วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Dipole (ไดโพล) กับ Folded Dipole (โฟลเด็ดไดโพล) มันต่างกันอย่างไร

ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)

คำถาม :: Dipole (ไดโพล) กับ Folded Dipole (โฟลเด็ดไดโพล) มันต่างกันอย่างไร



คำตอบ :: ได (Di) แปลว่า 2 ส่วน โพล (Pole) แปลว่าขั้ว สายอากาศ 2 ขั้ว เป็นสายอากาศพื้นฐานที่ทำได้ง่ายที่สุด

รูปที่ 1 สายอากาศไดโพล (Dipole Antenna)

ต่อมาก็ดัดแปลงมันนิดหน่อยเอาโลหะอีกเส้นมาวางขนานแล้วเชื่อมหัวท้ายเพื่อบีบรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของมันให้แบนลง ทำให้ได้อัตราการขยายที่สูงขึ้นรูปร่างของมันก็จะเหมือนกับการต่อความยาวของสายอากาศไดโพลแล้วพับลงมา (รูปที่ 2) คำว่าโพลเด็ด Folded แปลว่าพับแล้ว พวกที่เป็นห่วง ๆ นั่นแหละ โพลเด็ดไดโพล ยังป้อนสัญญาณวิทยุตรงกลางต้นอยู่

และถ้ามีการดัดแปลงให้ป้อนสัญญาณเข้าที่ปลายสายอากาศแบบไดโพล ซึ่งสามารถบีบรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นให้แบนได้มากขึ้น ได้อัตราการขยายมากขึ้น แต่ค่า SWR ก็สูงขึ้นด้วย จึงมีการทำตัวปรับค่า SWR เป็นรูปตัว U เอาขาข้างหนึ่งต่อกับสายอากาศไดโพล กลายเป็นรูปตัว J เรียกว่าเจโพล (รูปที่ 3)




ดัดแปลงเจ้า J ต่ออีกหน่อย วางโลหะอีกเส้นให้ขนานกันคล้าย ๆ โพลเด็ดไดโพล เรียกว่า J intigrated match หรือ JIM เป็น JIM เพรียว ๆ เลยเรียกว่า สลิมจิม (รูปที่4) คนที่ออกแบบ สลิมจิมชื่อ F.C. Judd

ทำไมเอาสายอากาศไดโพลไว้ข้างเสา เอา V2 ไว้ด้านบน

คำถาม :: เห็นใคร ๆ ก็ติดสายอากาศไดโพล 4 ห่วง 8 ห่วง ไว้ข้าง ๆ Tower แล้วเอาพวก V2 หรือ 5/8 Lambda ไว้ด้านบนยอดเพราะอะไร เปลี่ยนกันได้มั้ย? 





ตอบ :: พวกสายอากาศ V2 ก็คือสา่ยอากาศ 5/8 Lambda ชนิดหนึ่ง (V2 เป็นชื่อทางการค้า) เป็นสายอากาศแบบรอบตัว ถ้าเอาไปไว้ข้าง ตัว Tower เป็นโลหะ จะมีผลกระทบต่อคุณสมบัติของสายอากาศต้นนั้นอย่างมาก

ส่วนสายอากาศ Folded Dipole (ต้องเรียกว่า Folded Dipole ไม่ใ่ช่ Dipole เฉย ๆ ) เป็นสายอากาศกึ่งรอบตัว ถูกออกแบบมาให้ตัวเสาอากาศเป็นส่วนหนึ่งของสายอากาศอยู่แล้ว คือทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนสัญญาณ เมื่อติดตั้งเข้าด้านข้าง Tower ในระยะห่างที่เหมาะสมก็ไม่เสีียหายอะไร

อีกอย่างหนึ่งมันหนักจะตาย ขืนเอาไปชูโด่เด่ไว้ เจอลมแรง ๆ เข้าเกิดโค่นลงมาบาดเจ็บล้มตาย สถานีเสียหาย ไม่คุ้มหรอกครับ


ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)

หัวกลม กันฟ้า ของสายอากาศไดโพล




คำถาม :: เพื่อนบอกว่า การที่สามอากาศแบบไดโพลเป็นสายอากาศแบบกันฟ้าผ่าได้ เพราะมีหัวจุกกลม ๆ ปลายแหลมอยู่บนยอด พอฟ้าผ่าลงมามันก็เลยเฉลบออกไปนอกเสา ทำให้ฟ้าไม่ลงเครื่อง จริงหรือเปล่าครับ



ตอบ :: คำว่าฟ้าผ่า มันไม่ใช่ว่าฟ้าผ่าแบบมีดอีโต้ผ่าลงมาบนยอดเสา ถึงจะมาแฉลบได้เวลาผ่ามาโดนอะไรกลม ๆ เข้า
แต่ฟ้าผ่าคือประจุไฟฟ้าในอากาศจำนวนมหาศาล มีพลังงานไฟฟ้า และแรงดันสูงมาก ที่กำลังวิ่งสู่พื้นดินด้วยความเร็ว 300 ล้านเมตรต่อวินาที

ขึ้นชื่อว่าไฟฟ้าก็วิ่งผ่านตัวนำ เช่น อากาศเป็นตัวนำไม่ดีนัก ถ้ากระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเจอตัวนำที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีกว่า มันก็จะวิ่งผ่านตัวนำนั้นเพื่อให้ไปถึงพื้นดินซึ่งเป็นจุดหมายของมันให้เร็วที่สุด ก็เหมือนกับขับรถบนถนนลูกรัง พอมาเจอถนนราดยาง เราย่อมรีบขึ้นวิ่งบนถนนราดยาง


สายอากาศทุกต้นทำด้วยสายโลหะตัวนำไฟฟ้าทั้งนั้น และไฟฟ้าก็ไหลได้ไม่ว่าตัวนำนั้นจะเป็นลูกกลม ๆ เหลี่ยม ๆ เห็นเป็นเส้นยาว ๆ ทั้งเสาและสายอากาศแบบโพลเด็ดไดโพล (Folded Dipole) ล้วนทำด้วยโลหะ ที่ว่าฟ้าผ่าจะกระเด็นตีลังกาหลุดออกจากเสาโลหะย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว



แต่ ... สายอากาศแบบ Folded Dipole นั้นตัวสายอากาศนั้นจะมีส่วนที่เป็นกราว์ดโลหะ เชื่อมติดกับตัวเสา เรียกว่า DC - Ground เมื่อมีกระแสไฟฟ้าวิ่งบนผิวของสายอากาศ เนื่องจากประจุไฟฟ้าในอากาศ ถ้ามันไม่มากนัก



รูปสายอากาศแบบ DC Ground


ก็จะถ่ายเทลงดินไป ทำให้เหลือมาถึงวิทยุสื่อสารได้น้อยกว่าสายอากาศประเภท V2 หรือ 5/8 lambda ซึ่งเป็น AC -Ground (ข้อความจากเอกสาร ในความเป็นจริง แล้วแต่การออกแบบ ส่วนมากจะพยายามออกแบบให้เป็น DC - Ground อยู่แล้ว) แต่ถ้าฟ้าผ่าลงมาตรง ๆ ได้รับประจุมากมายขนาดนั้น DC - Ground ก็ไม่เหลือครับ

ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)

เฟด Fade ลง (Fade-in Fade-out)

คำถาม :: ได้ยินเพื่อนสมาชิกบ่นบ่อย ๆ ว่าตอนนี้เฟดลงลงสายอากาศ ทำให้รับไม่ได้ ผมอยากทราบว่าอาการเฟดลงที่สายอากาศเกิดจากอะไร ?



ตอบ :: คำว่า "เฟดลง" จริง ๆ แล้วไม่มี และเป็นไปไม่ได้ เป็นคำที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แต่มันเห็นภาพได้ชัดดี ก็เลยก็เลยกลายเป็นที่นิยมของคนใช้วิทยุสื่อสารไป

เฟด - Fade คืออาการจางลง ๆ จนหายไปในที่สุดอันนี้เรียก Fade Out และถ้าจากจาง ๆ ค่อย ๆ ชัดขึ้นอันนี้เรียก Fade In ในการติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุซึ่งจต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศเป็นระยะทางไกล ๆ บางครั้ง เมื่อลักษณะอากาศเปลี่ยน สัญญาณที่รับได้ก็มีอากาศ Fade-in Fade - out คือรับได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่ได้มีเจ้าเฟดตัวไหนมาลง
 
ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อดีของทรานซิสเตอร์เมื่อเทียบกับหลอดสูญญากาศ

ทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 ชนิด (NPN และ PNP) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่อิเล้กทรอนิกส์ประเภทที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เหมือนกับไดโอด (Diode) เพราะฉนั้น กล่าวโดยสรุปจึงมีคุณสมบัติที่ดีเด่นกว่าหลอดสูญญากาศหลายประการเช่น




  • มีขนาดเล็กกว่า สามารถบรรจุลงในที่แคบ ๆ ได้
  • มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก จึงทำให้ทนต่อการสั่นสะเทือน และกระแทกแรง ๆ ได้
  • ใช้งานได้กับแรงดันไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ เช่น 3 โวลต์ เป็นอย่างต่ำ และ 70 โวลต์เป็นอย่างสูง
  • ไม่ต้อง Warm Up หรือ อุ่นเครื่อง เพราะทรานซิสเตอร์ไม่มีการจุดไส้หลอดเหมือนหลอดสูญญากาศ เมื่อเปิดสวิช สามารถใช้งานได้ทันที
  • มีอายุการใช้งานได้นาน สามารถใช้ได้เป็นสิบ ๆ ปี โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
  • กินไฟน้อย แต่มีประสิทธิภาพดี และยังมีความเชื่อถือได้สูง หมายถึงไว้ใจได้ในการใช้งาน
  • ไม่ค่อยมีเสียงรบกวน เช่นเสียงฮัม (Hum) เหมือนหลอดสูญญากาศ
แต่อย่างไรก็ดีทรานซิสเตอร์ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น

  • ไม่สามารถใช้กับแรงดันไฟสูง ๆ ได้ จะต้องมีการปรับแรงดันไฟให้เหมาะสม
  • ไม่สามารถใช้กับกำลังไฟฟ้าที่สูง ๆ ได้
  • เสถียรภาพไม่ดีเมื่อทำงานกับความร้อน ถ้าร้อนมาก ๆ จะใช้งานไม่ได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการระบายความร้อนเสมอ

ความหมายของเบอร์ทรานซิสเตอร์ 2SA 2S 2SC 2SD

ตามมาตราฐานของ JIS - Japan Industrial Standard จะมีรหัสเขียนดังนี้
ตัวอย่างเช่น 2SC250B



ตัวอักษรแสดงชนิดและการใช้งาน
  • A เป็นชนิด PNP ใช้กับความถี่สูง
  • B เป็นชนิด PNP ใช้กับความถี่ต่ำ
  • C เป็นชนิด NPN ใช้กับความถี่สูง
  • D เป็นชนิด BPN ใช้กับควมถี่ต่ำ

หลอด Beam tetrode

บทความ ต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX

หลักการของหลอด Beam tetrode ไม่เหมือนกับหลอด tetrode คืออิเล็กตรอนจากแคโถดจะถูกปรับเป็นโพกัส คล้ายลำแสง



พุ่งตรงไปยังแอโนด โดยคอนโทรลกริดและสกรีนกริดที่พันอยู่บนแกน จำนวนรอบของแต่ละกริด ทำหน้าที่คล้ายกระจกคอยปรับแต่งโฟกัสของลำอิเล็กตรอน



ภาพภายในหลอด beam tetrode (ภาพประกอบจาก wikipedia)


หน้าที่ของคอนโทรลกริดและสกรีนกริด ที่ขดพันอยู่บนแกนนั้น เพื่อลดกระแสสกรีนเมื่อเปรียบเทียบกับหลอด Tetrode ที่ไม่ใช่หลอดที่มีโครงสร้างแบบบีม พบว่าหลอด Tetrode ที่ไม่มีโครงสร้างแบบบีมจะมีกระแสแอโนดเพียง 5-10 % ของกระแสแอโนดเท่านั้น แผ่น Beam Plate 2 แผ่น มีหน้าที่จำกัดการปล่อยอิเล็กตรอนประเภท Secondary Emission ที่กล่าวถึงมาในตอนต้นเสมือนหนึ่งการชีลด์แอโนด ให้พ้นจากการวิ่งชนของอิเล็กตรอน ที่มาจากการแพร่ออกจากเส้นลวดที่นำมาสร้างเป็นกริด ณ จุดโพกัส ของอิเล้กตรอนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ แผ่นบีมเพลต ทั้งสองเรียกว่า Beam Confining หรือ Beam Forming Plates

หลอด Pentode (5 ขั้ว)

บทความ ต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX

เนื่องจากเกิดปัญหาการปล่อยอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นในลักษณะ Secondary Emission ในหลอด Tetrode การแก้ปัญหาจึงแก้ด้วยการเพิ่มกริดหมายเลข 3 (suppress secondary emission) เข้าไประหว่างสกรีนกริดและแอโนด โดยกำหนดให้ทำหน้าที่ด้วยศักดาไฟฟ้าต่ำที่เชื่อมอยู่กับแคโถด




การปล่อยอิเล็กตรอนของแอโนด หรือ Secondary Emission จะติดตามมาด้วยการสวิงของแรงดันแอโนด ซึ่งเชื่อได้ว่าสูงมากยิ่งขึ้น

กริดหมายเลข 3 เรียกว่า ซัปเปรสเซอร์กริด (Suppressor Grid)
หลอด Pentode ที่ใช้งานพิเศษบางแบบจะมีกริดหมายเลข 1 หรือ คอนโทรลกริด 2 อัน กริดหมายเลข 3 จะทำหน้าที่เป็นกริดที่ 2 ซึ่งมีความมไวในการควบคุมต่ำกว่าเสมือนเป็นช่องทางผ่าน ในกรณีที่ใช้หลอดทำหน้าที่ ผสมคลื่น หรือ Modulation หรือ Mixing การใช้งานพิเศษแบบนี้ต้องมีความสัมพันธ์ของอัตรากระแสสกรีนกริดสูง (กริดหมายเลข 2) เพื่อให้กระแสแอโนดถูกตัดโดย Suppressor Grid ได้

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลอดสูญญากาศที่ขึ้นต้นด้วย 3CX, 4CX และ 5CX

หลอดสูญญากาศที่ขึ้นต้นด้วย 3CX และ 4CX

ตัวแรกจะบอกถึงชนิดของหลอด
  • 3 คือหลอด Triode
  • 4 คือหลอด Tetrode
  • 5 คือหลอด Pentodes


4CX8000A



3CX1500A



5CX 3000A



4CV50,000E (ระบายความร้อนด้วยไอน้ำ (Vapor cooling))

ตัวอักษร C หมายถึงโครงสร้างเป็น Ceramic/metal
ตัวอักษร X หมายถึงการระบายความร้อนด้วยอากาศ ตัว W หมายถึงระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water)
ตัวอักษร V หมายถึงการระบายความร้อนด้วยไอน้ำ (Vapor cooling)
ตัวเลขด้านหลังเป็นจำนวนวัตต์ เช่นหลอด 4CX250 เป็นหลอด Tetrode แบบ Ceramic ระบายความร้อนด้วยอากาศ ขนาด 250 วัตต์




4CW10,000A (ระบายความร้อนด้วยน้ำ)

หลอด Tetrode

บทความ ต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX



หลอด Tetrode เป็นหลอด 4 ขั้ว หรือ 4 Electrode หลักการมาจากหลอดไตรโอด (Triode) แต่เพิ่มกริดเข้าไปอีก 1 ขั้ว กริดที่เพิ่มตั้งอยู่ชั้นนอก ระหว่างแอโนด และกริดตัวที่ 1

กริดตัวที่ 1 เรียกว่า Control grid
กริดตัวที่ 2 เรียกว่า Screen grid

เมื่อกริดที่ใส่เพิ่มขึ้น มีศักดาไฟฟ้าเป็นบวก จะมีผลทำให้อัตราการขยายเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันค่า อิมพิแดนซ์จะสูงขึ้นด้วย



เหตุที่ทำให้อัตราการขยายสูงขึ้นก็เพราะกระแสแอโนดในหลอด Tetrode มีความเป็นอิสระจากค่าแรงดันแอโนดน้อยกว่าหลอดไตรโอด แน่นอนว่าในวงจรขยายสัญญาณค่าแรงดันที่แอโนด จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มตั้งแต่ค่าความเปลี่ยนแปลงของกระแสแอโนด ซึ่งจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ของแรงดันตกคร่อม ระหว่างโหลดในวงจรแอโนดของหลอดขยายสัญญาณแบบไดโอด ในหลอดไตรโอดซึ่งทำหน้าที่ขยายสัญญาณจะไม่มีข้อได้เปรียบเลย ตัวอย่างเช่น ในขณะที่กระแสแอโนดเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากซีกบวกในครึ่งไซเคิ้ลแรกของแรงดันกริด สวิงแรงดันแอโนดจะตกเป็นจำนวนเท่ากับแรงดันที่ตกคร่อมระหว่างโหลด มีผลทำให้แรงดันแอโหลดถูกลดลง ในขณะที่กระแสแอโนดจะเพิ่มขึ้นและขณะที่แรงดันกริดสวืงกลับมาอยู่ทางซีกลบในครึ่งไซเคิ้ลหลัง กระแสแอโหนดจะลงลง ส่วนแรงดันแอโหนดจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพราะในขณะที่แรงดันแอโหนดเพิ่มกระแสแอโหลดยังไม่ลดลงต่ำ ลงตามที่ควรจะเป็นในทันที เพราะยังไม่มีอิสระจากแรงดันที่แอโหนด หมายความว่า การขยายสัญญาณแบบสมบูรณ์ ของหลอดไตรโอดไม่สามารถทำได้ การเพิ่มสกรีนกริดเข้าไปอีก 1 ขั้ว ก็เพื่อให้ทำหน้าที่ กำจัดผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ค่าแรงดัน และกระแส แอโหนด ซึ่งทำให้ได้อัตราการขยายที่มากขึ้น

สกรีนกริดจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด เมื่อแรงกันสกรีนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของค่าแรงดันแอโนด อิเล็กตรอนส่วนมากจากแคโถดจะพุ่งไปยังแอโนด แต่จะมีบางส่วนไม่ได้ถูกจับไว้โดยสกรีนกริด ฉนั้นการให้กระแสสกรีนกริด เพิ่มขึ้นจะไม่ได้รับประโยชน์เลย แต่จะกลายเป็นส่วนเกินทำให้เกิดความร้อนสูงโดยไม่มีประโยชน์แต่ประการใด

การใช้ประโยชน์ในกรณีแรงดันต่ำ ถ้าแรงดันแอโนดสวิงต่ำลงมาถึงระดับเดียวกับแรงดันของสกรีนหรือต่ำกว่า กระแสแอโหลดจะตกลงอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันค่าของแรงดันสกรีนจะสูงขึ้น เนื่องจากอิเล็กตรอนถูกปล่อยออกมาจากแอโนดไปยังสกรีนกริด การปล่อยอิเล็กตรอนในสักษณะนี้ เรียกว่า Secondary Emission ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น

หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสกรีนกริด หรือ กริดหมายเลข 2 (G2) ก็คือลดค่าความจุ (Capacitive) ที่เกิดจากการ Coupling ระหว่างคอนโทรลกริด กับแอโนด ทำให้การขยายสัญญาณวิทยุมีเกณฑ์สูงและมีเสถียรภาพคงที่ยิ่งขึ้น

การแบ่งประเภทของหลอดสูญญากาศ

บทความ ต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX

การแบ่งประเภทหของหลอดสูญญากาศ จะแบ่งต่ามจำนวนขั้ว (Electrod) ใช้งานของหลอดสูญญากาศนั้น ๆ

1. หลอดไดโอด (Diode Tube) เป็นหลอดสูญญากาศแบบง่าย ๆ ก็คือ หลอดแบบ 2 ขั้ว ประกอบด้วย
  • แคโถด เป็นพื้นผิวให้ความร้อนหรือใส้หลอด (Filament)
  • เพลต หรือ แอโนด กระแสที่ไหลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและระยะห่างระหว่างเพลตและแอโนด


การใช้งาน ถ้าอุณหภูมิของความร้อนที่แคโถดสูงขึ้น กระแสจะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ ณ จุดหนึ่งแม้ว่าจะเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น กระแสจะไม่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป จุดนี้เรียกว่าจุดอิ่มตัว หรือ Saturation Point

หลอดไดโอด มีประโยชน์หลากหลายในการทำหน้าที่เป็นหลอดเรียงกระแส (Rectifier) สำหรับแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) เป็นไฟกระแสตรงที่มีแรงดันสูง ๆ (High Voltage)


ตารางแสดงหลอดประเภทต่าง ๆ


2 ขั้วเรียกว่า หลอด Diode
3 ขั้วเรียกว่า หลอด Triode
4 ขั้วเรียกว่า หลอด Tretode
5 ขั้วเรียกว่า หลอด Pentode
6 ขั้วเรียกว่า หลอด Hexode
7 ขั้วเรียกว่า หลอด Heptode
8 ขั้วเรียกว่า หลอด Octode

2. หลอดไตรโอด การไหลของอิเล็กตรอน จากแคโถดไปยังแอโนดจะถูกควบคุมถ้าใส่ขั้ว Electrode เพิ่มขึ้นไปอีก 1 ขั้ว ระหว่างแคโถดและแอโนด ขั้วที่ใส่เพิ่มนี้เรียกว่า "กริด" (Grid)



การไหลของอิเล็กตรอน จะเปลี่ยนไปตามค่าศักดาไฟฟ้าที่กริด ของหลอดไตรโอด ซึ่งหลอดแบบนี้จะมีขั้ว 3 ขั้วคือ

  • คาโถด
  • กริด
  • เพลต หรือ แอโนด

หลอดไตรโอดมีประโยชน์ ในการทำหน้าที่เป็น หลอดขยายสัญญาณ โดยกริดจะต้องมีศักดาไฟฟ้าเป็นลบ (Grid Bias)

การแบ่งประเภทของหลอดสูญญากาศ

บทความ ต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX