วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทดลองเครื่องรับ แบบ DC + Super VXO ความถี่ 14 MHz

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการเตรียมตัวไปสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง หรือมีความสนใจวิทยุ HF แต่ยังไม่มีเครื่องไว้ฟังน่าจะทดลองประกอบดูนะครับ 

แนวคิดในการทำเครื่องตัวนี้เกิดจากปัญหาเรื่องอะใหล่ในบ้านเรา บางตัวหายาก เช่น แร่ความถี่ QRP ของแต่ละแบนด์ แกน Toroid ต่างๆ รวมไปถึงนักวิทยุสมัครเล่นทั่วไป มักจะไม่มีเครื่องวัดความถี่ ที่จะไปวัดความถี่ออสซิลเลเตอร์

** แนวทางการแก้ปัญหา**

ไม่มีเครื่องวัดความถี่ แก้ปัญหาโดยใช้วงจรกำเนิดความถี่แบบแร่ แทนวงจรกำเนิดความถี่แบบ LC
ไม่มีแร่ค่าที่ต้องการ แก้ปัญหาโดยการหาแร่ที่มีความถี่ไกล้เคียง (สูงกว่าเล็กน้อย) แล้วใช้วงจร Super VXO ช่วยดึงความถี่ลงมาให้ตรงกับความถี่ที่ต้องการ  
การประกอบยุ่งยากหรือไม่ ? ไม่ยากครับ มีรูปภาพประกอบให้ดูง่ายที่สุด
แบนด์ที่ทดลองแล้ว มี 14 MHz 18 MHz 21 MHz และ 24 MHz ส่วนแบนด์อื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยเปลี่ยนค่าของอะใหล่บางตัว แต่สำหรับเพื่อน ๆ ที่เพิ่งจะทดลองเป็นครั้งแรกแนะนำให้ทดลองทำที่ 2 แบนด์นี้ก่อน เนื่องจากมีสมาชิกในความถี่มาก 

** ข้อจำกัด **

เราไม่สามารถดึงความถี่ของแร่ลงมากเกินไป (ถ้ายังอยากจะรักษาเสถียรภาพทางความถี่แบบแร่เอาไว้) ทำให้เราไม่สามารถรับได้ทั้งแบนด์ เราอาจจะรับได้แค่ช่วงหนึ่งของแบนด์เท่านั้น เช่น ใช้แร่ 21.25 เราก็รับได้ดีแค่ในช่วงระบบเสียงพูดเท่านั้น
 



ทดลองต่อร่วมกับวงจรนับความถี่


ความถี่ต่ำสุดที่รับได้  14.036 MHz


ความถี่สูงสุดที่รับได้  14.223 MHz

  
ในส่วนของวงจร Super VXO

ตัวต้านทาน 
1 == 10 K (น้ำตาล ดำ ส้ม ทอง) อาจจะไม่ใส่ก็ได้
== 100 K (น้ำตาล ดำ เหลือง ทอง
3 == 50 K (เขียว ดำ ส้ม ทอง)
4 == 470  (เหลือง ม่วง น้ำตาล ทอง) 
5 == 100K  (น้ำตาล ดำ เหลือง ทอง)  
6 == 100  (น้ำตาล ดำ น้ำตาล ทอง)  

คาปาซิเตอร
30 =30pF
101=100pF
104 = 0.1uF 
 อ่านต่อใน 100 วัตต์ ฉบับที่ 141 
 
 
 
 (รูปเครื่องรับที่ต่อวงจร Band Pass Filter เข้าไป)

วงจรในส่วนที่เป็นเส้นประ ควร shield เอาไว้ เพื่อลดผลต่าง ๆ ที่ทำให้ความถี่เปลี่ยนแปลงไปในวงจรกรองสัญญาณ 14 MHz ทำแบบง่าย ๆ แบบใช้กระป๋อง IF 10.7 MHz ของวิทยุ FM เวลาใช้งานในวงจรนี้ให้ถอด C ที่อยู่ด้านล่างออก แล้วเอา C ค่าตามที่กำหนดใส่ไปแทน รวมไปถึงอาจจะใส่ทริมเมอร์ ค่าประมาณ 2-25 pF ไปก็ได้ เวลาใช้งานให้ปรับแต่งให้มีเสียงซู่ซ่ามากที่สุดก็เป็นอันใช้ได้



 

ทดลองกับความถี่ 21 MHz ดูบ้าง แร่ 21 MHz ที่พอหาซื้อได้มีความถี่อยู่ที่ 21.251 MHz


ในการทดลองขั้นแรก ผมลองเปลี่ยนแร่จาก 14 MHz เป็น 21 MHz เพียงอย่างเดียว วงจร VXO ดูเหมือนจะไม่ทำงานจากนั้นลองลดค่าของขดลวดลงเป็น 5.6 uH สามารถใช้งานได้ครับ สามารถจูนความถี่ได้ในช่วง 21.192 MHz -21.245 MHz ซึ่งเป็นช่วงของเสียงพูด ผมลองเพิ่มค่าขดลวดขึ้นทีละนิด ๆ ความถี่ลงต่ำ แต่ไม่ไม่นิ่งเท่าที่ควร ยิ่งดึงความถี่ลงมากยิ่งไม่นิ่ง 



ส่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือ วงจรกรองสัญญาณ ผมเลือกใช้ Trimmer ค่าประมาณ 2-25 pF แทน คาปาซิเตอร์เดิม เพื่อลองปรับแต่งดู ผมปรากฏว่าใช้ได้ดี 
 

เพิ่มเติมวงจร low pass filter ระหว่างวงจร VXO กับ IC NE602


วงจร Band Pass Filter แบบง่าย ๆ ใช้ได้ผลสำหรับวงจรเครื่องรับ


เพิ่มเติมวงจร RF Preamp สำหรับ 21 MHz พร้อมด้วยประกอบลงกล่อง 

  
ตัวอย่างเป็นวงจรง่าย ๆ เลือกใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SC1923 ซึ่งได้ผลดีมากในการทดลองใช้งานที่ 21 MHz




วงจรสำหรับเวอร์ชั่น 21 MHz 



บทความที่อยากให้อ่านเพิ่มเติม 

ทดลองเสถียรภาพของวงจร Super VXO ความถี่ 21 MHz

วงจร Super VXO และการชดเชยอุณหภูมิ

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สัญญาณรบกวนกับสถานี Portable ระบบ JT65


ทุกครั้งที่มาตั้งสถานีออกอากาศผมมักจะเจอปัญหาต่าง ๆ รอบนี้ก็เจอปัญหาสัญญาณรบกวน ไม่ใช่สัญญาณรบกวนจากระบบไฟฟ้าเหมือนกับตอนที่อยู่ที่บ้าน แต่เป็นสัญญาณรบกวนจากตัวแปลง USB-RS232 มันทำให้ผมรับสัญญาณอ่อน ๆ ไม่ได้เลย แม้แต่สัญญาณที่แรง ๆ ก็ยังรับได้น้อย ผมเลยตัดสินใจถอดออกใช้วิธีการกดคีย์ส่งด้วยมือแทน


 หลังจากถอดสายออกไปแล้ว สามารถรับสัญญาณได้ดีมากขึ้นแทบจะไม่มีปัญหา แต่พอมาสังเกตุอีกที แถว ๆ 14.076 MHz ยังมีสัญญาณรบกวนจากคอมพิวเตอร์ Notebook อยู่ดี


วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เป็นนัก SWL แบบเร่งด่วน

สวัสดีครับผมคิดว่าเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายคน มีเครื่องรับ หรือเครื่องรับส่งย่าน HF กัน หลายคนยังไม่สามารถออกอากาศได้เนื่องจากยังเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น หรือเป็นเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางแล้วก็ตามแต่ขาดความมั่นใจในการออกอากาศ อยากจะขอเชิญชวนมาเป็นนัก SWL ก่อน ในที่นี้จะไม่ขอกล่างถึงความหมาย ความเป็นมาอะไรของนัก SWL แต่จะเอาแบบลัด ๆ ที่สามารถพาท่านไปถึงรางวัลได้จริง ๆ มาเริ่มกันเลยครับ

ขั้นที่ 1 ต้องมีเครื่องรับ ถ้าไม่มีเครื่องให้ลองประกอบเอง ตามเว็บนี้ครับ http://dc-receiver.blogspot.com/ (หรือจะประกอบแบบใหนก็ได้ตามสะดวก)



ขั้นที่ 2 บันทึกการติดต่อหรือ Log 
ขั้นที่ 3 การส่ง SWL Card 

ในที่นี้ผมขอแนะนำให้ใช้ การยืนยันแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ http://www.eqsl.cc/ ซึ่งสามารถทำขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ได้ในขั้นตอนเดียวกันเลย และเป็นวิธีการที่ประหยัดด้วย


ในการสมัคร eQSL.cc นั้นก็ไม่ยากให้เข้าไปที่หน้า http://www.eqsl.cc/qslcard/RegisterValidated.cfm แล้วกรอกข้อมูล  Callsign ตั้ง Callsign ของตัวเองสำหรับการเป็นนัก SWL ในบ้านเรายังไม่มีหน่วยงานใหนจัดการเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เราอาจจะลองมาดูตัวอย่างของต่างประเทศกัน เช่นประเทศจีน มีการกำหนด Callsign ให้กับนัก SWL ว่า นัก SWL ต้องขึ้นต้นด้วย BG แล้วตามด้วยตัวเลข ของเราอาจจะขึ้นต้นด้วย HS และตามด้วยตัวเลข แต่ในเมื่อไม่มีผู้จัดการเรื่องตัวเลข ผมเองกลัวว่ามันจะซ้ำกัน คิดว่าน่าจะใช้ Callsign ของตัวเอง ตามด้วย SWL ดังตัวอย่าง


หลังจากที่เราสมัคร eqsl.cc เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้าไปปรับแต่งแก้ไขข้อมูลได้หลายอย่าง เช่นเลือกรูปแบบของ SWL Card ที่จะส่งออกไป อันนี้ผมจะไม่ขอเขียนอธิบายให้มาก คิดว่าทุกท่านคงจะทำได้


หลังจากที่เรารับฟังการติดของเพื่อนสมาชิกในความถี่แล้ว เราสามารถนำ Log ที่เราจดใส่กระดาษมากรอกลงใน eQSL.cc ได้โดยเข้าไปที่ Manual Log Entry


 จากนั้นจะได้หน้าเว็บแบบนี้ขึ้นมา

 โดยกรอกข้อมูลดังนี้

  • Callsign กรอก Callsign ของเพื่อนสมาชิกที่เรารับได้
  • Date กรอก ปี เดือน วัน ให้ถูกต้อง
  • UTC กรอกเวลา UTC (ถ้าไม่แน่ใจให้เอาเวลาไป -7 ชั่วโมง จะเท่ากับเวลา UTC)
  • Band เขียนแบนด์ที่เรารับฟัง (ความยาวคลื่น) เช่นรับฟังที่ 14 MHz ก็แบนด์ 20 เมตร เป็นต้น 
  • Mode เป็นรูปแบบในการติดต่อ เช่น SSB , CW, RTTY เป็นต้น
  • RST เป็นการรายงานสัญญาณที่เรารับเพื่อนสมาชิกได้
  • Comment ให้เขียนแจ้งไปว่า เพื่อนสมาชิกติดต่อกับสถานีใดในเวลานั้น 
  • Special Propagation Mode ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลตรงนี้

เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยถูกต้อง คลิก SAVE ได้เลยครับ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการบันทึก Log และส่ง SWL Card ไปหาเพื่อนสมาชิกแล้ว


ถ้าเพื่อนสมาชิกตอบ SWL Card กลับมา Card จะไปอยู่ในกล่อง Inbox เราสามารถเข้าไปดูได้ว่าสมาชิกท่านใดส่งมาบ้าง กล่องนี้จะเก็นเฉพาะ Card ใหม่ ที่ยังไม่เปิดดูเท่านั้น เมือถูกเปิดดูแล้วจะถูกส่งไปยังกล่อง Achive 

 (ถ้าเพื่อนสมาชิกตอบ Card กลับมากล่อง Inbox จะกระพริบ)



หลังจากเราได้ Card มามาพอแล้ว ก็ลองมองหารางวัลที่เราอยากได้ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการขอรางวัลจาก JARL ประเทศญี่ปุ่นก่อน ลองเข้าไปที่ http://www.jarl.or.jp/English/4_Library/A-4-2_Awards/Award_Main.htm มีหลายรางวัลความยากง่ายต่างกัน


ตัวอย่างรางวัล AJD ของผมเอง อันนี้สามารถขอได้ทั้งแบบนักวิทยุสมัครเล่นและนัก SWL การขอให้อ่านกฏและตรวจสอบ Card ถ้าได้ครบก็ใช้เขียนใบคำร้อง  http://www.jarl.or.jp/English/4_Library/A-4-2_Awards/sample-form.doc
พร้อมด้วยแนบ Card ไปให้เขาดูด้วย อาจจะเขียนลงแผ่น CD หรือพริ้นส่งไปก็ได้


วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

OLIVIA MODE QSO With JA1RZD




เป็นครั้งแรกที่ติดต่อกับเพื่อนสมาชิกในโหมด Olivia ที่ความถี่ 21.072 MHz โดยติดต่อกับ JA1RZD ในตอนแรกสัญญาณค่อนข้างอ่อน แต่หลังจากเริ่มติดต่อกันเขาได้หันสายอากาศมาทางประเทศไทย สัญญาณแรงมาก

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดลองเล่น PSK31 QRP 5 วัตต์

ในขณะที่ผมปรับแต่ Marco ของโปรแกรมอยู่นั้น ผมได้ทำการลดกำลังส่งให้ต่ำสุดอยู่ที่ต่ำกว่า 5 วัตต์ (วัดกับ SX-200 ได้ 3 วัตต์) สักพักผมก็ได้ CQ ออกไปโดยคิดว่าใช้กำลังส่ง 50-60 วัตต์แล้ว มีสมาชิกจากญี่ปุ่น (JM1VWQ) ตอบมา ติดต่อกันเสร็จผมกลับไปดูกำลังส่งถึงกับแปลกใจ ว่าแค่ไม่ถึง 5 วัตต์ สายอากาศไดโพล ไปถึงได้ยังไง ผมเคยทดลอง CQ ในรูปแบบ รหัสมอร์สหลายรอบแล้ว ก็ไม่มีใครตอบกลับมาเลย PSK31 ไม่น่าจะเป็นไปได้


ไม่นาน 5R8FL ก็ CQ ผมไปตอบเขาเขาเรียกมา แต่หลัง ๆ สัญญาณเริ่มจางหาย ผมเลยต้องเพิ่มกำลังส่ง เพื่อให้การติดต่อเป็นไปอย่างถูกต้อง


มาถึงตอนเย็นผมได้ CQ ไปอีกครั้ง มี YC2YTH จากอินโด และ VK3OHM จากประเทศออสเตรเลีย ตอบมา สามารถติดต่อกันได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

โปรแกรม N1MM ร่วมกับ FLDIGI เพื่อเล่นโหมดดิจิตอล

ใกล้ถึงวันแข่งขัน CQ World Wide RTTY Contest 2012 แล้ว เรามาปรับแต่งโปรแกรม N1MM ของเราให้พร้อมใช้งานกันดีกว่า

โปรแกรม N1MM เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเล่นโหมดดิจิตอลได้  ต้องมีโปรแกรมเสริม อาจจะเป็น MMTTY หรือ FLDIGI ก็ได้ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง FLDIGI ซึ่งสามารถเล่นได้หลากหลายโหมดกว่า MMTTY

ขั้นแรกให้ไปตั้งค่าการแข่งขันในรูปแบบดิจิตอลก่อน ตัวอย่างเลือก CQWWRTTY


จากนั้นให้เข้าไปตั้งที่ในโปรแกรม N1MM โดยไปที่ Config เลือก Configure Port,Mode Control,... เลือกที่ Digital Mode จะได้ดังรูป


Digital Interface 1 TU Type เลือกเป็น Sound Card


DI-1 Fldigi Setup กำหนดตำเหน่งของโปรแกรม Fldigi (fldigi.exe) แล้วคลิก OK เป็นอันเสร็จสิ้น (ในที่นี้ในเครื่องต้องมีโปรแกรม Fldigi แล้ว ถ้ายังไม่มีให้ติดตั้งโปรแกรม Fldigi ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน)


 หลังจากติดตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะได้หน้าตาโปรแกรมประมาณนี้

 ปัญหาที่บางท่านอาจจะเจอคือไม่มีสัญญาณเสียง เข้า/ออก อาจจะยังไม่ได้ตั้งค่า Sound Cardในโปรแกรม Fldigi ให้ไปตั้งค่าตามรูป





 กรณีที่ใช้กับชุด CAT ถ้าเจอปัญหา คีย์ค้าง หรือ โปรแกรมหยุดส่งสัญญาณแล้วแต่วิทยุยังคง PTT อยู่ ให้ลองเลือก Enable Both Hardware & Software PTT ในโปรแกรม N1MM


ตัวอย่าง ลูกเล่นของโปรแกรม Fldigi ในการรับหลาย ๆ สัญญาณพร้อมกัน อาจจะช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้ เวลาแข่งขัน


ขอให้สนุกกับการติดต่อ / แข่งขัน ในโหมดดิจิตอลนะครับ
 

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ใช้เวลาถึง 2 วันกว่าจะติดต่อได้ VE9DX

 VE9DX จาก Canada ระยะทาง 13881.1 km ได้นัดผมให้มาติดต่อกันที่ความถี่ 18 MHz เพื่อการยืนยันการติดต่อด้วย LoTW เราใช้เวลา 2 วันกว่าจะติดต่อกันได้ ผมรับเขาด้วยสายอากาศ ไดโพล 21 MHz 


และหลังจากนั้นไม่นาน VE9DX ก็ได้ส่งภาพหน้าจอมาพร้อมกับแจ้งว่ารับสัญญาณด้วยสายอากาศไดโพล ย่านความถี่ 3.5 MHz

 ระบบ JT65 ก็สนุกไปอีกแบบนะครับ


 ในที่สุดก็ได้รับการยืนยันใน LoTW