วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การฝึกรับส่งรหัสมอร์ส

การฝึกรับส่งรหัสมอร์ส


การส่งข่าวสารกันด้วยวิทยุโทรศัพท์ (Radio Telephone) เป็นวิทีที่ง่ายมากเพราะเพียงแต่พูดเข้าไปทางไมโครโฟน ที่ต่อเข้ากับเครื่องส่งวิทยุ ผู้รับก็เพียงแต่เปิดเครื่องรับวิทยุให้มีความถี่ตรงกับสถานีส่งแล้วนั่งฟัง เสียงที่พูดออกมาทางลำโพง แต่การส่งข่าวสารกันด้วยรหัส (Code) หรือที่เราเรียกกันว่าวิทยุโทรเลข(Radio Telegraphy) นั้นเป็นการส่งข่าวสารที่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษ ของทั้งผู้ส่งและผู้รับ ทีนี้คุณคงอยากจะถามขึ้นมาว่า " ...ถ้าการส่งด้วยเสียงพูดง่ายขนาดนั้นแล้วทำไมเราต้องมีการส่งด้วยรหัสละ? " มีเหตุผลอยู่ 4 ประการที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด

  1. การติดต่อสื่อสารทางวิทยุด้วยรหัส ใช้เครื่องมือที่มีความชับซ้อนน้อยกว่า มีราคาถูกกว่า และมีขนาดเล็กกว่าเครื่องวิทยุรับส่ง ประเภทวิทยุโทรศัพท์ (ใช้เสียงพูด)
  2. การ ส่งด้วยรหัสนั้นสามารถทะลุทะลวง ผ่านเสียงรบกวนเนื่องจากบรรยากาศได้ดีกว่า เสียงพูดธรรมดา เพราะเสียงธรรมดา มีระดับเสียงและความถี่ที่เปลี่ยนแปลงไปมา ซับซ้อนกว่าเสียงความถี่ของสัญญาณรหัส จึงทำให้สามารถรับฟังสัญญาณได้ดีกว่า ในสภาพบรรยากาศที่ติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุโทรศัพท์ลำบาก จึงมีความเชื่อถือได้สูงและแน่นอนกว่า หรืออาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ที่ระยะทางห่างเท่ากัน การรับส่งโดยใช้รหัสมอร์ส จะใช้กำลังส่งน้อยกว่าการติดต่อโดยวิทยุโทรศัพท์ได้
  3. การ ส่งด้วยรหัสใช้แถบความถี่ (ฺBandwidth) แคบกว่าเสียงพูดดังนั้นในย่านความถี่หนึ่ง ๆ สามารถใช้ได้หลายช่องความถี่โดยไม่รบกวนกัน อย่างเช่นอาจใช้ได้มากถึง 10 สถานีพร้อมกัน ขณะที่การส่งเสียงพูดอาจจะใช้ได้เพียงสถานีเดียว
  4. รหัส มอร์สเป็นรหัสสากลที่นักวิทยุทั่วโลกรู้จักและเข้าใจดี ดังนั้นเมื่อใช้ร่วมกับรหัส Q และคำย่อต่าง ๆ ก็สามารถทำให้นักวิทยุทั่วโลกติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันได้โดยไม่มีกำแพงขา วงกั้นด้านภาษา ซึ่งมีประโยชน์ทั้งการติดต่อในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน
    ด้วย ความสำคัญของรหัสมอร์สดังกล่าว สหภาพวิทยุโทรคมระหว่างประเทศ (ITU) จึงกำหนดว่านักวิทยุทุกคน ที่ต้องใช้ความถี่ต่ำกว่า 30 MHz ควรจะต้องมีความสามารถในการรับส่งรหัสมอร์ส

เขาฝึกกันนานเท่าไร

การฝึกรหัสมอร์ส ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ขอเพียงแต่มีความตั้งใจรจิงเท่านั้น ไม่ว่าจะอายุ 4 ขวบ หรือ 80 ปี เขาก็ฝึกกันได้ทั้งนั้นโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 70 ชั่วโมง (ครั้งละไม่เกินครึ่งชั่วโมง) จะได้ความเร็วขนาด 13 คำต่อนาที ประมาณ 120 ชั่วโมง สำหรับความเร็ว 16 คำต่อนาที และ 175 ชั่วโมงสำหระบ 20 คำต่อนาที อย่างไรก็ตามหลายคนฝึกได้เร็วกว่านี้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของแต่ละคน

ใน ยุคความก้าวหน้าทางอิเล็คทรอนิกส์เช่นนี้ผู้ที่เริ่มเข้ามาอยู่ในวงการวิทยุ สมัครเล่น ไม่ค่อยมีใครอยากฝึกรหัสมอร์สกันเท่าไรนัก เพราะคิดว่าใช้เสียงพูดน่าสนใจกว่า ยิ่งบางคนเคยเห็นเครื่องรับส่งรหัสมอร์สอัตโนมัติยิ่งไม่อยากฝึกเคาะด้วยมือ เอาเลย เรืยกว่าที่จำใจฝึกให้เป็นนั้น เพราะถ้าสอบไม่ผ่านก็อดเป็นนักวิทยุสมัครเล่น

คุณ คงแปลกใจเมื่อรู้ว่า นักวิทยุสมัครเล่นมากมายทั่วโลกที่กลับรักใช้คันเคาะมากกว่าไมโครโฟน เพราะพอสอบได้และเริ่มลองรับ-ส่งรหัสมอร์ส ออกอากาศด้วยระบบการส่งที่เรียกว่า CW แล้วนั่นแหลาะจึงได้พบว่าการรับ-ส่งรหัสมอร์สนั้นสนุกและน่าประทับใจมาก เป็นภาษาพิเศษ ที่เชื่อมตัวคุณเองเข้ากับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก เมื่อคุณพบนักวิทยุสมัครเล่นที่มีความสามารถในการรับฟังน้อยกว่า ความมีอัธยาศัยในจิตใจ จะทำให้คุณต้องลดความเร็วของคุณให้พอเหมาะกับคู่สนทนา การรับส่งรหัสมอร์สจึงเป็นศิลปพิเศษอย่างหนึ่ง นอนกจากนั้นแล้ว รหัสมอร์ยังช่วยให้คุณเปิดโลกกว้างมากขึ้น จากการฟังทางวิทยุคลื่นสั้น ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของนักวิทยุสมัครเล่น

และ คุณคงแปลกใจมากขึ้นไปอีก เพราะสามารถจำรหัสมอร์สได้ตลอด โดยไม่มีวันลืมเช่นเดียวกับการหัดขี่จักรยาน กว่าจะขี่ได้ก็ล้มแล้วล้มอีก แต่พอขี่เป็นแล้วก็จะขี่เป็นจนวันตาย เวาล 70 - 100 ชั่วโมงนั้นจึงคุ้มกับความสามารถพิเศษที่ติดตัวไปจนวันตาย

ดังนั้นจงตั้งใจฝึก และตั้งเป้าหมายให้ได้ว่า "ผมต้องฝึกรหัสมอร์สให้ได้ !!" แล้วคุณจะทำมันได้สำเร็จ

ขั้นตอนการเรียนรู้

ขั้นตอนการเรียนรู้รหัสมอร์สอาจจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ

  1. ขั้นตอนจำรหัส
  2. ขั้นตอนการรับฟังรหัสให้ถึงความเร็วระดับหนึ่ง
  3. ขั้นตอนการส่งรหัสให้ถึงความเร็วระดับหนึ่ง

ในหลาย ๆ โอกาสขั้นตอนที่ 2 และ 3 เราอาจจะเรียนรู้ไปในช่วงเวลาเดียวกัน

การจำรหัส คุณสามารถจำรหัสได้ภายในเวลาไม่กี่วันโดยไม่ต้องมีใครช่วย ข้อสำคัญที่สุดของการท่องจำคือ อย่าท่องจำจากการนึกภาพเป็น จุด หรือ ขีด ควรจะจำเป็นเสียง ดิต (Dit) หรือ ดาห์ (Dah) อย่างเช่นจำตัวอักษร C ว่าเป็น -.-. ซื่งเป็นการจำแบบเห็นรูป แต่ให้จำเป็นเสียงว่า ดาห์ - ดิ - ดาห์- ดิต ซึ่งเป็นการแทนเสียงใกล้เคียงของจริง

และ อย่าพยายามจำตัวอักษรทั้งหมดในรวดเดียว จงจำทีละกลุ่มให้ได้จนขึ้นใจจริง ๆ ก่อนลองทบทวนของเก่าซ้ำแล้วจึงเพิ่มอีกทีละกลุ่ม เทคนิคการจำนั้นแล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้เป็นเทคนิคการจำแบบหนึ่ง ซึ่งแบ่งการจำออกเป็น 7 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1

กลุ่มนี้มีแต่ตัวอักษรที่มีแต่ ดิต หรือ ดาห์ ล้วน ๆ อย่างไดอย่างหนึ่งเท่านั้น จำง่ายๆ ว่า EISH TMO ภายในไม่กี่ชัวโมง คุณจำได้แน่

E = ดิต
I= ดิ ดิต
S= ดิ ดิ ดิต
H= ดิ ดิ ดิ ดิต
T= ดาห์
M= ดาห์ ดาห์
O= ดาห์ ดาห์ ดาห์

ขอ ให้สังเกตด้วยว่า " ดิต" เมื่อไม่อยู่ตัวสุดท้าย จะถูกละตัว "ต" กลายเป็น "ดิ" ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเสียงสั้นที่มีน้ำหนักเน้นน้อยลง

กลุ่มที่ 2

กลุ่มนี้ประกอบด้วย ดิ หรือ ดาห์ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ด้านหน้า เพียงตัวเดียว

A = ดิ ดาห์
W = ดิ ดาห์ ดาห์
J = ดิ ดาห์ ดาห์ ดาห์
N= ดาห์ ดิต
D = ดาห์ ดิ ดิต
B = ดาห์ ดิ ดิ ดิต

ถึง ขั้นนี้คุณคงจำตัวอักษรไปแล้วครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด ให้เหลียวมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวคุณอย่างเช่น หนังสือภาษาอังกฤษ ป้ายโฆษณา กล่องขนม ลองอ่านตัวอักษรเหล่านั้นออกมาเป็นเสียงรหัสมอร์ส ฝึกอย่านี้บ่อย ๆ จนมั่นใจว่าจำได้ขึ้นใจแน่ ๆ แล้วจึงฝึกกลุ่มต่อไป

กลุ่มที่ 3

กลุ่มนี้มีความสำพันธ์กันน้อยลง

U = ดิ ดิ ดาห์
V = ดิ ดิ ดิ ดาห์
G= ดาห์ ดาห์ ดิต
Z= ดาห์ ดาห์ ดิ ดิต
K = ดาห์ ดิ ดาห์
R = ดิ ดาห์ ดิต
P = ดิ ดิ ดาห์ ดิต
X = ดาห์ ดิ ดิ ดาห์

กลุ่มที่ 4 ไม่มีความสำพันธ์กันเลย

F = ดิ ดิ ดาห์ ดิต
C= ดาห์ ดิ ดาห์ ดิต
L = ดิ ดาห์ ดิ ดิต
Q = ดาห์ ดาห์ ดิ ดาห์
Y = ดาห์ ดิ ดาห์ ดาห์

หมด ตัวอักษรแล้วครับ ! เห็นมั้ยละว่าการจำตัวอักษรทั้ง 26 ตัวนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายกว่าการหัดพิมพ์ดีด หรือเล่นเปียนโนเสียอีก ข้อสำคัญคือ จงฝึกให้บ่อยครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้

กลุ่มที่ 5

กลุ่มนี้เป็นตัวเลขจะประกอบด้วย 5 ส่วน ซึ่งทุกตัวลงท้ายด้วย ดาห์

0 = ดาห์ ดาห์ ดาห์ ดาห์ ดาห์
1 = ดิ ดาห์ ดาห์ ดาห์ ดาห์
2= ดิ ดิ ดาห์ ดาห์ ดาห์
3= ดิ ดิ ดิ ดาห์ ดาห์
4 = ดิ ดิ ดิ ดิ ดาห์

กลุ่มที่ 6 เป็นตัวเลขประกอบด้วย 5 ส่วนเช่นเดียวกันแต่ลงท้ายด้วย ดิต

5 = ดิ ดิ ดิ ดิ ดิต
6= ดาห์ ดิ ดิ ดิ ดิต
7 = ดาห์ ดาห์ ดิ ดิ ดิต
8 = ดาห์ ดาห์ ดาห์ ดิ ดิต
9 = ดาห์ ดาห์ ดาห์ ดาห์ ดิต

หมด ตัวอักษรแล้วครับ ! เห็นมั้ยละว่าการจำตัวอักษรทั้ง 26 ตัวนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายกว่าการหัดพิมพ์ดีด หรือเล่นเปียนโนเสียอีก ข้อสำคัญคือ จงฝึกให้บ่อยครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้

กลุ่มที่ 7

กลุ่มนี้เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการทดสอบ ระดับเริ่มต้น มี 6 ส่วน

. (จุด) = ดิ ดาห์ ดิ ดาห์ ดิ ดาห์
, (ลูกน้ำ)= ดาห์ ดาห์ ดิ ดิ ดาห์ ดาห์
? = ดิ ดิ ดาห์ ดาห์ ดิ ดิต
/ = ดาห์ ดิ ดิ ดาห์ ดิต

เสียง ยาว (ดาห์) จะยาวประมาณ 3 เท่าของเสียงสั้น (ดิต) ส่วนระยะห่างระหว่างตัวอักษรหรือตัวเลข จะเท่ากับ ดิต หนึ่งตัว ระยะห่างระหว่างตัวอักษรจะเท่ากับบ 3 ดิต (สำหรับผู้เริ่มต้นอาจจะยืดระยะนี้ให้ยาวขึ้น เพื่อให้ฟังง่าย) ส่วนระยะระหว่างคำจะเท่ากับ 5 ดิต (บางตำรายอมให้ถึง 7 ดิต)

การฟัง(เขียน)

ควร หาเทปหรือซีดีสำหรับฝึกรหัสมอร์สมาฟังดู ในชุดควรมีความเร็วต่าง ๆ กันคือ 5,7.5,10 และ 13 คำต่อนาทีถ้าคุณฟังได้ถูกหมดที่ระดับความเร็วหนึ่งแล้ว คุณควรมีความสามารถในการฟังได้สูงกว่าความเร็วนั้นสัก 20-25 %

การ ฟังหรือการเขียนนั้นเช่นเดียวกับการฟังใครสักคนหนึ่งออกมา คุณจะไม่หมกมุ่นกับข้อความของเขาว่ามีตัวอักษรใดบ้าง สมองจะทำงานร่วมกับหูแล้วแปลความหมายออกมาให้คุณทราบทันทีโดยอัตโนมัติ การฟัง (เขียน)รหัสมอร์ส เป็นการฝึกให้มือคุณเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขทันทีทุกครั้งที่ได้ยินรหัส มอร์สตัวนั้น ๆ โดยที่สมองของคุณเองทำงานด้วยความเคยชินไม่ตึงเครื่ยด เป็นการฝึกความสำพันธ์ระหว่าหูกับสมอง ลองคิดดูง่าย ๆ สิครับ ถ้ารหัสมาด้วยความเร็ว 25 คำต่อนาที ซึ่งเป็นระดับปกติของพนักงานวิทยุพาณิชย์ ก็เท่ากับว่ามีตัวอักษรมา 125 ตัวต่อนาที (เฉลี่ย 5 ตัวอักษรต่อคำ) หรือมากกว่า 2 ตัวอักษรต่อวินาที สมองของคุณมามีเวลามาคิดหรือหมกมุนหรอกครับ ต้องออกมาโดยอัตโนมัติได้เท่านั้น จึงจะรับได้ทัน

ต่อไปนี้คือข้อแนะนำต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น

  • ก่อนฝึกจำนั้น คุณต้องจำรหัสมอร์สของตัวอักษร,ตัวเลข และเครื่องหมาย ให้ได้โดยสมองไม่ต้องคิดเลยเมื่อเห็นตัวอักษร ตัวนั้น ๆ
  • การ ให้เวลา, มีความอดทนและมีความสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่คุณต้องมีจึงจะประสบความสำเร็จในการ เรียนรหัสมอร์ส อย่ารีบร้อนว่าต้องเป็นให้ได้ภายในเวลาไม่กี่วัน
  • อย่า ฝึกละนานเกินไปเพราะทำให้มีผลเสียมากกว่าผลดี (คุณอาจจะปวดหัวและสมองล้าจนทำอะไรต่อไปไม่ดีขึ้น) ครั้งหนึ่งไม่ควรเกิน 30 นาทีและไม่ควรเครียดจนเกินไป
http://www.hs8jyx.com

ไม่มีความคิดเห็น: