วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การทดลอง การแพร่กระจายคลื่น ย่าน VHF ในจังหวัดกระบี่ (VHF Propagation studies in Krabi)

การทดลองการแพร่กระจายคลื่นในย่าน VHF 
ความถี่ย่าน VHF สามารถแพร่คลื่นได้ไกล้หรือไกล ขึ้นอยู่กับปัจจัย สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย แต่ยังไม่ค่อยมีการทดลองจริงจังในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เพื่อใขข้อข้องใจ เราเลยจัดทีมงานขึ้นมาเพื่อทดลองเรื่องนี้กัน
ข้อมูลพื้นฐานของการทดลอง



  • สถานีส่งสัญญาณ บีคอน HS8FLU/B (NJ98ma) ส่งสัญญาณ MCW ออกมาตลอด 24 ชั่วโมงที่ความถี่ 144.050 MHz
  • กำลังส่ง 1 วัตต์ สายอากาศรอบตัว
  • สถานีรับ HS8JYX (NJ98kc) ระยะห่างจากสถานีส่ง 15 กิโลเมตร ใช้สายอากาศแบบ Loop ในการรับ พยายามให้รับสัญญาณได้ ประมาณ 30-40 ของความแรงสูงสุด เพื่อให้เห็นผลที่แตกต่างอย่างชัดเจน
  • ภาครับใช้ วิทยุรับส่ง ICOM IC2100 นำแรงดันที่ได้จาก (***) มาเป็นตัวเปรียบเทียบความแรงที่รับได้
  • สัญญาณที่รับได้ในขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจะทำการวัด 3 ครั้งแล้วนำน่าที่ดีที่สุดมาใช้

ภาพวงจรภายในของวิทยุรับส่ง ICOM IC -2100 เราจะทดสอบโดยใช้แรงดันจาก IC TA31136FN







การทดลองที่ 1 ช่วงเวลาของวัน มีผลต่อความแรงสัญญาณหรือไม่ และถ้ามีจะมากน้อยแค่ใหน ?


การทดลองนี้ จะไม่สนใจข้อมูล อย่างอื่น เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความสูงของเมฆ เป็นต้น โดยจะสนใจเฉพาะช่วงเวลาเท่านั้น




ผลค่าเฉลี่ย ความแรงของสัญญาณที่รับได้ ตามช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 26-29 พย.2554


การทดลองที่ 2 สัญญารบกวนจะมีความแรงเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาหรือไม่



ผลการทดลอง วันที่ 30 พย. 2554


การทดลองที่ 3 อุณหภูมิกับความแรงสัญญาณมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่




ผลการทดลอง วันที่ 30 พย. 2554

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

CQ WW SSB 2011 - HS8JYX



การแข่งขันครั้งนี้ผมเลือก แบบเดี่ยว 21 MHz ครับ เช้า ถึงเย็น ติดต่อได้ตลอด พอตกค่ำนิด ๆ สัญญาณเริ่มจางหาย ผมใช้สายอากาศไดโพล ความสูงก็ไม่มาก

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ไฟดับ ผมไม่สามารถเล่นได้ แต่เพิ่งนึกขึ้นได้ว่าพอจะมีพลังงานสำรองอยู่ เลยเอามาใช้เพื่อการรับฟัง ปรากฏว่ารับได้ดีมาก ๆ เมื่อไม่มีสัญญาณรบกวนจากไฟฟ้า



วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สายอากาศยากิ ทำด้วยวัสดุที่ต่างกันจะได้ gain ต่างกันหรือไม่

ถ้าเราทำสายอากาศยากิ ด้วยวัสดุที่ต่างกัน ในย่าน VHF ถึง UHF จะได้อัตราการขยายที่ต่างกันหรือไม่


ตารางจาก QST OCT 2011

จากตารางแสดงถึงวัสดุที่ต่างกัน เริ่มจากตัวนำที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีความต้านทานเลย ไปถึง Stainless พบว่า เงิน ทองแดง อลูมิเนียม ไม่ได้มี gain ต่างกับตัวนำที่สมบูรณ์แบบมากนัก ไม่ค่อยมีความจำเป็นที่จะเปลี่ยนวัสดุ เพื่อให้ได้อัตราการขยายเพิ่มขึ้น แต่ให้เปลี่ยนวัสดุเพื่อ ความแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อน มากกว่า