แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Tetrode แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Tetrode แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลอดเททโทรด (Tetrode)



เป็นหลอดที่ปรับปรุงมาจากหลอดไตรโอด มี 4 ขา คือ แคโทด คอนโทรลกริด (Control Grid) สกรีนกริด (Screen Grid)และ เพลต (Plate) การเพิ่มสกรีนกริด เข้าไประหว่างกริดกับเพลตทำให้ภายในหลอดเททโทรดมีสภาพเป็นคาปาซิเตอร์ 2 ตัวต่ออนุกรมกัน



กล่าวคือ เกิดคาปาซิเตอร์ระหว่างคอนโทรกริดกับสกรีนกริด 1 ตัวและคาปาซิเตอร์ระหว่างสกรีนกริดกับเพลตอีก 1 ตัว เมื่อคาปาซิเตอร์ทั้งสองตัวต่ออนุกรมกัน จะทำให้สภาพความจุของหลอดลดลงอย่างมาก เช่นหลอดไตรโอดมีสภาพความจุด 8 uF แต่หลอดเททโทรดมีค่าความจุเพียง 0.01uF เท่านั้นเอง จึงเป็นการแก้ข้อบกพร่องของหลอดไตรโอดได้ ทำให้อัตราการขยายของหลอดเททโทรดดีกว่าหลอดไตรโอด และลดเสียงรบกวนภายในหลอดลง ทำให้ หลอดเททโทรด สามารถทำหน้าที่ขยายความถี่สูงได้

การใส่ลวดตาข่ายเข้าไปอีกชั้นหนึ่งนี้เรียกว่า สกรีนกริด (Screen Grid) นี้ ควรคำนึงว่าจะใส่ศักดาไฟฟ้าให้แก่สกรีนกริดนี้อย่างไร จะให้ไฟบวกหรือลบดี ถ้าใส่ไฟลบจะเกิดการต้านทานอิเล็กตรอนที่พุ่งไปยังเพลต และคอนโทรลกริด ทำให้อิเล็กตรอนไหลไม่สะดวก แต่ถ้าให้ไฟบวกแก่สกรีนกริด (แต่ต้องมีแรงดัีนน้อยกว่าเพลต) ก็จะช่วยดึงอิเล็กตรอนให้ไหลไปยังเพลตได้ดีขึ้น

ในกรณีที่เราให้สกรีนกริดเป็นบวก เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งไปชนเพลตแล้ว เกิดการสะท้อนออกมา ก็จะมีผลให้กระแสเพลตลงลง เนื่องจากสกรีนกริดดึงอิเล็กตรอนจำนวนนั้นไป เพราะว่ามีศักย์เป็นบวก ซึ่งเราแก้ปัญหานี้โดยใส่กริดเข้าไปอีกขั้นหนึ่งระหว่างสกรีนกริด และเพลตจึงได้เป็นหลอดเพนโทด (Pentode) นั่นเอง