วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ATNENNA TUNNER 144 MHz

ATNENNA TUNNER 144 MHz
Antenna tunner คืออุปกรณ์ที่ใช้ปรับ matching ของสายอากาศให้ได้ค่า SWR ต่ำสุดเมื่อเราออกอากาศด้วยความถี่ที่ไม่ตรงกับสายอากาศ เป็นตัวหลอกเครื่องรับส่งของเราว่ากำลังใช้สายอากาศที่มีอิมพิแดนซ์ เหมาะสมกับความถี่นั้น ๆ ...

ARRL VHF HANDBOOK

ATNENNA TUNNER สำหรับ 144 MHz.


Antenna Tuner คืออุปกรกณ์ที่ใช้ปรับ Matching ของสายอากาศให้ได้ค่า SWR ต่ำสุดเมื่อเราออกอากาศด้วยความถี่ที่ไม่ตรงกับสายอากาศ เป็นการหลอกวิทยุรับ - ส่ง เราว่ากำลังใช้สายอากาศที่มีอิมพิเดนซ์เหมาะสมกับความถี่นั้น ๆ ...


ภาพ 100 วัตต์เล่มที่ 11 ราคา 25 บาท

เอาฉบับเก่า ๆ มาให้ดูกันครับ

 

หน้าปก วิทยุรุ่นเก่า สวยงามและทนทานมาก



FT411 ดีอย่างไร นิตยสาร 100 วัตต์ฉบับที่ 9 เคยลงรูป YAESU FT-411 ซึ่งทำให้นักเลงวิทยุน้ำลายหกไปหลายคน



เทคนิคการซ่อมเครื่อง รับ-ส่งวิทยุ ICOM IC-2N



วิทยุรับ - ส่ง CB 49 MHz



Super Slim Jim "นกหงส์หยก" ส่วนประกอบที่จำเป็นอย่างหนึ่งของวิทยุก็คือระบบสายอากาศ มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบ หลายลักษณะ เพื่อการรับส่งคลื่นวิทยุ Ham เมืองไทย มีโอกาสประดิษฐ์คิดค้น ดัดแปลงมากที่สุดก็สายอากาศนี่เหละ ...



ตอบปัญหาสายอากาศ "โกวิท สูรพันธ์"



ปกหลัง

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Morse Runner ซ้อมก่อนลง Contest โหมด CW

สำหรับท่านที่ฝึกรหัสมอร์สจนถึงระดับหนึ่งแล้ว อยากจะซ้อมมือเพื่อลงแข่งขัน ให้ทดลองฝึกกับโปรแกรม Morse Runner 1.68 ซึ่งเป็นโปรแกรมจำลองการแข่งขัน หรือ Contest simulator ได้ดีโปรแกรมหนึ่งเลยครับ
ก่อนอื่นให้เข้าไป Download ที่ http://www.dxatlas.com/MorseRunner/



หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อย หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังรูปด้านล่าง



ก่อนอื่นให้ใส่ Callsign ของเราไปในช่อง Call จากนั้นเลือกรูปแบบในการเล่น (RUN) ในที่นี้ผมเลือกแบบ WPX Competition ( working all prefixes.)



เมือเลือกเสร็จก็จะได้ยินเสียง ซู่-ซ่า เช่นเดียวกับวิทยุสื่อสารย่าน HF จากนั้นเราก็ดำเนินการ CQ เรียกหาเพื่อนสมาชิก โดยกด F1 หรือ Enter ก็ได้ ถ้ายังไม่มีใครตอบ ก็ CQ อีก 1-2 ครั้ง ก็จะมีสมาชิกตอบมา
เมื่อสมาชิกขาน Callsign ของเขามาให้เรารีบ พิมพ์ Callsign ไปในช่อง Call ทันที




เมื่อแน่ใจว่ารับ CallSign ของสมาชิกได้ถูกต้องแล้ว ให้กด Enter เพื่อเรียกสมาชิก ถ้า CallSign ถูกต้อง เพื่อนสมาชิกจะตอบกลับมา แต่ถ้าพิดพลาดเล็กน้อย (ผิด 1 ตัวอักษร) เพื่อนสมาชิกจะทวนให้เรา ทวนเสร็จจะรายงานสัญญาณ RST + NR มาให้เราเลย โดย RST มักจะเป็น 5NN (599) แต่สำหรับโปรแกรมนี้ จะมีการหลอกล่อ ในบางครั้งจะส่งสัญญาณ แบบอื่นมา อันนี้ต้องตั้งใจฟังด้วยนะครับ

NR (NR=
Number) มักจะส่งมาเป็นแบบย่อ เช่น
A = 1 (.-)
U = 2 (..-)
V = 3 (...-)
4 = 4 (....)
E = 5 (.....)
6 = 6 (-....)
B = 7 (-...)
D = 8 (-..)
N = 9 (-.)
T = 0 (-)
เมื่อแลกเปลี่ยน NR กันเสร็จก็ถือว่าจบ 1 QSO ให้เริ่ม CQ ใหม่ /หรือถ้ามีเพื่อนสมาชิกรอคิวอยุ่ เขาจะขาน Callsign มาเอง

สำหรับการ RUN ในรูปแบบนี้จะกำหนดเวลาการเล่นเอาไว้ที่ 60 นาที ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และไม่สามารถหยุดพักโปรแกรมได้ (ถ้าหยุดคือยกเลิก ต้องเริ่มเล่นใหม่เลย) เมื่อเล่นครบ 60 นาที จะสามารถส่งคะแนนไปยังเว็บไซต์ของ Morse Runner ได้ เพื่อดูผลความสามารถของเรากับเพื่อน ๆ

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรม 2009 ARRL 10-Meter Contest ของ HS8JYX

ARRL 10-Meter Contest ในปี 2009 นี้ จัดขึ้นในวันที่ 12 ถึง 13 ธันวาคม 2552 (48 ชั่วโมง)การแข่งขันแบ่งออกเป็น 9 ประเภทย่อย ๆ ตามกำลังส่งและรูปแบบการติดต่อ CW หรือ/และ SSB สำหรับผมแล้วเลือกแบบ Low Power CW only (เพื่อต้องการฝึกฝนทักษะ CWให้ ชำนาญยิ่งขึ้น) จริง ๆ ผมรู้ข่าวการแข่งขันมานานแล้ว ตอนแรกก็ไม่อยากจะลงแข่งขันอะไร แต่พอใกล้วันแข่ง รู้สึกอยากเล่นขึ้นมาก็เลยหาแบบสายอากาศที่ง่ายที่สุด ลงทุนน้อยและน่าจะแพร่กระจายคลื่นได้ดี ก็เลยลองค้นหาข้อมูลดู มาเจอสายอากาศ 10 meter rectangular loop antenna ตามแบบในหนังสือ ARRL Handbook (หลายท่านคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี) ดูจากรูปก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพดีหรือเปล่า แต่เวลาจำกัดเลยต้องรีบประกอบ ตำราบอกว่ามีอัตราการขยายดีกว่าไดโพล 2.1 db, มุมการแพร่กระจายคลื่นต่ำ เหมาะกับการ DX, ไม่ต้องการ matching network ดีเลยครับไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมให้ยุ่งยาก สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 28.0-28.8 MHz โดย SWR ไม่เกิน 2:1 (ขนาดความยาวตามในรูป

การประกอบของผมใช้ วัสดุคือสายไฟอ่อนกับท่อ PVC ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ก็ได้ผลมาดังรูป ทดลองยกเสาขึ้นด้วยไม้ไผ่ ทดลองวัด SWR ดูปรากฏว่าออกมาต่ำเป็นที่น่าพอใจ Bandwidth กว้างพอสมควร ผมเลยถอด ATU ออกไปเลย

 
วันแรกติดต่อได้ 4 สถานี จากประเทศจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และ ออสเตรเลีย (ค่า Solar Flux = 72) วันที่ 2 ติดต่อได้ 10 กว่าสถานี ส่วนมากจะมาจาก นิวซีแลนด์ (ระยะทางประมาณ 1 หมื่นกิโลเมตร) และ ออสเตรเลีย (ค่า Solar Flux = 75) ช่วงเวลาที่อากาศเริ่มเปิดก็ประมาณ 13.00 – 15.30 น.พอเวลาเย็นสัญญาณที่เคยชัดก็จะจางหายไปทีละสถานี ๆ จนหมดในที่สุด
ปัญหาที่เกิด มีสัญญาณรบกวนจากชาวประมงในประเทศ คุยกันโดยใช้ระบบ AM รบกวนมาเป็นระยะ ๆ ปัญหานี้น่าจะได้รับการแก้ไขจากผู้ที่รับผิดชอบ พอ ๆ หรือมากกว่าปัญหาในย่าน VHF เนื่องจากเวลาลาอากาศเปิดสัญญาณมันรบกวนไปถึงต่างประเทศด้วย สำหรับท่านที่ต้องการนำไปใช้กับความถี่อื่น ๆ ความยาวรวมของ Loop จะประมาณ 1 lambda จากการทดลองด้วยตัวเอง ในย่าน 2 มิเตอร์ ปรากฏว่า สามารถรับส่งได้ดีกว่าเสา Slice ทั่ว ๆ ไปมากอย่างสังเกตได้

 
10 meter rectangular loop antenna
 

อ่านต่อ http://www.hs8jyx.com/html/arrl_10meter_2009.html


 

ตอนนี้ ได้รับการยืนยันมา 3 ท่านตามรูปครับ



Contest Soapboxของผมในเว็บของ ARRL



eQSL จาก ZM4M

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

My LoTW 07-12-2009

วันที่ 7-12-2009 ผมสะสมรายชื่อ ประเทศที่ติดต่อได้และได้รับการยืนยันได้ 15 ประเทศ ดังนี้ (เส้นทางการล่ารางวัลยังอีกยาวนาน)



ถึงแม้จะติดต่อนักวิทยุในประเทศนั้นได้หลายคนแต่การล่ารางวัล DXCC จะนำรายชื่อประเทศมานับแค่ครั้งแรกครั้งเดียว

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

CQ World Wide DX Contest CW 2009 ของ HS8JYX

งานนี้เริ่ม วันที่ 28-29 พฤษจิกายน 2552 เป็นรายการแรกใน Mode CW ที่ผมทดลองลงเล่น และดูท่าว่าสภาพอากาศจะไม่เป็นใจ และเป็นครั้งแรกที่ออกอากาศตอนแข่งขันที่จังหวัดกระบี่ พื้นที่ในการติดตั้งสายอากาศจำกัด เลยติดต่อได้น้อย
  • วันที่ 28-11-52 ค่า Solar Flux เท่ากับ 73
  • วันที่ 29-11-52 ค่า Solar Flux เท่ากับ 73

รูปดวงอาทิตย์วันที่ 29/11/2009 จากเว็บไซต์ http://www.solarcycle24.com/

สถานที่ออกอากาศที่ จ.กระบี่ (จุดแรก)

เนื่องจาก จุดแรกติดต่อได้น้อยเลยทดลองเปลี่ยนสถานที่ และวางสายอากาศใหม่

สายอากาศไดโพลย่าน 20 มิเตอร์ ตัวเดิม

Link :: http://www.hs8jyx.com/html/cq_ww_dx_cw_2009.html


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Electronic confirmations EQSL ไปสมัครกันนะครับ

Electronic confirmations EQSL ไปสมัครกันนะครับ




ปัจจุบัน อะไร ๆ ก็ออนไลน์ QSL CARD ก็มีแบบออนไลน์ การส่งการ์ดออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าจะให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถแลกรางวัลต่าง ๆ ได้ต้องนี่เลยครับ http://www.eqsl.cc/




หน้าตาของเว็บ



หนังสือ CQ อเมริกา จะรับรองเฉพาะสมาชิกที่ได้รับ Authenticity Guaranteed ขอยกตัวอย่างของผมแล้วกัน



การขอ Authenticity Guaranteed นั้นก็ไม่ยากครับโดยมีรายละเอียด ตามลิ้งนี้ และที่ดีกว่านั้นคือ สมาชิกท่านใดที่เป็นสมาชิกของ LoTW สามารถขอ Authenticity Guaranteed ได้ทันที โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบอีกให้เสียเวลา

ตัวอย่าง EQSL



ดูเพิ่มเติมคลิก



Radio Contesting



Radio Contesting (หรือเรียกอีกอย่างว่า radiosport ) เป็นกิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่น โดย ติดต่อเพื่อนสมาชิกนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน (Contest exchange) ภายใต้เวลาที่กำหนด การแข่งขันอาจจะทำเป็นกลุ่ม หรือ เดี่ยว ก็ได้ การแข่งขัน ในบางครั้ง อาจจะกำหนด เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น อาจจะใช้เฉพาะบาง Mode หรือแค่ช่วงความถี่

Contest exchange ในการแข่งขันแต่ละรายการ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่กรณี ยกตัวอย่างเช่น แลกเปลี่ยน signal report, ชื่อ, zone, grid locator, อายุของพนักงานวิทยุ หรือ serial number เป็นต้น ในการติดต่อแต่ละ ครั้งสิ่งที่สำคัญคือ call sign ของคู่สถานี และข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ตามด้วยเวลาและความถี่หรือ band ที่ใช้ติดต่อกันลงใน Log

ตัวอย่างการติดต่อระหว่างการแข่งขัน CQ World Wide DX Contest (ดัดแปลงมาจาก วิกิพีเดีย) ของนักวิทยุ อังกฤษ กับ นิวซีแลนด์

สถานีที่ 1: CQ contest Mike Two Whiskey, Mike Two Whiskey, contest.
(สถานี M2W กำลัง CQ เพื่อเรียกคู่สถานีระหว่างการแข่งขัน)

สถานีที่ 2: Zulu Lima Six Quebec Hotel
(สถานี ZL6QH ตอบ โดยขาน callsign ของเขาโดยยังไม่ต้องแจ้งรายละเอียดอย่างอื่น)

สถานีที่ 1: ZL6QH 59 14 (พูดว่า "five nine one four")
(M2W ยืนยัน Callsign ของ ZL6QH และทำการรายงาน สัญญาณ 59, พร้อมด้วย Zone 14 (ยุโรป ตะวันตก)

สถานีที่ 2: Thanks 59 32 (said as "five nine three two")
(ZL6QH ยืนยันการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ M2W และรายงานสัญญาณกลับมา 59พร้อมด้วย Zone 32 (แปซิฟิกใต้)

สถานีที่ 1: Thanks Mike Two Whiskey
(M2W ยืนยันการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ ZL6QH เป็นอันเสร็จพิธี และพร้อมสำหรับการติดต่อสถานีต่อไป)

ตัวอย่างบันทึกเสียงของ K5ZD ในงาน CQ WW Phone 2008

Link :: http://www.hs8jyx.com

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

aurora scattering

ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด



aurora scattering




จากข้อมูลในหนังสือ ARRL HANDBOOK ได้กล่าวไว้ว่า นักวิทยุสมัครเล่น สามารถติดต่อกันได้เป็นระยะทางไกล โดยใช้ความถี่ในช่วง 28 MHz ถึง 432 MHz ใช้สายอากาศทิศทาง เล็งไปยังจุดที่เกิด Aurora ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังส่งสูง ๆ และไม่ต้องการสายอากาศทิศทางขนาดใหญ่โต กำลังเพียง 10 วัตต์ และสายอากาศยากิขนาดเล็ก ๆ ก็เพียงพอแล้วครับ

สัญญาณ Aurora-scattered สามารถรู้ได้อย่างง่ายดายเพราะว่าสัญญาณจะผิดเพี้ยนไปปจากเดิม ต้องขอขอบคุณเพื่อนนักวิทยุที่บันทึกเสียงการติดต่อสื่อสารให้เราได้ฟัง เพราะว่า Aurora ไม่ได้เกิดขึ้นแถวบ้านเรา

Link :: http://www.hs8jyx.com/html/aurora_scattering.html

ข้อมูลเพิ่มเติม

คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

อ้างอิงมาจาก วิกิพีเดีย ถึง สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา

สถานที่ ความถี่ในการปรากฏ
เมือง Andenes ประเทศนอร์เวย์ เกือบทุกคืนที่ฟ้าโล่ง
เมือง Fairbanks รัฐอลาสกา 5 – 10 ครั้งต่อเดือน
เมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์ 3 คืนต่อเดือน
สกอตแลนด์เหนือ เดือนละครั้ง
พรมแดนสหรัฐ/แคนาดา 2 – 4 ครั้งต่อปี
เม็กซิโก และ เมดิเตอเรเนียน 1 – 2 ครั้งใน 10 ปี
ประเทศตอนใต้ทะเลเมดิเตอเรเนียน 1 – 2 ครั้งในศตวรรษ

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การลักลอบใช้ความถี่ การก่อกวน มีทั่วโลกจริง ๆ



ข่าวจากหนังสือ World Radio Online December 2009

มีการมาแอบใช้ความถี่ 14.002.2MHz โดยปกติช่องความถี่นี้
จะเป็นความถี่สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น ใช้รับส่งรหัสมอร์ส (CW)
การติดต่อรุปแบบเสียง SSB นั้นไม่ถูกต้องอยู่แล้วครับ ยิ่งถ้าเอามาคุยเล่น
เหมือนคุยโทรศัพท์ ยิ่งผิดเข้าไปใหญ่ รู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่
นักวิทยุสมัครเล่น แต่เป็นการลักลอบใช้ความถี่


ข่าวจากหนังสือ World Radio Online November 2009

ย่าน 40 เมตร มีคนมาแอบใช้ โดยชาวประมงชาวโปรตุเกส มีข่าวแบบนี้อาจจะเสียหายกันทั้งประเทศ
อย่า คิดว่าการแอบใช้ความถี่ไม่มีใครแอบฟัง คนไทยก็มีมาแอบใช้ความถี่เหล่านี้เหมือนกัน สำเนียงคนภาคกลาง และบางครั้งตอนบ่าย ๆ ก็มีชาวประมงไทย ใช้ด้วย

ชาวมองโกเลีย เขาก็มีใจที่จะส่งเสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นนะ

http://img524.imageshack.us/img524/757/001bgd.jpg

The Mongolian Amateur Radio Society (MARS) promotes and organizes the “Mongolian DX Contest”. MARS has the honor to invite all Licensed Amateurs and SWLs throughout the World to participate the annual “Mongolian DX Contest.

Purpose of contest
The objective of the contest is to establish as many contacts as possible between Radio Amateurs around the World and Radio Amateurs of Mongolia.

ชาวมองโกเลีย เขาก็มีใจที่จะส่งเสริมกิจการวิทยุสมัครเล่นนะ

โหลดเอกสารได้ที่นี่ www.harts.org.hk/Rules_JTDXContest_Eng.pdf