วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องมือปรับแต่งสายอากาศ 21 MHz

เครื่องมือปรับแต่งสายอากาศ 21 MHz  จุดประสงค์ของผมคือต้องการใช้ปรับสายอากาศยากิ ที่กำลังประกอบ (ตามลิ้ง http://hs8jyx.blogspot.com/2015/01/2-e-21-mhz.html) ครั้นจะปรับด้วยวิทยุรับส่งก็ยุ่งยาก ต้องขนของไปชั้นบน ส่วนจะใช้เครื่องมือแพง ๆ อย่าง Antenna analyzer ผมก็ไม่มี จะซื้อมาใช้ก็คงไม่ใหว

เราเป็นนักวิทยุสมัครเล่นก็น่าจะมีทางออกที่ดีกว่า ผมเลยสร้างวงจรเล็ก ๆ ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ


หลักการทำงานก็ง่าย ๆ มี 2 ส่วนคือ วงจรกำเนิดความถี่ และ วงจร antenna bridge เนื่องจากผมต้องการวัดแค่แบนด์เดียวคือ 21 MHz เมื่อค้นหาอะใหล่ที่มีก็เจอแร่ Crystal 21.250 MHz เหมาะเลยเพราะเป็นความถี่กลาง ๆ แบนด์

(ถ้าจะเปลี่ยนแบนด์ก็เปลี่ยนแร่และค่าอุปกรณ์บางตัว)


วงจรเฉพาะส่วนกำเนิดความถี่




การใช้งานไม่ยากอะไรเลย จ่ายไฟเข้าวงจรแล้วปรับโวลุ่มตัวเล็ก ๆ สีฟ้าในรูป ให้เข็ม uA มิเตอร์ อ่านค่าได้เต็มสเกล จากนั้นก็ต่อสายอากาศที่ต้องการเข้ากับขั้วต่อสายอากาศ ปรับแต่งสายอากาศให้เข็มมิเตอร์ลดลงมามากทีสุด เหลือ 0 เลยยิ่งดี

จากการทดลองใช้งานจริง มันใช้งานได้ไม่แพ้ SWR Diamond SX200 เลย สะดวก มีน้ำหนักเบา แต่มีข้อเสียตรงที่ว่าไม่สามารถปรับความถี่ได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเราสามารถดัดแปลงใช้วงจรกำเนิดความถี่แบบปรับค่าได้


วงจรทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

สายอากาศทิศทางราคาถูกย่าน 10 MHz (30Meter)

Inexpensive 30 meter Beam Antenna.
นอกจากความถี่ 10 MHz แล้วยังสามารถเปลี่ยนความถี่ได้จากสูตร

D.E. Length = 476/fMHz
Dir. Length = 450/fMHz 
Spacing = 120/fMHz  

หน่วยเป็น ฟุต


วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ทดลองสร้างสายอากาศยากิ 2 E ความถี่ 21 MHz

ทดลองสร้างสายอากาศยากิ 2 E ความถี่ 21 MHz เป็นโครงงานระยะยาว โดยเอาต้นแบบมาจาก http://dk7zb.darc.de/2-Ele-Kurzwelle/2-Ele-15m-Ref.htm



เมื่อได้ต้นแบบแล้วก็สั่งอลูมิเนียมมาจาก กทม การจัดส่งอาจจะยากสักหน่อย


ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.dl1nux.de/de/amateurfunk/antennenbau/1-2ele-yagi-21-mhz.html

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ชุดคิทเครื่องส่งวิทยุ FM 100 เมตร เพื่อการศึกษาระบบ PLL BH1417F

ชุดคิทเครื่องส่งวิทยุ FM 100 เมตร เพื่อการศึกษาระบบ PLL BH1417F (Data sheet http://pira.cz/pdf/bh1417f.pdf)
ราคา 450 บาท
สั่งซื้อคลิกที่นี่
 
สามารถปรับความถี่ได้ 14 ความถี่โดย DIP Switch 

- ระยะทางในการส่ง 100 เมตรโดยประมาณสำหรับที่โล่ง
- 50 เมตรลงมา สำหรับบริเวณที่มีตึกมาก 
- ถ้าใช้สายอากาศนอกบ้านและมีการปรับแต่งที่เหมาะ ระยะทางอาจจะไกลกว่า 200 เมตร
- ระยะทางจะขึ้นอยู่กับเครื่องรับด้วย เครื่องรับที่มีความไว จะรับได้ไกลขึ้น

คู่มือการประกอบ




วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

131 DXCC Entities ด้วยไดโพล

ในปี 2554 ผมมีความคิดอยากออกอากาศเพื่อล่ารางวัล DXCC ซึ่งเคยโพสไว้ที่ http://hs8jyx.blogspot.com/2011/02/cq-15.html
เล่นบ้างหยุดบ้าง ... ภูมิประเทศหลัง ๆ ส่วนมากได้มาจากระบบ CW ในเวลาที่มีการ Dx-pedition ต่าง ๆ  

... ตอนนี้ได้ขอรางวัลมาแล้ว 131 DXCC Entities ด้วยไดโพลต้นเดิม





 

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เครื่องส่งวิทยุ QRP 1 ทรานซิสเตอร์ 7 MHz อย่างง่าย

เครื่องส่งวิทยุ QRP 1 ทรานซิสเตอร์ 7 MHz อย่างง่าย ใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ MPS2222A (หรือเบอร์แทนก็ได้) และอะไหล่อื่น ๆ รวม 11 ตัว





แร่ Crystal ที่พอหาได้คือ 7.023,7.030,7.040, 7.050 MHz ขดลวดในวงจร Low pass filter พันได้โดยใช้ขดลวดทองแดงขนาดเล็กพันบนแกน T37-2 (1uH) จำนวน 16 รอบ



แรงดัน output ประมาณ 2 Vp-p ที่โหลด 50 โอห์ม คำนวนเป็นกำลังส่งได้ 40 mW

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

NetTime โปรแกรมตั้งเวลาฟรีอีกตัวที่น่าสนใจ

อยู่ ๆ เวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผมก็คลาดเคลื่อน จะให้ windows อัปเดทอัตโนมัติ มันก็ไม่ยอมทำงาน ค้นหาข้อมูลไปเจอโปรแกรม NetTime โปรแกรมตั้งเวลาฟรีอีกตัวที่น่าสนใจ

http://www.timesynctool.com/


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประกอบชุดคิต Frogs calling QRP1.8W 7MHz

วิทยุรับส่ง Frogs calling QRP1.8W ความถี่ 7MHz  
ความถี่ของแร่ที่เขาให้มาคือ 7.023 MHz 
ใช้กับแรงดัน 9-12 โวลต์ (ผมว่าใช้กับ 9 โวลต์จะปลอดภัยกว่า วงจรไม่ร้อนด้วย)  ข้อมูลลจากผู้ผลิตบอกว่า ขณะรับกินไฟ 20 mA ขณะส่งกินไฟ 400mA ที่แรงดัน 12 โวลต์ 

วงจรนี้พัฒนาต่อมาจากวงจร Forty-9er https://drive.google.com/file/d/0BxgJ9QX1BWUySWdmc1NpZUg3MW8/view?usp=sharing

วงจรนี้เสียงที่ได้ค่อนข้างเบา เหมาะกับหูฟังมากกว่าลำโพง 


ถ้าต้องการชุดคิตสามารถติดต่อทางไลน์ ราคา 650 บาท พร้อมส่ง



NE602 เป็นภาครับ  Q1 2SK30A เป็นตัว Mute เสียงภาครับในขณะส่งสัญญาณ LM386 เป้นภาคขยายเสียง 
Q6  เป็น Driver ภาคส่ง Q 5 RF Output 
Q3 จ่ายไฟให้ Q6 เวลาส่งสัญญาณ และตัดไฟออกเวลารับสัญญาณ

Q4 เป็นตัวกำเนิด side tone
Y1 เป็นวงจร Bandpass fileter ที่คมมาก ๆ
L4,C17,C18 เป็นวงจร lowpass filter แบบง่าย ๆ
D882 ควรติดแผ่นระบายความร้อนด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เพิ่มความสูงของสายอากาศขึ้นอีกนิดหน่อย

เอาภาพมาให้ดูกันครับ ผมเพิ่มความสูงของสายอากาศขึ้นอีก 2 เมตร ถึงแม้ว่าอยากเพิ่มให้สูงมากกว่านี้ แต่ก็ติดตั้งยาก ผมเน้นว่าต้องติดตั้งได้ด้วยตัวเอง สามารถปรับปรุงทดลองได้บ่อย ๆ เท่าที่ต้องการ

 

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สร้าง PTT CW interface ให้กับ IC-7200


IC-7200 สามารถควบคุมการทำงานส่งผ่านสัญญาณเสียงได้โดยใช้สาย USB เพียงเส้นเดียว แต่ว่าบางโปรแกรมยังไม่รองรับการสั่งงานผ่านทาง สาย USB ผมเลยตัดสินใจทำชุด interface ใหม่ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน





ผมเลือกใช้ไฟสีแดงเป็น PTT และสีเขียวเป็น CW


สาย 13 PINที่เขาแถมมาให้ สั้นมาก ๆ ผมเลยต้องทำสาย CW  สั้นตามไปด้วย


สัญญาณเสียงเข้า - ออกใช้สาย USB ตามเดิม โดยปรับวิทยุ D -MODE  ไปที่ U (USB)


เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คราวนี้ก็สามารถใช้งานได้กับทุกโปรแกรมทุกโหมดแล้ว