รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
หน้าเว็บ
▼
วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
หัวกลม กันฟ้า ของสายอากาศไดโพล
คำถาม :: เพื่อนบอกว่า การที่สามอากาศแบบไดโพลเป็นสายอากาศแบบกันฟ้าผ่าได้ เพราะมีหัวจุกกลม ๆ ปลายแหลมอยู่บนยอด พอฟ้าผ่าลงมามันก็เลยเฉลบออกไปนอกเสา ทำให้ฟ้าไม่ลงเครื่อง จริงหรือเปล่าครับ
ตอบ :: คำว่าฟ้าผ่า มันไม่ใช่ว่าฟ้าผ่าแบบมีดอีโต้ผ่าลงมาบนยอดเสา ถึงจะมาแฉลบได้เวลาผ่ามาโดนอะไรกลม ๆ เข้า แต่ฟ้าผ่าคือประจุไฟฟ้าในอากาศจำนวนมหาศาล มีพลังงานไฟฟ้า และแรงดันสูงมาก ที่กำลังวิ่งสู่พื้นดินด้วยความเร็ว 300 ล้านเมตรต่อวินาที
ขึ้นชื่อว่าไฟฟ้าก็วิ่งผ่านตัวนำ เช่น อากาศเป็นตัวนำไม่ดีนัก ถ้ากระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเจอตัวนำที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่า มันก็จะวิ่งผ่านตัวนำนั้นเพื่อให้ไปถึงพื้นดินซึ่งเป็นจุดหมายของมันให้เร็วที่สุด ก็เหมือนกับขับรถบนถนนลูกรัง พอมาเจอถนนราดยาง เราย่อมรีบขึ้นวิ่งบนถนนราดยาง
สายอากาศทุกต้นทำด้วยสายโลหะตัวนำไฟฟ้าทั้งนั้น และไฟฟ้าก็ไหลได้ไม่ว่าตัวนำนั้นจะเป็นลูกกลม ๆ เหลี่ยม ๆ เห็นเป็นเส้นยาว ๆ ทั้งเสาและสายอากาศแบบโพลเด็ดไดโพล (Folded Dipole) ล้วนทำด้วยโลหะ ที่ว่าฟ้าผ่าจะกระเด็นตีลังกาหลุดออกจากเสาโลหะย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
แต่ ... สายอากาศแบบ Folded Dipole นั้นตัวสายอากาศนั้นจะมีส่วนที่เป็นกราว์ดโลหะ เชื่อมติดกับตัวเสา เรียกว่า DC - Ground เมื่อมีกระแสไฟฟ้าวิ่งบนผิวของสายอากาศ เนื่องจากประจุไฟฟ้าในอากาศ ถ้ามันไม่มากนัก
รูปสายอากาศแบบ DC Ground
ก็จะถ่ายเทลงดินไป ทำให้เหลือมาถึงวิทยุสื่อสารได้น้อยกว่าสายอากาศประเภท V2 หรือ 5/8 lambda ซึ่งเป็น AC -Ground (ข้อความจากเอกสาร ในความเป็นจริง แล้วแต่การออกแบบ ส่วนมากจะพยายามออกแบบให้เป็น DC - Ground อยู่แล้ว) แต่ถ้าฟ้าผ่าลงมาตรง ๆ ได้รับประจุมากมายขนาดนั้น DC - Ground ก็ไม่เหลือครับ
ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น