รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
หน้าเว็บ
▼
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
หน่วยความจุของคาปาซิเตอร์ - capacitor - condenser
ความสามารถในการสะสมประจุได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของจำนวนประจุ (หน่วยเป็นคูลอมบ์ Coulomb) กับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้ ตัวอย่างเช่น ตัวเก็บประจุ 2 ตัว แต่ละตัวป้อนแรงดันไฟฟ้าให้ 10 โวลต์ ตัวหนึ่งเก็บประจุได้ 5 คูลอมบ์ อีกตัวหนึ่งเก็บได้ 2 คูลอมบ์ หมายความว่า ตัวที่เก็บประจุได้ 5 คูลอมบ์ มีค่าความจุสะสม (คาปาซิแตนซ์) มากกว่า หากตัวเก็บประจุสองตัวเก็บเก็บประจุได้ 5 คูลอมบ์เท่ากัน แต่ตัวหนึ่งต้องการแรงดันไฟฟ้าที่ 10 โวลต์ อีกตัวต้องการเพียง 5 โวลต์ เราจะบอกได้ว่า ตัวที่ต้องการแรงดันไฟน้อยกว่ามีความสามารถในการเก็บสะสมประจุได้ดีกว่า
ความสามารถในการเก็บประจุ (คาปาซิแตนซ์) มีหน่วยเป็นฟาราด (Farad) เพื่อเป็นเกียตริแก่ ไมเคิล ฟาราเดย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
1 ฟาราด หมายถึง ป้อนแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ให้กับตัวเก็บประจุแล้วตัวเก็บประจุมีจำนวนประจุบนแต่ละแผ่นเพลตเท่ากับ 1 คูลอมบ์ ดังสมการ
C (ฟาราด) = Q (คูลอมบ์)/E(โวลต์)
ในทางปฏิบัติ หน่วยฟาราดเป็นหน่วยที่ใหญ่เกินความต้องการใช้งานทางด้านอิเล็คทรอนิกส์ ส่วนมากที่ใช้กัันเป็นหน่วยย่อยของฟาราด เช่น ไมโครฟาราด (Micro Farad , uF) หรือ พิโคฟาราด (Pico Farad,pF หรือ uuF) เท่านั้น ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนหน่วยได้ ดังนี้
1 ฟาราด (F) = 1,000,000 ไมโครฟาราด (uF)
= 1,000,000,000,000 พิโคฟาราด (pF)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น