วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การลงอุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ SSB/CW ความถี่ 7 MHz มี Fine Tune

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ให้ความสนใจร่วมทดลองโครงงานชิ้นนี้ครับ  โครงงานนี้เป็นวงจรเดียวกับเวอร์ชั่น 14 MHz (http://hs8jyx.blogspot.com/2013/06/14-mhz-vfo.html) แต่เราทำแผ่นวงจรขึ้นมาใหม่เพื่อลดความยุ่งยากเรื่องการทำกล่องซีล  สำหรับความถี่ 7 MHz ความถี่ค่อนข้างคงที่ ไม่มีปัญเรื่องความถี่เลื่อนมากจนยอมรับไม่ได้เลยไม่ต้องทำกล่องซีล



ความถี่ 7 MHz จะติดต่อทางไกลได้ดีในเวลากลางคืน เพื่อนสมาชิกที่ยังไม่เคยเล่นความถี่นี้ ไม่ต้องแปลกใจถ้ากลางวันรับใครไม่ได้เลย หรือรับได้แต่เสียงรบกวนแปลก ๆ 


สามารถ Download ลาย PCB ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0BxgJ9QX1BWUyWnBVbE1BSlJfR1E/edit?usp=sharing



ขดลวด 1.5 uH ใช้ขดลวดทองแดงพันบนแกน T37-2 (สีแดง) จำนวน 19 รอบ (การนับรอบของแกน http://15meter-radio.blogspot.com/2013/02/toroid.html)






ขดลวด L1 สามารถพันได้โดยพัน 21-22 รอบบนแกน T50-7 หรือ พัน 22-23 รอบบนแกน T50-6 (ทั้งนี้เป็นเพราะว่าขดลวดสามารถบีบให้แน่นหรือคลายออกได้ จำนวนรอบเลยสามารถเปลี่ยนแปลงได้นิดหน่อย) 


(ตัวอย่างการรับ ผมไม่มีสายอากาศย่าน 7 MHz เลยใช้สายไฟยาว ๆ แทนสายอากาศ)  
รูปการลงอุปกรณ์และการต่อสาย





Bandwidth กว้าง - แคบ อะไรเป็นตัวกำหนด



จากรูปเป็นวงจร VFO ของเราการปรับความถี่ของวงจร VFO สามารถทำได้สองทางคือปรับค่า L (ขดลวด) และปรับที่ค่า C (ตัวเก็บประจุ) ในที่นี้เราเลือกใช้แบบปรับค่า C โดยใช้ค่าความจุที่ไดโอด 1N4001 ยิ่งช่วงแรงดันที่ตกคร่อมสูงขึ้น Bandwidth ก็จะกว้างขึ้น (เช่น 0-8 โวลต์ แบนด์จะกว้างกว่า 0-5 โวลต์เป็นต้น)

C2 และ  C3 ก็เป็นตัวกำหนด Bandwidth แต่ว่าถ้าเพิ่มมากถึงจุดหนึ่งก็ไม่มีผลอะไร

L1 C1 จะมีผลต่อ Bandwidth มากกว่าโดยถ้าอยากให้ Bandwidth กว้างขึ้น ให้ค่า L1 สูง ค่า C1 น้อย (ความถี่ยังเท่าเดิมแต่ Bandwidth เพิ่มขึ้น) ที่เป็นเช่นนี้ก็มาจากค่า C ในตัวไดโอดจะมีผลต่อความถี่มากถ้าหากต่อกับ C ที่มีค่าน้อย

ยกตัวอย่างเครื่องรับ 7.1 MHz (เพื่อประกอบความเข้าใจ)

สมมุติให้ไดโอด 1N4001 ที่ใช้ในการจูนมีค่า 2-25 pF (ตามแรงดันไฟจูนสูงสุดและต่ำสุด)

สูตรการหาความถี่ Resonance




วงจรที่ 1 ใช้ขดลวดน้อย (ใช้1uH) เราจำเป็นต้องใช้ C ค่า 502 pF (500pF + 2 pF ของไดโอดขณะที่น้อยที่สุด) เพื่อให้ ได้ความถี่ 7.1 MHz 
เมื่อแรงดันต่ำสุดเราจะได้ความถี่ 7.100 MHz (1uH //500+2pF )
เมื่อแรงดันสูงสุดเราจะได้ความถี่ 6.950 MHz   (1uH // 500+25pF)

Bandwidth = 150 KHz

วงจรที่ 2 ใช้ขดลวดมากกว่า (ใช้ 2 uH)  
เราจำเป็นต้องใช้ C ค่า 502 pF (249pF + 2 pF ของไดโอดขณะที่น้อยที่สุด) เพื่อให้ ได้ความถี่ 7.1 MHz  

เมื่อแรงดันต่ำสุดเราจะได้ความถี่ 7.100 MHz (1uH //249+2pF )
เมื่อแรงดันสูงสุดเราจะได้ความถี่ 6.800 MHz   (1uH // 249+25pF)


Bandwidth = 300 KHz




ไม่มีความคิดเห็น: