วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สร้างสายอากาศ Yagi 2E 24 MHz

หลังจากทดลองสร้างสายอากาศยากิย่านความถี่ 21 MHz ไปแล้ว ผลน่าพอใจ ผมเลยอยากจะสร้างอีกสักย่าน แต่เท่าที่ดูเรื่องการขนส่งอลูมิเนียมและการติดตั้งแล้ว ย่านต่ำ ๆ คงจะยุ่งยาก ผมเลยตัดสินใจลองย่าน 24 MHz 

ต้นแบบสายอากาศจาก http://dk7zb.darc.de/2-Ele-Kurzwelle/2-Ele-12m-Dir28.htm

เว็บต้นแบบบอกว่าสายอากาศต้นนี้มี Gain 4.2 dBd หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือมีความแรงกว่าสายอากาศไดโพล 2.63 เท่าในทิศทางที่เราต้องการ


ข้อมูลของสายอากาศยากิที่น่าสนใจ (3 E จากเว็บของ dk7zb)

1. Gain อัตราการขยาย ถ้าสายอากาศยากิมีอัตราขยายที่สูงจะมี Bandwidth แคบ ค่า F/B ต่ำ และ อิมพีแดนซ์ต่ำ
2. F/B (อัตราส่วนของสัญญาณที่ไปด้านหน้า/ด้านหลัง) ถ้า F/B สูง อัตราขยายจะต่ำ 
3. Bandwidth/SWR สายอากาศที่ Bandwidth กว้างจะมีอัตราขยายน้อยและอิมพีแดนซ์สูงกว่า
4.อิมพีแดนซ์ 
  • อิมพีแดนซ์สูง = Bandwidth กว้างแต่อัตราขยายน้อย (50โอห์ม)
  • อิมพีแดนซ์ปานกลาง =  Bandwidth และอัตราขยายปานกลาง
    (28 โอห์ม)
  •  อิมพีแดนซ์ต่ำ = Bandwidth แคบแต่อัตราการขยายสูง
    (12.5 โอห์ม)



บาลัน 1:1 รอบนี้พันด้วยสาย RG174 บนแกน FT114-43 


จากตารางเราใช้สาย RG179 ก็ใช้สายยาว 2 เมตรสำหรับสายอากาศ 24 MHz




รอบนี้เลือกใช้บูมที่หนากว่าเดิม และเจาะน๊อตยึด element กับบูมเลย





ไม่มีความคิดเห็น: