รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
หน้าเว็บ
▼
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
หลอดเพนโทด (Pentode)
หลอดเพนโทด เป็นหลอดสูญญากาศ ที่ได้รับการพัฒนาและดัดแปลงให้มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากหลอดไตรโอด ที่เราใส่คอนโทรลกริด (G1)
เพื่อช่วยในการบังคับให้อิเล็กตรอนพุ่งไปยังเพลต แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องคาปาซิเตอร์แอบแฝง จึงแก้ปัญหาโดยการเพิ่มกริดเข้าไปอีกตัวหนึ่งคืิอสกรีนกริด (G2) หรือหลอดเททโทรดนั่้นเอง แต่ปัญหาของหลอดเททโทรดคือเมื่อสกรีนกริด (G2) ช่วยเพลตอีกแรงหนึ่งในการดึงอิเล็กตรอนจากแคโทด แต่สกรีนกริดเองมีศักดาเป็นบวก (แต่น้อยกว่าเพลต) จึงทำให้สกรีนกริดดึงเอาอิเล็กตรอนที่หลุดจากเพลต (Secondary Emission) ได้ จึงเกิดข้อเสียคือ เพลตไม่สามารถเก็บอิเล็กตรอนได้หมด
ทำให้กระแสเพลตลดลงเราจึงแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการเพิ่มกริดเข้าไปในระหว่างสกรีนกริดกับเพลตอีกตัวหนึ่งเรียกว่า ซัพเพรสเซอร์กริด (Suppressor Grid หรือ G3) ซึ่งก็คือหลอดเพนโทด ซัพเพรสเซอร์กริดที่ใส่เข้าไปมีศักดาไฟฟ้าเป็นลบ จึงช่วยต้านหรือผลักอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากเพลตให้กลับไปยังเพลตได้ ทำให้เพลตสามารถเก็บอิเล็กตรอนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วนิยมต่อขั้วของ ซัพเพรสเซอร์กริดเข้ากับแคโทด เพราะแคโทดจะมีศักดาไฟฟ้าเป็นลบอยู่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น