วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ภาพ QSL CARD สวย ๆจาก EQSL



VU2PTT



VK6HZ



SWL VU2002SWL



YC1FWO



YB0BCU



JA1YPA



JM4UJY



DV1JM



YB3OX



YB4IR



VK4KW



VK7ZE



UX3MZ



LY9A



JH1ACA



KG6DX



9M6/JJ2CJB



4Z4DX



OZ1ADL

ทดลองสร้าง ATU เฉพาะย่านความถี่ กำลังส่งสูง

ทดลองสร้าง ATU เฉพาะย่านความถี่ กำลังส่งสูง

ลองมาดู โครงสร้างของ variable capacitor ก่อนนะครับ

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ air variable capacitor

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ air variable capacitor อุปกรณ์สำคัญที่จะนำมาประกอบเป็น ATU

รูปแสดง ตำแหน่ง การหมุน ต่อค่า capacitance ที่จะเกิดขึ้น

รูป แสดง ตำแหน่ง การหมุน ต่อค่า capacitance ที่จะเกิดขึ้น ค่า capacitance จะมากที่สุดก็ต่อเมื่อชิ้นส่วนของ Roter และ Stator ซ้อนทับกันพอดี ตามรูป

สำหรับ ตัวอย่าง จะต่ออุปกรณ์แบบ T - Network โดยมีอุปกรณ์หลัก ๆ คือ variable capacitor แบบโลหะ 2 ตัว และ ขดลวด เบอร์ 16 ตัวอย่าง ทำ ATU ไว้ใช้ที่ย่าน 14 MHz ก็พัน 5 รอบเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 mm.

Schematic Diagram วงจร ATU ครับ

Schematic Diagram ครับ ค่า L จะเปลี่ยนไปตามความถี่ที่ต้องการนำไปใช้ ดังนี้ (ใช้ลวดเบอร์ 16 เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 mm.)

  • ความถี่ 24-28 MHz พัน 3 รอบ
  • ความถี่ 18-21 MHz พัน 4 รอบ
  • ความถี่ 14 MHz พัน 5 รอบ
  • ความถี่ 7-10 MHz พัน 8 รอบ

อย่าลืมนะครับ ระหว่าง VC กับแผ่นพริ้นต้องมีฉนวนรองเอาไว้

ตัวอย่างการวาง อุปกรณ์ อย่าลืมนะครับ ระหว่าง VC กับแผ่นพริ้นต้องมีฉนวนรองเอาไว้

Jump สาย ระหว่าง C ทั้งสองตัว

Jump สาย ระหว่าง C ทั้งสองตัว เพื่อให้ได้ค่า capacitance ที่มากขึ้น แผ่นพริ้นควรจะเคลือบเอาไว้ ป้องกันสนิมเขียวเมือใช้ไปนาน ๆ (ผมใช้ยางสนผสมทินเนอร์ ทาเคลือบเอาไว้)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.hs8jyx.com/html/high_power_atu.html

เอกสารเก่า ในวงการวิทยุสมัครเล่นไทย ที่ไม่อยากให้สูญหาย

เอกสารเก่า ในวงการวิทยุสมัครเล่นไทย ที่ไม่อยากให้สูญหาย


เอกสารเก่า ในวงการวิทยุสมัครเล่นไทย ที่ไม่อยากให้สูญหาย


เอกสารเก่า ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิทยุสมัครเล่น นับวันเอกสารเก่า ๆ เหล่านี้ก็หายากเต็มที หายไปกับความเก่าของหนังสือ ทางกระผมเลยเอามาเผยแพร่ในรูปของเอกสารคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สมาชิกรุ่นหลัง ๆ ได้นำมาอ่านกัน อย่างน้อย ๆ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการวิทยุสมัครเล่นของไทยเรา สมาชิกท่านอื่นที่มีเอกสารภาษาไทยที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ สามารถนำมาเผยแพร่ได้เช่นกันครับ ** เอกสารเหล่านี้เป็นผลงานของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยมีชื่อเจ้าของอยู่ภายในวงเล็บ เอกสารชุดใดไม่ต้องการให้เผยแพร่ สามารถแจ้งลบได้ที่นี่ **

จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในวงการวิทยุ (UPDATE)

จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) ในวงการวิทยุ (UPDATE)



เป็นบริเวณที่มืด (Dark, cool areas) ที่ปรากฎที่ผิวดวงอาทิตย์ มีการเปลี่ยนแปลงครบรอบ ประมาณ 11 ปี (11-year cycle) เมือจำนวนจุดดับ เกิดขึ้นมากที่สุด จะทำให้เกิดการ ไอออนมาก การสือสารระยะไกล จะดีมากอย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่ง ดูได้จากค่า Sunspotnumber โดยใช้กล้องโทรทัศน์

การหมุนรอบตัวเอง ของดวงอาทิตย
ดวงอาทิตย์ จะหมุนรอบตัวเอง ภายใน 27 วัน ดังนั้น ถ้า MUF สูง และถ้าการติดต่อดี ๆ หลายวันก็สามารถคาดเดาได้ ว่าจะดีอย่างนั้นอีกใน 27 วันถัดมา เพราะพื้นที่ส่วนนั้นของดวงอาทิตย์ จะกลับมาอีก

SOLAR FLUX INDEX

ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) ได้เพิ่มวิธีการหาค่า solar activity โดยการวัด solar radio flux เข้ามา ค่า SOLAR FLUX INDEX แสดง ฟฤติกรรมได้ทำนองเดียวกับ Sunspot Number แต่สามารถหาได้ทุกสภาวะอากาศ โดยไม่ต้องใช้กล้องโทรทัศน์ การวัด Solar Flux หรือคลื่น วิทยุที่มาจากดวงอาทิตย์ ถ้าพลังงานนี้มากค่าที่วัดได้ก็จะมาก ค่านี้วัดที่ประเทศแคนนาดา (Dominion Radio Astrophysical Observatory) ในเวลา 1700 UTC ด้วยความถี่รับ 2800 MHz (มีความยาวคลื่น 10.7 cm)

ข้อมูลแสดง SOLAR FLUX ออนไลน์

Solar Flux เป็นตัวบ่งบอกพื้นฐานของ solar activity มีค่าที่หลากหลาย อาจจะต่ำกว่า 50 (very low solar activity) หรือบางครั้งอาจจะสูงกว่า 300 (very high solar activity) ค่าสูงกว่า 200 แสดงว่าเข้าสู่จุดสูงสุดของ solar cycles นั้น ๆ แล้ว ถ้า ค่า solar flux ต่ำ นั้นหมายถึง ค่า MUF (maximum usable frequency :: ค่าความถี่สูงสุดที่สามารถใช้ติดต่อกันได้ในเวลานั้น ๆ ) จะต่ำ มองโดยรวม ๆ แล้วไม่ค่อยดีต่อการติดต่อสื่อสารย่าน HF (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถี่สูงในย่าน HF เช่น 21,24,28 MHz) แต่ถ้า solar flux มีค่าสูง การ ionization มากพอที่รองรับการติดต่อสื่อสารระยะไกล สามารถใช้ความถี่สูง ๆ (ในย่าน HF) ได้ดี กว่าช่วงเวลาปกติ อย่างน่าแปลกใจ

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.hs8jyx.com/html/sunspots.html

ชุด Interface สำหรับส่ง รหัสมอร์ส แบบง่าย ๆ

ชุด Interface สำหรับส่ง รหัสมอร์ส แบบง่าย ๆ

อยากลง Contest ใน Mode CW แต่ไม่มีคีย์และไม่อยากหาคีย์เพราะขาดงบประมาณ มีเงินไม่ถึงร้อยบาทจะทำไงได้ครับ ?? นั่งคิดไป คิดมา เอ้ ..มาสร้างตัว interface แบบง่าย ๆ ดีกว่า

รายการอุปกรณ์

  • ทรานซิสเตอร์ แบบ NPN เบอร์ 2SC945 หรือเบอร์แทน (สามารถใช้ได้หลายเบอร์ บางเบอร์ตำแหน่งขาอาจจะไม่ตรงกันต้องดัดแปลงเอาเองครับ)
  • ตัวต้านทาน 1K (สี น้ำตาล ดำ แดง ทอง) ขนาด 1/4 วัตต์ หรือเล็กกว่า เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง
  • สายต่อ ผมเลือกใช้สาย RG58 เพราะมีขนาดพอเหมาะ และมีอยู่ที่บ้านแล้ว ไม่ต้องไปหาชื้อ
  • DB9 ตัวเมีย
  • เจ็กไมโครโฟน แบบโมโน

รูปวงจร (Schematic Diagram)

ตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SC945

ตัวอย่างการต่อสาย

สายพร้อมใช้งาน

ทดลองนำไปต่อใช้งานจริง ร่วมกับโปรแกรม N1MM logger

ทดลองนำไปต่อใช้งานจริง ร่วมกับโปรแกรม N1MM logg

รายละเอียดเต็ม ๆ อ่านได้ที่ http://www.hs8jyx.com/html/easy_cw_interface.html

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

CQ World Wide DX Contest SSB 2009 ของ HS8JYX

CQ World Wide DX Contest SSB 2009 ของ HS8JYX

ในวันที่ 24 - 25 ตุลาคม 2552 นี้ (00.00 UTC ของวันที่ 24 ถึง 23-59 UTC ของวันที่ 25) จะมีรายการ CQ World Wide DX Contest 2009 (SSB) เวลาในการแข่งขัน 48 ชั่วโมง จุดประสงค์เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก ติดต่อกันให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความถี่ที่ใช้ ตั้งแต่ 1.8 ถึง 28 MHz ยกเว้น WARC bands การแข่งขันมีทั้งประเภทเดี่ยวและทีม สำหรับผมแล้วคงหาสมาชิกมาร่วมทีมยาก ก็ต้องลงเดียวครับ แบบเดี่ยวก็ยังมีหลายประเภทย่อย ตามกำลังส่ง กำลังส่งสูงไม่เกิน 1500 วัตต์ กำลังส่งต่ำไม่เกิน 100 วัตต์ และQRP ไม่เกิน 5 วัตต์ครับ

สายอากาศที่เลือกใช้ มี 3 ชุดประกอบด้วย ไดโพล วางแบบธรรมดา 1 ชุด วางแบบ Inverted Vee 1 ต้น สุดท้ายเป็น Delta Loop

เป็นครั้งแรกที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการลง Log แผนที่ และ Gray line มีปัญหาบางอย่างที่ติดขัดอยู่บ้างเหมือนกันครับ

ทดลองต่อสายดิน สำหรับย่านความถี่ต่ำ ๆ (1.6 -3.5 MHz) แล้วรู้สึกว่าได้ผลดี ในการกำจัดสัญญาณรบกวนต่าง ๆ ออกไป

ผลการแข่งขัน สามารถติดต่อได้ 16 Zone ได้ดังรูปครับ

ผลการแข่งขัน สามารถติดต่อได้ 16 Zone ได้ดังรูปครับ

โปรแกรมที่สำคัญอีกตัวคือโปรแกรม Dx Atlas ที่สามารถดู Prefixes, Zones, Gray Line, Local time และอื่น ๆ

โปรแกรมที่สำคัญอีกตัวคือโปรแกรม Dx Atlas ที่สามารถดู Prefixes, Zones, Gray Line, Local time และอื่น ๆ

http://www.hs8jyx.com/html/cq_ww_dx_ssb_2009.html

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรม ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

ทดลอง แข่งขันกับเขาด้วย โดยใช้ความถี่ย่าน 20 เมตร (14MHz) ซึ่งความถี่ที่ติดต่อได้ง่ายก่อน ตอนแรกกะว่าจะออกอากาศที่บ้าน แต่เนื่องจากสัญญาณรบกวน จากหม้อแปลงไฟฟ้าเข้ามารบกวนมากเกินไป จึงต้องไปหาสถานที่ชั่วคราว แต่ด้วยเวลาที่จำกัด และการเดินทางมาคนเดียว จึงต้องทำที่ออกอากาศแบบง่าย ๆ ตามรูป

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

คงจะเห็น กล่องสีชมพู ด้านข้างนะครับ ผมเก็บอุปกรณ์วิทยุ และเสื้อผ้า ทั้งหมดไว้ในกล่องนี้ งบประมาณในการเดินทางไม่เกิน 500 บาท

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

โชคดีที่พาหลอดตะเกียบประหยัดไฟไปด้วย

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

สาย อากาศที่ใช้ คือสายอากาศ ไดโพล ที่ประกอบไว้ก่อนหน้า จำนวน 2 ต้น ความสูงพอ ๆ กับต้นกล้วยข้าง ๆ วางคนละทิศกัน ใช้ Coaxial Switch สลับไปมา หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่ทำให้สูง ๆ หรือดีกว่านี้ ต้องขอตอบว่า เนื่องจากเวลาจำกัดมาก และหาวัสดุไม่ทันจริง ๆ

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

ผล จากการทดลองแข่งขัน แบบเดียวๆ และใช้ย่านความถี่เดียว ก็พอจะรู้ว่าเวลาใน เหมาะกับกับการติดต่อ (ในย่านนี้) เวลาใหนควรจะพักผ่อน ไม่ควรฝืน สภาพอากาศไม่ดี ติดต่อได้น้อย ไกล้ ๆ ให้พักเอาแรงดีกว่า การแข่งใช้เวลานานตั้ง 48 ชั่วโมง ถ้าเอาเวลาที่ควรจะพักผ่อนไปใช้ในการแข่ง พอเวลาสภาพอากาศดีจริง ๆ เราอาจจะไม่ใหวเอาได้ อย่าลืมว่าเป็นการเล่นนอกสถานที่ ต้องมีแรงเหลือไว้เก็บของสำภาระด้วย

http://www.hs8jyx.com/html/cq_aa_2009_hs8jyx.html

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทดลองทำสายอากาศ cubical quad 7 E ไว้แข่งขัน (145 MHZ)

ทดลองทำสายอากาศ cubical quad 7 E ไว้แข่งขัน (145 MHZ)

ทุก ๆ ปีจะมีการแข่งขัน รายการต่าง ๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น และรายการหนึ่งในนั้นก็คือ CQ World Wide VHF จุด ประสงค์ในการทำสายอากาศชุดนี้ก็คือ Gain สูง สามารถสู้คนอื่นเขาได้ ราคาถูก ยิ่งสามารถทำจากวัสดุเหลือใช้ยิ่งดี ผมจึงเลือกใช้แบบ QUAD ซึ่งทำไม่ยาก Gain สูงตามต้องการ จากการค้นหาข้อมูล ก็เจอโปรแกรม คำนวน สายอากาศ QUAD มีตั้งแต่ 2-7 E สามารถ Downlolad ได้ที่นี่

เมื่อดูจากโปรแกรมแล้ว 7E Boom ยาวแค่ 196.57 cm ถือว่าไม่ยาวมาก เหมาะสมกับการพกพาไปในวันแข่งขัน (Gain 15dBi)

ระยะ ห่างระหว่าง E ทั้ง 7 จะเท่ากันหมดคือ 31.75 cm สำหรับตรงกลาง Boom ผมจะใส่ข้อต่อ 3 ทาง เอาไว้ สำหรับเอาไว้ใส่ท่อ PVC อีกขุด ทำหน้าที่เป็นเสา

PVC สีขาวในรูป ผมใช้เส้นเล็กที่สุดเท่าที่จะพอหาได้ แถว ๆ บ้าน ก็เจอแบบ 5/8 นิ้ว ใช้ดอกสว่าน 5/8 นิ้ว เจาะจะแน่นพอดีเลยครับ ไม่จำเป็นต้องติดกาวให้ยุ่งยาก

สำหรับ สมาชิก ที่กลัวว่าจะเจาะแล้วไม่ตรง ผมมีวิธีการหนึ่งคือการทำต้นแบบเอาไว้ก่อนโดยใช้ปลายท่อ PVC ที่มีขนาดโตกว่า PVC ที่จะใช้เล็กน้อย ให้ตัดปลายออกมา ตามรูป

เมื่อ เราทำแบบไว้แล้ว เราก็ลากเส้นที่ PVC ตัว Boom ไว้เป็นแนวทาง จากนั้นก็เริ่มเจาะรูได้เลย รับรองครับ ตรงแน่นอน อย่าลืมว่า ต้นแบบนั้น ต้องแบ่งให้ได้ 4 ส่วนเท่า ๆ กันนะครับ

ปลาย Boom ก็ใช้เป็นจุดต่อสาย โดยการใส่ขั้ว PL-259 ตามรูป

จุดบัดกรีสายลวดทองแดง ให่ซ่อนเอาไว้ในท่อ PVC แล้วใช้ฝาปิด เพื่อความสวยงาม

อาจจะแบ่งเป็น 2 ท่อน เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

เตรียมพร้อม ทดลองออกอากาศ

จากการทดลอง ด้วยเครื่องมือถือ ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ไว้ทดลองอีกรอบในวันแข่งขัน

สูตรการหาระยะ

สำหรับโครงงานสายอากาศชิ้นนี้ขอขอบคุณ HS8XCE ที่ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด HS8VZW (TEL.08-9726-1367) ผู้ร่วมทดลอง

http://www.hs8jyx.com/html/cubical_quad.html