วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ผลการแข่งขัน All Asian DX Contest 2009 Phone


ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.jarl.or.jp
ผลเฉพาะทีมจากประเทศไทย



* THAILAND AL E21YDP 869 1723 111 191253

* THAILAND AH HS0/KD6MSD 32 44 16 704

* THAILAND 20L HS8JYX 59 109 21 2289

* THAILAND 10L E20WXA 15 34 6 204

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

การใช้โปรแกรม N1MM Logger กับการแข่งขัน CQ WW VHF


การใช้โปรแกรม N1MM Logger กับการแข่งขัน CQ WW VHF
ก่อนอื่นเข้าไปโหลดโปรแกรม ได้ที่ http://n1mm.hamdocs.com/tiki-index.php



การติดตั้งต้องติดตั้ง 2 ขั้นตอน คือตอนแรกให้ติดตั้ง N1MM Base Install ก่อน จากนั้นติดตั้ง N1MM Latest Updates

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

eQSL จากการแข่งขัน CQ World-Wide WPX Contest 2010

CQ World-Wide WPX Contest 2010

กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 27-28 มีนาคม 2553 รวมระยะเวลา 48 ชั่วโมง ผมเลือกความถี่ 28 MHz อย่างเดียวในการแข่งขันครั้งนี้ สายอากาศที่ใช้ในการแข่งขันก็เป็น 10 meter Loop ตัวเดิม เพิ่มความสูงจากเดิมประมาณ 2-3 เมตร




บรรยากาศในสถานีแบบชั่วคราว



ใช้โปรแกรม N1MM Logger ในการแข่งขัน
โดยปกติความถี่ 28 MHz จะติดต่อได้ดีในช่วงบ่าย ๆ ในวันแรกของการแข่งขัน ผมได้ยินเสียงตั้งแต่เช้า แต่สัญญาณยังไม่แรงมาก เลยทำงานประจำไปก่อน กะว่าจะเล่นตอนบ่าย ๆ แต่ไม่ค่อยเป็นไปตามความคาดหมายเท่าไร ตอนบ่ายสัญญาณก็ยังไม่แรงมาก หรือแรงแค่ช่วงสั้น ๆ สรุปว่าบ่ายวันแรกติดต่อได้ 14 สถานี กลางคืน ผมกลับมาอีกครั้ง ไม่ได้คิดจะมา CQ หรอกครับ แต่อยู่ ๆ ก็ได้ยินเสียง CQ จากสถานี ZY7C จากประเทศ Brazil มาแรงมาก ผมไม่รอช้า รีบติดต่อไปเลย ได้ผลครับ แต่ไม่เกิน 5-10 นาที สัญญาณก็เริ่มจางหายไป แล้วไม่ได้ยินในที่สุด การเล่นย่าน HF นี่ถ้าโอกาสมาถึง อย่ารอช้านะครับ มันไม่ได้มาบ่อย ๆ (วันเสาร์ค่า Solar Flux = 86)

วันอาทิตย์ ผมตั้งใจว่าจะเริ่ม CQ แต่เช้าเลย แต่รู้สึกว่าจะรับได้เฉพาะประเทศไกล้ ๆ พอตอนบ่าย ๆ -เย็นดีหน่อยครับ ติดต่อสถานี ZS2DL จาก South Africa ได้

eQSL จากการแข่งขัน CQ World-Wide WPX Contest 2010
ย่าน 10 มิเตอร์ (28 MHz)



จาก JS1KQQ ญี่ปุ่น



จาก VK4KW ออสเตรเลีย



จาก YC2WBF อินโดนีเซีย

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

บัตรสมาชิก RAST

บัตรสมาชิก RAST หรือ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Radio Amateur Society of Thailand) ของ HS8JYX


QSL CARD จาก JA7COI

QSL CARD จาก JA7COI
http://www.qrz.com/db/JA7COI

QSL CARD จาก JA0JHA

QSL CARD จาก JA0JHA ส่งผ่าน QSL Bureau
http://www.qrz.com/db/JA0JHA ในงาน ALL ASIAN DX CONTEST 2009


วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

DXing - Contacting Those Faraway Places

DX ย่อมาจาก Distance Station หรือ Signal from a distance station การ DX เป็นแก่นของวงการวิทยุเลยก็ว่าได้ ความตื่นเต้นในการติดต่อกับสถานีทางไกลได้สำเร็จ เป็นความภาคภูมิใจของนักวิทยุตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงปัจจุบัน ความต้องการในการติดต่อให้ไกลขึ้น ๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้น สำหรับย่าน HF การ DX เป็นการติดต่อต่างประเทศให้ได้มากมาก ส่วนย่าน VHF + การ DX จะเป็นการติดต่อให้ได้จำนวน Gird Square มาก ๆ และไกล ๆ การ DX อาจจะมีความหมายว่า ทำสิ่งที่เกินกว่าวิทยุจะทำได้ ก็ได้




นักวิทยุสมัครเล่นส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มต้นมาจากการ DX โดยทั่วไปจะมาจากการติดต่อแบบ Local Contact กับเพื่อน กับสมาคมไกล้ ๆ เท่าที่ขอบเขตของคลื่นวิทยุจะไปได้ โดยไม่ต้องใช้เทคนิคพิเศษอะไร เมื่อเล่นไปสักพัก จะเริ่มหาสิ่งที่แปลกใหม่ โดยเฉพาะท่านที่ได้ไปเห็นสถานี และกิจกรรมของ DXer's ที่เก่ง ๆ หรือท่านไม่ต้องไปหาที่ใหนในเว็บไซต์อย่าง Youtube.com ก็มีวีดีโอ กิจกรรมพวกนี้มากมาย 

และอีกหลายสถานีในเมืองไทย หลังจาก การติดต่อแบบ Local Contactไปสักพัก เริ่มเบื่อเพราะไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น ไม่มีเรื่องคุย ก็เลิกราจากวงการนี้ไปอย่างน่าเสียดาย




รางวัล VUCC หรือ VHF/UHF Century Club Award มีไว้สำหรับนักวิทยุที่ติดต่อได้ครบอย่างน้อย 100 Grid Locators ขึ้นไป (ทั่วโลกมี 32,400 Grid Locators) เสียดายที่เมืองไทย ไม่ค่อยมีการกระตุ้นเรื่องพวกนี้ ถ้ามีนักวิทยุที่จะล่ารางวัลซัก 10-15 % ของนักวิทยุทั่วประเทศ แนวคิดในวงการวิทยุสมัครเล่นบ้านเราโดยรวมคงเปลี่ยนไปเหมือนกับสากลแน่นอน

Cabrillo :: A Contest Log Standard

ในปัจุบันไฟล์ที่ผู้จัดการแข่งขันส่วนใหญ่ต้องการคือไฟล์แบบ Cabrillo (อ่านว่า Ca-BREE-oh) มาจากชื่อของ Carbrillo College ใกล้ ๆ กับบ้านของ Trey Garlough , N5KO ผู้พัฒนารูปแบบไฟล์นี้ขึ้นมา




Contest ของ ARRL และอื่น ๆ ต้องการอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์แบบ Cabrillo ไฟล์นี้สร้างได้จากโปรแกรมสำหรับ Contest (Contest logging) ส่วนใหญ่อยู่แล้ว
ไฟล์แบบ Cabrillo จะประกอบด้วย ตัวอักขระแบบ ASCII มีข้อมูลส่วนหัว (Header line) ประกอบด้วยข้อมูลอธิบาย log เช่น ชื่อของ Operator, Callsign, ที่อยู่, ประเภทของการแข่งขัน, กำลังส่ง และอื่น ๆ

เมื่อสร้างไฟล์ และทำการตรวจสอบถูกต้องแล้ว ก็ส่งอีเมล์แนบไฟล์ (Attach) ไปให้กรรมการผู้จัดการแข่งขัน โดยหัวข้อ Subject เป็นชื่อ Callsign ที่เราใช้ในการแข่งขัน

จากนั้นระบบของเขาจะประมวลผล อาจจะใช้คนหรือ Software เรียกว่า "Robot" โปรแกรมจะสแกน log ไฟล์ที่ส่งไปเพื่อตรวจหาข้อผิดพลาดของ log ก่อนที่จะตอบอีเมล์แจ้งกลับมาให้เราทราบ



ตัวอย่าง
Cabrillo Log Format

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

The Contest Exchange



ระหว่างการแข่ง ขันสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ Contest Exchange เป็นสิ่งที่ สำคัญใช้ในการแลกเปลี่ยนกันระหว่างการแข่งขัน เช่น


  • ITU หรือ CQ zone
  •  Serial number หรือ ลำดับหมายเลขการแข่งขันโดยเริ่มจาก 001
  •  Name ชื่อ อาจจะเป็น ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อที่ตั้งมาเฉพาะก็ได้
  •  Member number รายการแบบนี้ออกจะเป็นรายการ เฉพาะกลุ่ม เน้นที่สมาชิกเป็นหลัก หรืออาจจะติดต่อสมาชิกได้คะแนนมากกว่าติดต่อคนทั่วไป
  •  กำลังส่ง โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นเลข 3 หลัก และ ไม่จำเป็นต้องใส่ W แทน วัตต์ เป็นอันเข้าใจตรงกัน
  •  ที่อยู่ หรือชื่อย่อของที่อยู่