วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ทดลองผสมคลื่นแบบ FM ที่ 27 MHz

ทดลองผสมคลื่นแบบ FM ที่ 27 MHz ในรูปอุปกรณ์ขายาว ๆเพราะว่าเป็นการทดลอง อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกรื้อออกไปใช้กับวงจรอื่นต่อไป





ตัวอย่างวงจรนี้สามารถส่งสัญญาณได้ชัดเจน ในระยะไกล้ ๆ แต่ถ้าต่อสายออกมาจากจุด RF Out สักฟุตสองฟุต จะส่งได้ชัดในบริเวญรอบ ๆ บ้านเลยทีเดียว

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

อัปเดท ... เครื่องส่งวิทยุความถี่ 14.0625 MHz จาก Clock Oscillator เพิ่มกำลังเป็น 1 วัตต์ ที่ 12 โวลต์

อัปเดท ... เครื่องส่งวิทยุความถี่ 14.0625 MHz จาก Clock Oscillator เพิ่มกำลังเป็น 1 วัตต์ บทความต่อเนื่องจาก http://hs8jyx.blogspot.com/2012/12/qrp-140625-mhz-ttl-osc.html



 ข้อมูลการอัปเดท

- สัญญาณจาก Clock Oscillator ไม่เหมาะที่จะต่อกับทรานซิสเตอร์ขยายกำลังโดยตรง ผมจึงเพิ่ม IC Buffer เข้าไป 1 ตัวเลือกใช้เบอร์ 74AC240 (หาง่าย ราคาถูกและที่สำคัญมีของอยู่แล้ว)  
 - เปลี่ยนวงจร Low pass Filter ใหม่ 
- เปลี่ยน IC Regulator จาก 78L05 เป็น 7805 (เพิ่ม IC 74AC240 เข้ามาตัว 75L05 จ่ายไฟไม่พอเลยต้องเปลี่ยนเป็นตัวขนาดใหญ่ขึ้น)
- เปลี่ยนทรานซิสเตอร์ขยายกำลังเป็น BD139 ซึ่งนิยมใช้งานในวงจรเครื่องขยายเสียง มีราคถูกและมีขายทั่วไป   (ใช้ได้ดีที่ความถี่ 14 MHz รวมไปถึงได้กำลังส่งสูงกว่า 2N5109 เล็กน้อย)




รูปวงจรแสดงวงจร Low Pass Filter ที่แก้ไข สำหรับตัวอย่าง ขดลวด 4.7 uH (สีเหลือง ม่วง ทอง) ใช้แบบสำเร็จรูป กำลังส่ง 1 วัตต์ยังไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน ของขดลวด (ผมทดลองพันบนแกน T37-2 แล้วได้ผลพอ ๆ กันเลยใช้แบบสำเร็จรูปเนื่องจากราคาถูกกว่า) ขดลวด 0.58 uH พันบนแกน T37-2 จำนวนว 12 รอบ

ถ้าไม่มีแกน Toroid สามารถใช้ขดลวดสำเร็จรูปได้ ค่าที่มีขายในท้องตลาดก็ค่า 0.47uH (สีเหลือง ม่วง เงิน) หรือ 0.56 uH (สีเขียว น้ำเงิน เงิน) ได้กำลังส่งออกมาไกล้เคียงกันมาก

 ถ้าใช้กับแรงดัน 13.8 โวลต์จะได้กำลังเป็น ประมาณ 1.5 วัตต์  

** ถ้าต้องการวงจรสำเร็จ กรุณารอครับ ..** 
**มีแผ่นวงจรอยู่ 2 ชุดนะครับ ท่านใดสนใจติดต่อมาได้** 


วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทดลองหม้อแปลงบาลัน 4:1 un-un


 

ในขั้นแรกทดลองต่อเครื่องส่งวิทยุกับโหลดที่มีค่า 200 โอห์ม ปรากฏว่า SWR สูงเกินที่จะยอมรับได้


การพันหม้อแปลง 1:4 Unbalance to unbalance


ต่อมาทดลองเพิ่ม บาลัน 4 :1 เข้าไป พบว่า SWR ต่ำมากจนน่าพอใจ ลองเปลี่ยนความถี่ดูในย่าน HF ก็ได้ผลไม่ต่างกัน

ทดลองบาลัน พันบนแกน 2 แบบ T50-2 และ T50-6 ผลไม่ค่อยต่างกันมากนัก

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

นำเครื่องส่ง 18 MHz CW มาปรับปรุง


ต้องการทำเครื่องส่งที่อยู่ด้านบนมาลงกล่องใหม่ด้านล่าง เพื่อความสวยงามและสะดวกในการใช้งาน ในการเปลี่ยนกล่องครั้งนี้ ผมจะปรับแต่งกำลังส่งให้อยู่ที่ 5 วัตต์ (ไฟ 12 โวลต์) หรือกำลังส่งเต็มที่ของ การเล่นแบบ QRP


นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาลงบนบอร์ดใหม่ ให้พอดีกับกล่อง รวมไปถึงแก้ขอุปกรณ์ในวงจร Low Pass Filter ใหม่


ใช้ MOSFET เบอร์ IRF510 เป็น PA


 ใช้ 74HC00 เป็น Oscillator ส่วน Crystal ใช้ 18.08 MHz


74HC00 เป็น Quad 2-input NAND gate (HC = HC - High speed CMOS)โดยมีขา 7 เป็นขากราวด์ ขา 14 เป็นไฟ + ใน datasheet บอกว่าใช้ได้กับแรงดันสูงสุดที่ 6 โวลต์บ้าง 7 โวลต์บ้าง แล้วแต่ยีห้อด้วย แต่อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ผมใช้แรงดันถึง 8โวลต์ ก็ไม่มีปัญหาอะไรกับ ไอซีตัวนี้ 

ทดลองวงจรกำเนิดความถี่ที่ใช้ในวงจรนี้


แรงดัน Output ของ IC  ใช้แรงดันไฟเลี้ยง 7 โวลต์ แร่ 15.000 MHz ได้ความแรงสัญญาณออกมาดังรูป
ทดลองต่อ Decoupling capacitor 0.1uF และไม่ต่อสัญญาณที่ออกมาดังรูป จะเห็นได้ว่า C ที่จุดนี้มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว


ต่อ Decoupling capacitor 0.1uF

 ไม่ต่อ Decoupling capacitor 0.1uF



ด้านหลังเป็น ขั้วต่อสายอากาศ ขั้วต่อไปยังเครื่องรับ และ ไฟเลี้ยงวงจร 


ด้านหน้าเป็น หลอดไฟ Power และหลอดไฟแสดงการส่งสัญญาณ ข้างล่างเป็นแจ็กต่อคีย์ ขวามือเป็นตัวจูนความถี่


ติตามเพิ่มเติมได้ที่ http://logic-chip-transmitter.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทดลองวัดค่า Input และ Output Impedance

 ** ในคู่มือของ Agilent บอกว่าการวัดด้วยวิธีนี้เหมาะกับความถี่ไม่เกินความถี่ 100 MHz  ขาอุปกรณควรสั้นที่สุด แต่ในตัวอย่างนี้เป็นการวัดแบบคร่าว ๆ เท่านั้น**

ทดลองวัดค่า Input และ Output Impedance โดยการวัดแรงดัน V1 และ V2
วงจรกำเนิดความถี่ที่ใช้ในการทดลอง http://hs8jyx.blogspot.com/2013/01/crystal.html 


  
การทดลองที่ 1 ต้องการหา Impedance  ของ C1 ที่ความถี่ 15.000 MHz  C1 เป็น C ที่เราไม่ทราบค่า



วัดแรงดัน V1 ได้ 0.31Vpp และ V2 ได้ 0.13 Vpp ใช้ R1 470 โอห 
แปลงแรงดันให้เป็น rms = 0.3535 x Vpp
V1 = 0.31Vpp = 0.11Vrms
V2 = 0.13Vpp = 0.046 Vrms

หากระแสที่หลผ่านวงจร 
Iin    = (V1-V2) /R
Iin = (0.11-0.046)/470
Iin = 136.17 uA

เมื่อได้กระแสที่ไหลผ่านวงจรเราก็สามารถหา Imperdance ได้
Z= V2/Iin   
Z= 0.046 / 136.17uA
Z= 337.8 โอห์ม

ในตัวอย่างนี้ใช้ C ค่า 30 pF มาทดลอง ค่าที่คำนวนได้เท่ากั??? pF

เราสามารถหาค่า C ได้จากสูตร

C = 1/(2PiXcF) 
C = 1/ (2 x 3.14 x 337.8 x 15MHz
C = 1/  0.0318
C = 31.41pF

 

การทดลองที่ 2 ต้องการหา Impedance  ของ L1 ที่ความถี่ 15.000 MHz  L1 เป็น L ที่เราไม่ทราบค่า

ตัวอย่างวัดแรงดัน V1 ได้เท่ากับ 0.3Vpp V2 เท่ากับ 0.09Vpp ใช้ R1 470 โอห 

V1 = 0.30Vpp = 0.106Vrms
V2 = 0.09Vpp = 0.032 Vrms

หากระแสที่หลผ่านวงจร 
Iin    = (V1-V2) /R
Iin = (0.30-0.032)/470
Iin = 157.44 uA

เมื่อได้กระแสที่ไหลผ่านวงจรเราก็สามารถหา Impedance ได้
Z= V2/Iin   
Z= 0.032 / 157.44 uA
Z= 203.25 โอห์ม

 ในตัวอย่างนี้ใช้ L ค่า 2.7uH มาทดลอง ค่าที่คำนวนได้เท่ากั??? uH

เราสามารถหาค่า L ได้จากสูตร

L= XL/2PiF
L = 203.25 / (2 x 3.14 x 15 MHz
L = 203.25 / 94247779.6
L= 2.15654 uH

การทดลองที่ 3 ต้องการหา Impedance  ระหว่างขา 1 และ 2 ของ IC NE602AN ที่ความถี่ 15.000 MHz  

 

V1 = 0.31 Vpp = 0.110 Vrms
V2 = 0.115 Vpp = 0.041 Vrms

หากระแสที่หลผ่านวงจร 
Iin    = (V1-V2) /R
Iin = 146.8 uA

เมื่อได้กระแสที่ไหลผ่านวงจรเราก็สามารถหา Impedance ได้
Z= V2/Iin   
Z= 0.041 / 146.8 uA
Z= 279.3 โอห์ม

การทดลองที่ 4 ต้องการหา Impedance  ระหว่างขา 1 และ 2 ของ IC NE602AN ที่ความถี่ 8.000 MHz  



V1 = 1.4 Vpp = 0.459 Vrms
V2 = 0.5 Vpp = 0.177 Vrms

หากระแสที่หลผ่านวงจร 
Iin    = (V1-V2) /R
Iin = 676.595 uA

เมื่อได้กระแสที่ไหลผ่านวงจรเราก็สามารถหา Impedance ได้
Z= V2/Iin   
Z= 0.177 / 676.595 uA
Z= 731.6 โอห์ม

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทดลองวงจร Super VXO 10.075 MHz

ทดลองวงจร Super VXO 10.075 MHz เพื่อนำไปใช้ในการทดลองสร้างวิทยุรับส่ง 18 MHz 

จากการทดลอง 

แร่ 10.075 MHz สามารถปรับความถี่ได้ในช่วง 10.071 - 10.089 MHz 
แร่ 10.0916 MHz สามารถปรับความถี่ได้ในช่วง 10.088 - 10.106 MHz 

(18 KHz) โดยประมาณ 

 

ติดต่อกับสถานี TX5K (CLIPPERTON ISLAND) ได้ด้วยความบังเอิญ



วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เครื่องรับ 21 MHz ทดลอง AGC และ ATT

21MHz Superheterodyne receiver ทดลอง AGC (Automatic gain control ) และ ATT. (ลดทอนสัญญาณภาครับ) ลง 10 dB ในกรณีที่สัญญาณเข้ามาแรงเกินไป


รับสัญญาณตอนเย็น ด้วยสายอากาศไดโพล


วงจร ATT.



วงจร AGC