แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิทยุสมัครเล่น แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิทยุสมัครเล่น แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผลการสอบ US Amateur Radio Examination BKK Thailand

ผลการสอบ US Amateur Radio Examination BKK Thailand


บทความจาก 100 วัตต์ ฉบับที่ 130 เป็นบทความที่น่าสนใจ เลยนำมาเผยแพร่ต่อ 


สำหรับผมเองก็ได้ทดลองชักชวนเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านให้ไปสอบ อยากให้เขาได้อ่าน ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่ผลตอบรับมาคือ โดนปฏิเสธ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษไม่ถนัด ไม่มีที่อยู่ในอเมริกา ไม่มีความรู้เพิ่งเข้ามาในวงการ ... และร้ายกว่านั้นคือไม่มีเวลา (ที่จะเรียนรู้) 

เนื้อหาของข้อสอบเป็นเรื่องวิชาการ สำหรับท่านที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก็มีคู่มือให้อ่าน แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า แค่ ARRL Handbook เล่มเดียวก็พอแล้ว (ที่พูดถึง ARRL Handbook ก็เพราะว่า มันหาโหลดได้ง่ายในโลกออนไลน์ แต่ใครไม่ถนัดอ่านในคอมพิวเตอร์ก็สามารถสั่งเป็นเล่มมาอ่านได้)

ARRL 2010 Handbook


วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

A Simple Transformer to Measure Your Antenna Current

วงจรหม้อแปลงแบบง่าย ๆ สำหรับวัดกระแสในระบบสายอากาศของคุณ

SWR doesn’t give you the whole story you need an RF current meter.
บทความโดย Paul Danzer, N1II (จากหนังสือ QST ฉบับ September 2009)

In a recent QST article, Eric Nichols, KL7AJ, presented a good idea monitoring the RF current into your antenna system to insure optimum tuning. Actually, it was the second time it was mentioned to me — George Peters, K1EHW, suggested the same thing to me several months before. At the end of Eric’s article, he proposed using a current transformer to do the monitoring.

Making a Current Transformer

This could be as simple as a turn of wire through a ferrite core and several turns of
wire around the core to form a transformer. The output of the transformer would be proportional to the current through the wire.

Making it Happen

This seemed simple enough, and the result of one hour’s work is shown in Figure 1. The core used was a T37-6. T37 designates the size (0.37 inches OD), picked so the insulated center conductor of RG-58 (or RG-59) would fit comfortably through the core center. The 6 designation relates to the frequency application of the ferrite mix, in this case 2 to 50 MHz.

Searching the ARRL suppliers’ data base, it appears that Alstar Magnetics offers this core; an alternate would be a Palomar F37 with mix 61. There is no criticality here — if you want to try it, strip a core from any old source — perhaps from a junked PC power supply or computer cable. It may not be the most efficient RF transformer ever built, but if it works it will do the job.

Wrap 20 turns of 24 gauge enameled wire as the transformer secondary. The secondary is connected to half wave rectifier consisting of a silicon diode (1N914), a 10 kΩ resistor as the load and a 0.1 μF capacitor as a filter (see Figure 2). A high-impedance voltmeter (the $10 variety) is connected to the two pin jacks to serve as an indicator.

The unit shown was tested with a 100 W transmitter on all bands from 80 through 10 meters. Performance across each band was relatively uniform, considering the probable variation of SWR and power though the feed line as the frequency was varied.

Hook up the rest of the circuit as shown in Figure 2 and connect a meter to the terminals.



Figure 1 — View of the transformer and simple circuitry that make up the relative RF current meter.

รูปที่ 1 โครงสร้างประกอบด้วยหม้อแปลงและวงจรแบบง่าย ๆ ลักษณะเดียวกับวงจรวัดกระแส RF

What we Have

The object here was not to get an exact measure of the antenna current. What I wanted
was a relative measure, so I could see if anything was going wrong, or use it as a way to
adjust my antenna tuner for the maximum signal to the antenna. Commercial stations use a current meter, mounted at the connection of the feed line to the antenna, to monitor output. Since they know the antenna impedance and their meters are calibrated, they can determine precise power into the antenna.

If you enjoy low power (QRP, typically 5 W or less) or very low power (QRPP, less than 1 W) operation, more turns may be needed and can easily be added. Similarly, if your meter does not have enough sensitivity, more turns may be called for. If after assembly the core is not firmly in place, held by the friction of the secondary on the primary wire, a drop of glue can be used to secure it all together.

Putting it to Use

The current meter consumes a miniscule fraction of the output power, so, can be left in the line, or removed when not in use. You may even find a meter case and a surplus meter at a hamfest that will work with it to give continuous indication without tying up your bench meter. I suggest writing the relative current indication for each band in your log. Later, if something seems amiss, it is then an easy job to compare your readings to the recorded ones to find out if the problem is in your antenna system.



Figure 2 — Schematic diagram of the relative RF current meter. Nothing about the circuit is critical. See text for parts information.

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

CQ WPX 2010 CW ของ HS8JYX


การแข่งขันCQ World-Wide WPX Contest (CW) 2010 ครั้งนี้ ผมเลือกแข่งขันแบบ Single Operator Low ย่านความถี่ 14 MHz ใช้สายอากาศไดโพลที่ทำไว้นานแล้ว 2 ต้น สลับไปมา



ความถี่หนาแน่นมาก แม้จะรับด้วยไดโพล ความสูงแค่ 6 เมตรก็ตาม (ช่วงที่อากาศปิด ก็เงียบเหงาเหมือนกัน ต้องไปนั่งฟัง Band อื่นแก้ขัด ไม่ก็นอนเอาแรง)


สำหรับวันเสาร์ ตั้งแต่เข้าถึงเย็น สภาพอากาศดีมาก ติดต่อได้ไกล ทางฝั่งอเมริกา หลายสถานี พอมาวันอาทิตย์ ติดต่อได้น้อยกว่า

อุปกรณ์ในการแข่งขัน ไม่มีอะไรมาก อุปกรณ์วิทยุและสายอากาศ สุดท้ายที่สำคัญคือหูและการฝึกฝน เพราะการแข่งขันใช้รหัสมอร์ส ซึ่งรับด้วยหู รหัสมอร์สก็เหมือนเพลงยุทธ เราต้องฝึกเพลงยุทธให้เต็มที่ก่อนจะท่องยุทธจักร ในการแข่งขันแต่ละครั้งคงได้เทคนิคอะไรกลับมา เพื่อมาปรับปรุง ฝึกฝน แก้ไขในส่วนที่บกพร่อง

ตัวอย่าง eQSL ที่ได้รับมา

JE1GNG

YB4IR

JA1DUP

AH7C

RT4F

ES9C

JR3RWB

N6QQ

NG6S

LotW บางส่วนในงานนี้

Link :: http://www.hs8jyx.com

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทำไมต้อง CQ CQ CQ

**นี่เป็นบทความจากนิตยสารนะครับ (จำที่มาไม่ได้) ไม่ใช่บทความของผม **






การเรียก CQ (-.-. --.-) ในสัญญาณโทรเลขเกิดขึ้นในวงการโทรเลขของประเทศอังกฤษ โดยมีความหมายว่า "ทุกสถานี โปรดเตรียมรับข้อความ" ความหมายใกล้เคียงกับ QNC และ QST และบริษัทมาโคนี่ ( Marconi Company) เป็นผู้นำมาใช้ในการเรียกเรือทุกลำ ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ใช้ KA

จนกระทั่งเกิดข้อตกลงลอนดอน ปี 1912 ซึ่งยอมรับสัญญาณ CQ ในความหมายว่า "โปรดทราบ"

จากหน้า 4 ของหนังสือ "คู่มือกู้ภัยทางทะเล ของ Baarslag" (Baarslag's Famous Sea Rescues) บอกไว้ว่า ในปี 1904 เรื่อเดินระหว่างทะเลแอตแลนติกจำนวนมากได้ติดตั้งวิทยุโทรเลข และพนักงานวิทยุส่วนมากมาจากพนักงานโทรเลขที่เคยทำงานตามบริษัทรถไฟหรือไปรษณีย์ (
railroad or post-office) ซึ่งได้ทิ้งงานเดิมมาหาประสบการณ์ที่ใหม่เอี่ยมนี้ สิ่งที่พวกเขาได้นำติดตัวไปคือภาษา คำย่อ และโค้ดรหัสต่าง ๆ (telegraphic abbreviations and signals) หนึ่งในจำนวนนั้นคือ CQ ซึ่งใช้สำหรับเรียกโดยไม่เจาะจงสถานี ซึ่งใช้เรียกเพื่อให้ทุึกสถานีสนใจฟังข่าวสำคัญ ซึ่งจะประกาศทุกวันเวลา 10 นาฬิกา หรือเมื่อมีข้อมูลสำคัญเร่งด่วนอื่น ๆ ที่เรือทุกลำควรทราบ รวมทั้งขอความช่วยเหลือ

ในหนังสือคู่มือโทรเลขของบริษัทมาโคนี่ (
Marconi Company) ในสมัยนั้นกำหนดว่า CQ ใช้สำหรับเรียกขอความช่วยเหลือ มีความหมายว่า "รีบมาด่วน" (ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น CQD แล้วปล่อยให้ CQ เป็นรหัสสำหรับเรียกทั่วไปตามเดิม)

ในปัจจุบัน CQ ก็ยังหมายความว่า "ทุกสถานีโปรดทราบ" แต่สำหรับวงการวิทยุสมัครเล่น อาจจะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น อย่างที่ โธมัส แรดเดล เขียนไว้ว่า มันเหมือนกับการที่เราตะโกนเรียกเพื่อนว่า "เฮ้ย !! ... พรรคพวก มีใครอยู่มั่ง มาคุยกันหน่อย เอามะ"

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คะแนนอย่างคร่าว ๆ ในการแข่งขัน CQ WPX SSB ก่อนการตรวจสอบ

คะแนนอย่างคร่าว ๆ ในการแข่งขัน CQ WPX 2010 SSB ก่อนการตรวจสอบ

http://www.cqwpx.com/claimed.htm?mode=ph

สำหรับผมแล้วลงแข่งแบบ SSB / Single-Op Low 10 Meters / World มาดูคะแนนส่วนนี้กันเลย



หรือจะดูทั้งหมดในประเภทนี้ก็ได้ครับ คลิกรูปได้เลย




ลองมาดูเพื่อน ๆ สมาชิกทีมจากประเทศไทยท่านอื่นกันดูครับ
อันดับที่ 150 HS0ZCX..........487,482 คะแนน ในประเภท SSB / Single-Op Low All Bands / World



อันดับที่ 103 HS0ZCW........1,738,044 คะแนน ในประเภท SSB / Single-Op High All Bands / World



อันดับที่ 67 E20YLM/4.........94,240 คะแนน ในประเภท SSB / Single-Op Low 15 Meters / World



อันดับที่ 25 E21YDP..........709,920 คะแนนในประเภท SSB / Assisted Low All Bands / World

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ผลการแข่งขัน All Asian DX Contest 2009 Phone


ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.jarl.or.jp
ผลเฉพาะทีมจากประเทศไทย



* THAILAND AL E21YDP 869 1723 111 191253

* THAILAND AH HS0/KD6MSD 32 44 16 704

* THAILAND 20L HS8JYX 59 109 21 2289

* THAILAND 10L E20WXA 15 34 6 204

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

eQSL จากการแข่งขัน CQ World-Wide WPX Contest 2010

CQ World-Wide WPX Contest 2010

กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 27-28 มีนาคม 2553 รวมระยะเวลา 48 ชั่วโมง ผมเลือกความถี่ 28 MHz อย่างเดียวในการแข่งขันครั้งนี้ สายอากาศที่ใช้ในการแข่งขันก็เป็น 10 meter Loop ตัวเดิม เพิ่มความสูงจากเดิมประมาณ 2-3 เมตร




บรรยากาศในสถานีแบบชั่วคราว



ใช้โปรแกรม N1MM Logger ในการแข่งขัน
โดยปกติความถี่ 28 MHz จะติดต่อได้ดีในช่วงบ่าย ๆ ในวันแรกของการแข่งขัน ผมได้ยินเสียงตั้งแต่เช้า แต่สัญญาณยังไม่แรงมาก เลยทำงานประจำไปก่อน กะว่าจะเล่นตอนบ่าย ๆ แต่ไม่ค่อยเป็นไปตามความคาดหมายเท่าไร ตอนบ่ายสัญญาณก็ยังไม่แรงมาก หรือแรงแค่ช่วงสั้น ๆ สรุปว่าบ่ายวันแรกติดต่อได้ 14 สถานี กลางคืน ผมกลับมาอีกครั้ง ไม่ได้คิดจะมา CQ หรอกครับ แต่อยู่ ๆ ก็ได้ยินเสียง CQ จากสถานี ZY7C จากประเทศ Brazil มาแรงมาก ผมไม่รอช้า รีบติดต่อไปเลย ได้ผลครับ แต่ไม่เกิน 5-10 นาที สัญญาณก็เริ่มจางหายไป แล้วไม่ได้ยินในที่สุด การเล่นย่าน HF นี่ถ้าโอกาสมาถึง อย่ารอช้านะครับ มันไม่ได้มาบ่อย ๆ (วันเสาร์ค่า Solar Flux = 86)

วันอาทิตย์ ผมตั้งใจว่าจะเริ่ม CQ แต่เช้าเลย แต่รู้สึกว่าจะรับได้เฉพาะประเทศไกล้ ๆ พอตอนบ่าย ๆ -เย็นดีหน่อยครับ ติดต่อสถานี ZS2DL จาก South Africa ได้

eQSL จากการแข่งขัน CQ World-Wide WPX Contest 2010
ย่าน 10 มิเตอร์ (28 MHz)



จาก JS1KQQ ญี่ปุ่น



จาก VK4KW ออสเตรเลีย



จาก YC2WBF อินโดนีเซีย

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

DXing - Contacting Those Faraway Places

DX ย่อมาจาก Distance Station หรือ Signal from a distance station การ DX เป็นแก่นของวงการวิทยุเลยก็ว่าได้ ความตื่นเต้นในการติดต่อกับสถานีทางไกลได้สำเร็จ เป็นความภาคภูมิใจของนักวิทยุตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงปัจจุบัน ความต้องการในการติดต่อให้ไกลขึ้น ๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้น สำหรับย่าน HF การ DX เป็นการติดต่อต่างประเทศให้ได้มากมาก ส่วนย่าน VHF + การ DX จะเป็นการติดต่อให้ได้จำนวน Gird Square มาก ๆ และไกล ๆ การ DX อาจจะมีความหมายว่า ทำสิ่งที่เกินกว่าวิทยุจะทำได้ ก็ได้




นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มต้นมาจากการ DX โดยทั่วไปจะมาจากการติดต่อแบบ Local Contact กับเพื่อน กับสมาคมไกล้ ๆ เท่าที่ขอบเขตของคลื่นวิทยุจะไปได้ โดยไม่ต้องใช้เทคนิคพิเศษอะไร เมื่อเล่นไปสักพัก จะเริ่มหาสิ่งที่แปลกใหม่ โดยเฉพาะท่านที่ได้ไปเห็นสถานี และกิจกรรมของ DXer's ที่เก่ง ๆ หรือท่านไม่ต้องไปหาที่ใหนในเว็บไซต์อย่าง Youtube.com ก็มีวีดีโอ กิจกรรมพวกนี้มากมาย 

และอีกหลายสถานีในเมืองไทย หลังจาก การติดต่อแบบ Local Contactไปสักพัก เริ่มเบื่อเพราะไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น ไม่มีเรื่องคุย ก็เลิกราจากวงการนี้ไปอย่างน่าเสียดาย




รางวัล VUCC หรือ VHF/UHF Century Club Award มีไว้สำหรับนักวิทยุที่ติดต่อได้ครบอย่างน้อย 100 Grid Locators ขึ้นไป (ทั่วโลกมี 32,400 Grid Locators) เสียดายที่เมืองไทย ไม่ค่อยมีการกระตุ้นเรื่องพวกนี้ ถ้ามีนักวิทยุที่จะล่ารางวัลซัก 10-15 % ของนักวิทยุทั่วประเทศ แนวคิดในวงการวิทยุสมัครเล่นบ้านเราโดยรวมคงเปลี่ยนไปเหมือนกับสากลแน่นอน

Cabrillo :: A Contest Log Standard

ในปัจุบันไฟล์ที่ผู้จัดการแข่งขันส่วนใหญ่ต้องการคือไฟล์แบบ Cabrillo (อ่านว่า Ca-BREE-oh) มาจากชื่อของ Carbrillo College ใกล้ ๆ กับบ้านของ Trey Garlough , N5KO ผู้พัฒนารูปแบบไฟล์นี้ขึ้นมา




Contest ของ ARRL และอื่น ๆ ต้องการอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์แบบ Cabrillo ไฟล์นี้สร้างได้จากโปรแกรมสำหรับ Contest (Contest logging) ส่วนใหญ่อยู่แล้ว
ไฟล์แบบ Cabrillo จะประกอบด้วย ตัวอักขระแบบ ASCII มีข้อมูลส่วนหัว (Header line) ประกอบด้วยข้อมูลอธิบาย log เช่น ชื่อของ Operator, Callsign, ที่อยู่, ประเภทของการแข่งขัน, กำลังส่ง และอื่น ๆ

เมื่อสร้างไฟล์ และทำการตรวจสอบถูกต้องแล้ว ก็ส่งอีเมล์แนบไฟล์ (Attach) ไปให้กรรมการผู้จัดการแข่งขัน โดยหัวข้อ Subject เป็นชื่อ Callsign ที่เราใช้ในการแข่งขัน

จากนั้นระบบของเขาจะประมวลผล อาจจะใช้คนหรือ Software เรียกว่า "Robot" โปรแกรมจะสแกน log ไฟล์ที่ส่งไปเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาดของ log ก่อนที่จะตอบอีเมล์แจ้งกลับมาให้เราทราบ



ตัวอย่าง
Cabrillo Log Format

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

The Contest Exchange



ระหว่างการแข่ง ขันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ Contest Exchange เป็นสิ่งที่ สำคัญใช้ในการแลกเปลี่ยนกันระหว่างการแข่งขัน เช่น


  • ITU หรือ CQ zone
  •  Serial number หรือ ลำดับหมายเลขการแข่งขันโดยเริ่มจาก 001
  •  Name ชื่อ อาจจะเป็น ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อที่ตั้งมาเฉพาะก็ได้
  •  Member number รายการแบบนี้ออกจะเป็นรายการ เฉพาะกลุ่ม เน้นที่สมาชิกเป็นหลัก หรืออาจจะติดต่อสมาชิกได้คะแนนมากกว่าติดต่อคนทั่วไป
  •  กำลังส่ง โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นเลข 3 หลัก และ ไม่จำเป็นต้องใส่ W แทน วัตต์ เป็นอันเข้าใจตรงกัน
  •  ที่อยู่ หรือชื่อย่อของที่อยู่

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

ไกล้เข้ามาแล้ว CQ World-Wide WPX Contest 2010 SSB

ไกล้เข้ามาแล้ว CQ World-Wide WPX Contest 2010 SSB



27-28 มีนาคม 2553 นี้ พบกับการแข่งขันรายการใหญ่อีกรายการหนึ่ง คือ CQ World-Wide WPX Contest 2010 โหมด  SSB ระยะเวลาในการแข่งขัน 48 ชั่วโมง ความถี่ที่ใช้ 1.8, 3.5, 7, 14, 21, and 28 MHzกำลังส่งมี 3 ระดับ แล้วแต่ประเภทมี่ลงแข่งคือ ไม่เกิน 5 วัตต์ สำหรับ QRP ไม่เกิน 100 วัตต์ สำหรับ Low Power ไม่เกิน 1,500 วัตต์ สำหรับ High Power

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.cqwpx.com

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

XX9LT on 10 meter

XX9LT บนย่าน 10 meter หรือ 28 MHz ย่านความถี่นี้อากาศจะเปิดตอนบ่าย ๆ แต่ถ้าค่า Solar Flux สูง ๆ อาจจะเปิดตั้งแต่ช่วงเช้า จนถึงค่ำ ๆ เลยทีเดียว เมื่ออากาศเปิดก็ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังส่งมาก 5 วัตต์ก็ไปไกลแล้วครับ


วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

QSL CARD 100%

QSL CARD 100%



เบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องลึก ของ QSL CARD

การติดต่อ QSO ระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นนั้น เมื่อติดต่อพูดจากันเสร็จ ถึงแม้ไม่เห็นหน้าตากันก็สามารถเป็นมิตรกันทางอากาศได้

Download เอกสารได้ที่นี่ http://docs.google.com

หัวข้อที่น่าอ่าน
  • QSL CARD คือ ?
  • เอา QSL CARD ไปทำไม ?
  • QSL CARD มีข้อความอะไร ?
  • ขนาดของ QSL CARD สำคัญหรือไม่ ?
  • เขาส่ง QSL CARD กันอย่างไร ?

Radio Repeater เพื่อการศึกษา

Radio Repeater เพื่อการศึกษา





รีพิตเตอร์หรือวงจรทวนสัญญาณ ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องวิทยุรับส่ง ได้ระยะทางไกลมากขึ้น เป็นอย่างไร คุณผู้อ่านลองติดตามโครงงานนี้ได้เลย


Download เอกสารได้ที่ http://docs.google.com

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการสำรวจความคิดเห็นนักวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่

โครงการสำรวจความคิดเห็นนักวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่จังหวัดกระบี่และไกล้เคียง ทั้งนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ โดยจะนำเสนอข้อมูลตามความรู้สึกของเพื่อนสมาชิก ไม่มีการดัดแปลงหรือแก้ใขให้ดูดี หัวข้อในการสอบถามเพื่อนสมาชิกจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามสภาพการสนธนา และระยะเวลาที่เพื่อนสมาชิกมีให้ครับ ...

วันที่ 21-02-2553 เวลา 16.22 (TST) E22DSI อ.เมือง จ.กระบี่

E22DSI ได้กล่าวว่า ลักษณะการพูดคุย แนวคิด หลักการปฏิบัติ หลาย ๆ อย่างเป็นแนวทางที่สืบทอดมาจากนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นพี่ ๆ และปัจจุบันนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นพี่ หายไปเป็นจำนวนมาก มีนักวิทยุรุ่นใหม่เข้ามาเร็วเกินไป ยากต่อการควบคุม หลายท่าน เข้ามาโดยมีจุดประสงค์ในการใช้วิทยุสมัครเล่น แทนโทรศัพท์ หรือใช้ติดต่อธุรกิจ มีการใช้ความถี่ผิด Band Plan กันมากพอสมควร มีหลายท่านที่คิดว่าถ้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่เก่งกาจ ต้องเก่ง Q – Code ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ สำหรับตัวท่าน E22DSI นั้นรับข่าวสารจากทาง หนังสือ 100 วัตต์ และ ค้นหาข้อมูลทาง Internet เมื่อมีเวลาว่างจากหน้าที่การงานครับ และในอนาคตอันใกล้นี้ถ้ามีการเปิดสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง E22DSI ตั้งใจว่าจะไปสอบด้วย ไม่สนใจว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่สนใจในตัวความรู้ที่จะได้รับระหว่างการเตรียมตัวสอบ สุดท้าย E22DSI ได้ให้คะแนนรวมต่อวงการวิทยุสมัครเล่นทางภาคใต้ไว้ 49.9 %

วันที่ 03-03-2553 เวลา 22.00 (TST) E29PGZ อ.เคียนซา สุราษฎร์ธานี

E29PGZ หรือ นาย วีระ เกิดเกลี้ยง นักวิทยุรุ่นใหม่ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่าได้รู้จักวงการวิทยุสมัครเล่นมาจากรุ่นพี่ ๆ ในหน่วยกู้ภัย และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้เจอเพื่อนสมาชิกประสบอุบัติเหตุ แต่ไม่มีกู้ภัยมาช่วย จุดนี้เองทำให้มีความสนใจ เข้ามาเป็นอาสาสมัครและสอบเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ทาง E29PGZ ก็ยอมรับว่าลักษณะการพูดคุย วัฒนธรรมต่าง ๆ ได้รับผมจากรุ่นพี่มากพอสมควร รุ่นพี่เขาคุยกันยังไง รุ่นน้องก็คุยตาม ไม่อยากจะทำตัวให้แหวกแนว (น้องใหม่) เมื่อมีการสอบถามเรื่องการไปสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ทาง E29PGZ ก็บอกว่าสนใจ ที่พอถามว่า ท่านรู้หรือเปล่าว่าไปสอบขั้นกลางแล้วท่านจะได้อะไรเพิ่มขึ้น? เขาก็ยอมรับว่า ไม่รู้ว่ามันดีกว่าขั้นต้นยังไง สอบถามจากสมาชิกรุ่นพี่ในบริเวณไกล้เคียง ต่างก็ให้คำตอบที่ไม่ชัดเจน บางท่านบอกว่า สอบไปก็เคาะรหัสมอร์สอย่างเดียว บางท่านก็ว่า ต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นถึงจะสอบได้ E29PGZ เลยไม่มีความมั่นใจ และไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการเข้าถึงข้อมูลในวง การวิทยุสมัครเล่น E29PGZ กล่าวว่า ได้จากการอ่านจากนิตยสาร 100 วัตต์ ส่วนการใช้ Internet นั้นจะเข้าไปใช้บริการที่ร้าน หลาย ๆ วันถึงจะไปใช้สักครั้ง E29PGZ ถึงแม้จะเข้ามาในวงการได้ไม่นาน จากการสอบถาม ตอนนี้เริ่มท่องจำรหัสมอร์สได้บ้างแล้วโดยอ่านจากนิตยสาร 100 วัตต์ ...เนื่องจากเวลาค่อนข้างจะดึกแล้ว ผมเลยยุติการสอบถามเพื่อนสมาชิกครับ ...

** สำหรับผม HS8JYX มองว่า ถ้าสมาชิกได้รับรู้ข้อมูลอย่างทั่วถึง ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการ Contest รายการต่าง ๆ และการไปสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง จะมีนักวิทยุจำนวนมากสนใจ นักวิทยุสมัครเล่นรุ่นพี่ควรจะบอกเล่าถึงวัตถุประสงค์ของวงการวิทยุสมัครเล่นให้รุ่นน้อง ๆ ทราบ อย่างถูกต้องและชัดเจน ไม่ใช่ นำแบบอย่างที่ไม่ถูกต้อง ไปบอกกล่าว จนเกิดความผิดพลาดต่อ ๆ ไปไม่รู้จบ **


บทความโดย HS8JNF

18-3-53 เวลา 22:50 (TST) ที่ช่องความถี่ 144.2125 MHz.
ผม (HS8JNF)ได้พบปะพูดคุยกับ E29IJX สมาชิกนักวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เล่าให้ฟังว่าก่อนเข้าสู่กิจการวิทยุสมัครเล่น มีความเข้าใจว่าการใช้วิทยุสื่อสารนั้น สามารถใช้ได้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ เช่น ตำรวจ หรือทหารเท่านั้น โดยบุคคลทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ เมื่อสอบถามถึงการเข้ามาสู่กิจการวิทยุสมัครเล่น ทาง E29IJX ก็เล่าต่อไปว่าได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสารจากสมาชิกใน พื้นที่ ว่ามีระบบวิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน ที่บุคคลโดยทั่วไปสามารถจัดหามาใช้ได้ ในตอนแรก E29IJX ก็มีความเข้าใจว่าวิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน นั้นรวมถึง การใช้วิทยุสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่นด้วย ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวิทยุสื่อสาร E29IJX ก็พบว่าในความเป็นจริงแล้ว วิทยุสื่อสารสำหรับประชาชน (Citizen Band) นั้น บุคคลโดยทั่วไปสามารถจัดหาเครื่องวิทยุสื่อสารมาใช้ได้เลย ซึ่งต่างจากการใช้วิทยุสื่อสารในกิจการวิทยุสมัครเล่น สำหรับการเข้าสู่กิจการวิทยุสมัครเล่นนั้น E29IJX เล่าต่อไปว่าได้รับคำแนะนำจาก HS8JRT จนนำไปสู่การเข้ารับการอบรมและสอบ และเข้าสู่กิจการวิทยุสมัครอย่างเต็มตัว เมื่อสอบถามถึงทิศทางและอนาคตในกิจการวิทยุสมัครเล่น E29IJX มองว่า ณ ปัจจุบันนี้ นักวิทยุสมัครเล่นทุกคนต่างก็มีสปีริตพอ น่าจะมีแนวโน้มไปในแนวทางที่ดี เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกหลังจากเข้าสู่กิจการวิทยุสมัครเล่นแล้ว E29IJX ก็บอกว่ามีความแตกต่างกันมากเมื่อก่อนมีความคิดอีกอย่างหนึ่ง แต่เมื่อเข้าสู่กิจการวิทยุสมัครเล่นแล้วได้มีการพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ กับเพื่อนสมาชิก แล้วทำให้มีความคิดไปอีกแบบหนึ่ง E29IJX มองว่าการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นมีเกียรติ และศักดิ์ศรี สำหรับการติดตามรับข้อมูลข่าวสารในกิจการวิทยุสมัครเล่น E29IJX ได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ จากการใช้ความถี่ หรือรับฟังข่าวสารจากเพื่อนสมาชิกในช่องความถี่ ต่าง ๆ และทางสื่ออินเตอร์เน็ต
จากการที่ผู้เขียนก็ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ E29IJX กันเป็นเวลาพอสมควร ก็ทำให้มองได้ถึงการให้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ ต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการวิทยุสื่อสารในสภาพปัจจุบันเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับผู้ที่ สนใจในกิจการวิทยุสมัครเล่น / HS8JNF (www.hs8jnf.ob.tc)