วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทดลองสร้างเครื่องส่งวิทยุความถี่ 14.0625 MHz จาก Clock Oscillator ไม่ต้องพันคอยล์

ทดลองสร้างเครื่องส่งวิทยุความถี่ 14.0625 MHz จาก Clock Oscillator  กำลังส่งต่ำ ประมาณ 300 mW -500 mW สร้างได้ง่ายมาก



รูประหว่างการทดลองยังไม่ได้ลงกล่อง ยังไม่ต่อวงจร Key กำลังส่งประมาณ 0.5 วัตต์ การต่อใช้งานจริง ควรตัดขาอุปกรณ์ให้สั้น กว่าในตัวอย่าง


ชุดอุปกรณ์สำหรับเพื่อนสมาชิกที่ร่วมทดลองอีก 4 คน


เครื่องตัวอย่าง พร้อมใช้งาน







สีของขดลวด 

1 uH = ดำ น้ำตาล ทอง เงิน
0.68 uH = น้ำเงิน เทา เงิน เงิน
4.7uH = เหลือง ม่วง ดำ เงิน 

คาปาซิเตอร์ 
0.1uF = 104
150pF = 151
390pF = 391
39pF = 39
180pF = 181   
 


วงจรอัปเดทเพิ่มกำลังส่ง http://hs8jyx.blogspot.com/2013/04/140625-mhz-clock-oscillator-1.html

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เครื่องส่งวิทยุ QRP 1.5W

บทความจาก 100 วัตต์ฉบบัที่ 18 เครื่องส่ง QRP กำลังส่ง 1.5 วัตต์
"ขณะนี้วงการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยมีผู้สอบผ่านเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางจากกรมไปรษณีย์โทรเลข จำนวนร้อยกว่าท่านแล้ว อาจจะมีบางท่านสนใจเครื่องส่งแบบ CW ขนาดเล็กในย่านความถี่ HF หรือที่เรียกกันว่า QRP ..."



วิทยุแร่ 1 ทรานซิสเตอร์

วิทยุแร่ 1 ทรานซิสเตอร์ ใช้ทรานซิสเตอร์เป็นภาคขยายเสียง


ถ้าต้องการขยายเสียงให้ดังมากยิ่งขึ้น


วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทดลองวงจรแปลงความถี่ 21 MHz เป็น CB 27 MHz


วงจร Converter สามารถนำไปดัดแปลงใช้กับความถี่อื่น ๆ ได้ตามต้องการ ในตัวอย่างใช้ Loc Osc ที่ 6 MHz ความถี่ที่ต้องการรับ 21 MHz ผลรวมของความถี่เท่ากับ 27 MHz



วงจรพื้นฐาน พยายามปรับความถี่ Osc ให้เข้าไกล้ หรือเท่ากับ 6 MHz มากที่สุด (ปรับที่ ทริมเมอร์ 2-25 pF) เพื่อเวลาแปลงความถี่ออกมาแล้ว ตัวเลขหน้าจอของเครื่องรับจะได้ตรงกัน เช่น ตอนนี้ รับฟังสัญญาณได้ที่ 27.040 MHz แสดงว่า กำลังฟังความถี่ 21.040 MHz อยู่

เพิ่มวงจรขยาย RF เข้าไป

  
ลงกล่องพร้อมด้วยหลอด LED แสดงผล
 

สำหรับคนที่หาแร่ Crystal ไม่ได้อยากจะลองใช้วงจรกำเนิดความถี่แบบ LC ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ว่าความถี่ไม่ค่อยนิ่ง อาจจะผิดเพี้ยนไปจากตอนเริ่มเปิดเครื่องมาถึง 1 KHz สำหรับวิทยุ Short wave คงไม่มีปัญหาอะไร แต่อาจจะไม่เหมาะกับการรับระบบ CW และ ดิจิตอลที่มี Bandwidth แคบ ๆ

 

ตัวอย่าง ใช้วงจรกำเนิดความถี่แบบ LC รับวิทยุ Shortwave ด้วยเครื่องรับ 27 MHz

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Pileup Runner (Pileup simulator for Windows)

โปรแกรม Pileup Runner สำหรับฝึกการออกอากาศแบบ Pileup เป็นโปรแกรมใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย สามารถ Download ได้ที่ http://www.dxatlas.com/PileupRunner/



การเล่นมี 2 รูปแบบคือการเล่นแบบ Practice หรือเพื่อการฝึกฝน และอีกแบบคือการเล่นแบบ Competition การเล่นแบบนี้จะจำกัดเวลาไว้ที่ 15 นาที

DX-pedition Callsign ให้ใส่ Callsign ที่เราต้องการจะออกอากาศ (สมมุติเอาก็ได้)

Operator's Callsign: ใส่ Callsign ของผู้เล่น

Difficult Continent: สามารถเลือกได้ว่าให้สมาชิกในทวีปหนติดต่อยาก (สัญญาณอ่อน) แตถ้าติดต่อสมาชิกทวีปนั้นได้จะได้ 3 คะแนน โดยจะมีให้เลือก 3 ทวีปคือ AS, EU และ NA ส่วน SA, AF และ OC จะเป็นทวีปที่ติดต่อยากโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเลือกก็ได้ 3 คะแนน 

ความเร็วในการเล่นสามรถปรับแต่งได้ในช่วง 20-45 คำต่อนาที


LOGGING

+ หมายถึง QSO ที่ถูกต้องได้ 1 คะแนน
* หมายถึง QSO ที่ถูกต้องได้ 3 คะแนน
- หมายถึง QSO ที่ผิดพลาดได้ 0 คะแนนโดย Callsign ที่ถูกต้องจะโชว์ในวงเล็บ 

การส่งคะแนนไปยังหน้าเว็บ http://www.dxatlas.com/PileupRunner/PrTable.asp
หลังจากเล่นแบบ Competition ครบ 15 นาที ผลคะแนนก็จะออกมา โดยเราสามารถไปดู Code ได้ที่ File > History แล้ว Copy มาทั้งบรรทัด ไปวางในหน้าเว็บได้เลย

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เครื่องส่ง 18 MHz QRP ใช้ทรานซิสเตอร์

ทดลองสร้างเครื่อง ส่ง CW ความถี่ 18 MHz กำลังส่ง 0.5-1 W (QRP) แบบใช้ทรานซิสเตอร์ 

(อุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบมาจากเศษอุปกรณ์ที่เคยใช้มาก่อนหน้าแล้ว โครงสร้างดูแล้วอาจจะไม่สวยงามนะครับ)




แสดงรูปวงจร กำเนิดความถี่ เลือกใช้ เจเฟตเบอร์ MPF102 เพื่อให้ผลิตความถี่ออกมาได้อย่างมีสเถียรภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเหมือนกับใช้ทรานซิสเตอร์

 ใส่วงจร TX Switch และ LED แสดงผลการทำงาน

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทดลองเครื่องส่ง QRP 18 MHz CW

วันนี้ได้มีโอกาสทดลองเครื่องส่ง QRP 18 MHz อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสามารถติดต่อสมาชิก ญี่ปุ่นได้หลายสถานี เช่น JR6HQ, JH3SIF ...

การทดลองโดยใช้เครื่องส่งตัวในรูปเป็นตัวส่งสัญญาณ CW และใช้เครื่องรับส่ง HF เป็นตัวรับสัญญาณ วงจรนี้สามารถปรับกำลังส่งได้ถึง 12 วัตต์ โดยที่วงจรไม่ร้อนมาก แต่ในการทดลองปรับลดกำลังส่งลงมาที่ 5 วัตต์ครับ
 

e-mail จาก JH3SIF ยืนยันการติดต่อเมื่อรู้ว่าเป็น Homebrew QRP


แสดงเฉพาะส่วนของวงจรกำเนิดความถี่แบบ pierce ผลิตความถี่ออกมาได้นิ่งดีมากเลยทีเดียว ตัวอย่างเครื่องของผมสามารถปรับความถี่ได้ในช่วง 18.068-18.083 MHz 

ต่อ ๆ มาผมก็ CQ ไปเรื่อย ๆ ติดต่อได้วันละ 2-3 QSO ครับ


Update 18- Nov-2013
ได้รับ QSL Card จาก JH3SIF เป็นการยืนยันการติดต่อแบบ QRP

 

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

WSJT-X เวอร์ชั่นทดลองของ WSJT


ในเวอร์ชั่นนี้มีแค่ระบบ JT9 สำหรับการติดต่อในย่าน MF และ LF
JT9 จะมีโหมดย่อยให้เลือก 5 โหมดย่อยด้วยกันตามระยะเวลาในการรับส่ง JT9-1, JT9-2, JT9-5, JT9-10, และ JT9-30 ใช้เวลา 1, 2, 5, 10, และ 30 นาที ตามลำดับ โดยที่โหมดที่รับส่งนานขึ้นจะใช้ Bandwidth น้อยลง และความไวในการรับจะสูงขึ้น JT9-30 จะใช้เวลาส่งนานที่สุด แต่จะใช้ bandwidth แค่ 0.4 Hz แต่สามารถทำงานได้ถึงมากกว่า -40 dB