาว 2 เมตรสำหรับสายอากาศ 24 MHz




รอบนี้เลือกใช้บูมที่หนากว่าเดิม และเจาะน๊อตยึด element กับบูมเลย





วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

Zero-Beat AID circuit for Ham Radio

วงจรช่วยในการจูนความถี่สำหรับระบบ CW 
(สามารถนำไปดัดแปลงใช้กับวิทยุรับส่งได้ทุกรุ่น) 






ตัวอย่างการต่อสำหรับ ICOM หลาย ๆ รุ่น เช่น IC718, IC706, IC7200 เป็นต้น





เมื่อจูนความถี่ได้ตรง ถูกต้องไฟ LED จะกระพริบตามจังหวะของรหัสมอร์สที่ส่งมา ดังตัวอย่างวีดีโอ



การปรับแต่ง 

การปรับแต่งทำได้หลายวิธี ผมขอยกตัวอย่างการปรับแต่งเมื่อใช้กับ ICOM IC-718
เมื่อต่อวงจรเสร็จเรียบร้อยตามรูปด้านบน  ปรับวิทยุไปที่โหมด CW 



 ตั้งค่า BK-IN ให้เป็น Off เพื่อไม่ให้เครื่องส่งสัญญาณออกอากาศ มีแต่เสียง Side Tone ออกมาทางลำโพง จากนั้นจูน Tone Adj. จนกระทั่ง LED สว่างมากที่สุด และปรับระดับ Input Level ไม่ให้ LED ติดค้างตลอดเวลา 


Side Tone ของวิทยุจะปรับได้ โดยไปที่ CW Pitch 
ค่าเดิม ๆ นั้นจะตั้งไว้ที่ 600 Hz  ถ้าเราเปลี่ยน Side Tone  เราจำเป็นต้องปรับ Tone Adj. ในวงจรของเราตามไปด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

รางวัล 120 Years of Radio

On May 7, 1895 a Russian physicist and electrical engineer Alexander Popov presented a device that received signals from the Hertz spark vibrator at a meeting of the Russian Physical and Chemical Society in St. Petersburg, This experiment demonstrated the possibility of transmitting messages over a distance without wires. In Russia and some other countries, May 7 is celebrated as the "Day of Radio". 

In connection with the 120th anniversary of this event the SRR (Soyuz Radiolyubitelei Rossii) organizes and conducts the Activity Days "120 Years of Radio." 



https://drive.google.com/file/d/0BxgJ9QX1BWUyZWJSUjNTNmRFWjQ/view?usp=sharing

https://drive.google.com/file/d/0BxgJ9QX1BWUyQXlfLU9zeU4wa1U/view?usp=sharing

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

สร้างวงจร cw zero beat indicator

วิทยุรุ่นหลาย ๆ รุ่นไม่มี zero beat indicator การปรับความถี่ให้ตรงกับคู่สถานีอาจจะยุ่งยากและช้า ดังนั้นเรามาทำวงจรช่วยจูนความถี่กัน

ผมลองค้นหาข้อมูลจาก internet พบวงจรจากเว็บ http://home.windstream.net/johnshan/cw_ss_zerobeat.html
น่าสนใจเลยทีเดียว จึงทดลองทำตาม ผลการทดลองใช้งานได้ดี



C ควรใช้แบบ Tantalum แต่ในที่นี้ผมไม่มีขอทดลองโดยใช้ C แบบที่มีก่อนแล้วกัน

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

ทดลองสายอากาศแบบ Loop กับวิทยุ AM

ทดลองสายอากาศแบบ Loop สำหรับวิทยุ AM ได้ผลดีพอสมควร สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยการนำสายไฟเส้นเล็ก ๆ พันบนแกนที่เป็นฉนวน ราว 10 กว่ารอบ ปลายทั้งสอง ต่อเข้ากับ Variable Capacitor



เวลาใช้งานก็แค่จูน Variable Capacitor ให้รับสัญญาณได้แรงที่สุด



วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ชุดคิตเครื่องส่ง FM ใช้ IC BH1415F + หน้าจอปรับความถี่ได้ละเอียด 0.1MHz

ชุดคิตเครื่องส่ง FM ใช้ IC BH1415F +  หน้าจอปรับความถี่ได้ละเอียด 0.1MHz ระยะทาง 100 เมตรในที่โล่ง วงจรเดียวกับ 
http://hs8jyx.blogspot.com/2015/01/fm-100-pll-bh1417f.html



ราคาชุดคิตเครื่องส่ง

ชุดคิทแบบไม่มีจอ   450 บาท 
ชุดคิท + หน้าจอ      650 บาท
ถ้าต้องการเสาเพิ่ม + 100 บาท


ราคานี้รวมค่าส่ง EMS แล้ว


ชุดคิตเป็นชุดอุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ประกอบต้องเอาไปประกอบเองนะครับ