วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เครื่องรับ 21 MHz หลังจากเพิ่ม Preamp

บทความนี้ต่อเนื่องมาจาก http://hs8jyx.blogspot.com/2013/01/vfo-6-mhz.html

ผมได้เลือกใช้ RF-Preamp 21 MHz ของ W7ZOI


ใส่ Att 10 dB เพื่อลดความแรงของสัญญาณลงในกรณีที่สัญญาณเข้ามาแรงมากเกินไป


ถ้าต้องการที่จะลดทอนสัญญาณเป็นค่าอื่น ๆ เราสามารถคำนวนใหม่ได้ หรืออาจจะใช้โปรแกรม


สามารถ Download ได้ที่ http://en.kioskea.net/download/download-11156-attenuator-calculator
 


วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

เครื่องรับ 21 MHz Super VXO ของ HS3XVP

รูปเครื่องรับวิทยุความถี่ 21 MHz ของ HS3XVP จากการทดสอบตัวนี้สามารถรับฟังใด้ในช่วง 21.195 MHz - 21.256 MHz ซึ่งมีความกว้างถึง 61 KHz สำหรับระบบ Super VXO แล้วถือว่าทำได้ดีเลย (ไม่มีปัญหา Freq drift)




จากรูปด้านล่าง สายสีแดงควรจะสั้นที่สุด และไม่ควรวางผาดผ่านสายอื่น ๆ เพื่อคุณภาพของเครื่องรับ และแก้ปัญหาสัญญาณรบกวนต่าง ๆ


วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดลองเสถียรภาพของวงจร Super VXO ความถี่ 21 MHz


รูปวงจรที่ใช้ในการทดลอง ต่ออุปกรณ์ดังรูป มีการ shield กล่องแต่ไม่ครบทุกด้าน ไม่มีการชดเชยอุณหภูมิ ขดลวด 5.6 uH ใช้แบบสำเร็จรูป และอุณหภูมิห้องในการทดลองประมาณ 31 C. 


เราเลือกใช้แร่ 21.251465 MHz จำนวน 2 ตัว การทดลองจะทดลองที่ 2 ความถี่คือ ความถี่ที่ดึงความถี่แร่ลงมาได้มากที่สุด 21.181200 MHz โดยประมาณ (ึงลงมา 70265 Hz หรือ 70.265 KHz)
และความถี่ที่ 2 คือความถี่ที่ดึงความถี่แร่ลงมาปานกลาง คือ 21.232550 MHz
(ึงลงมา 18915 Hz หรือ 18.915 KHz)

 
ตารางที่ 1 ความถี่ที่ดึงความถี่แร่ลงมาได้มากที่สุด 21.181200 MHz (วงจรตัวอย่าง) ในเวลา 45 นาที ความถี่ผิดเพื้ยนไปจากตอนเริ่มเปิดเครื่อง 5050 Hz หรือ 5.5KHz ซึ่งถือว่ามาก

 ตารางที่ 2 ความถี่ที่ดึงความถี่แร่ลงมาปานกลาง คือ 21.232550 MHz
ความถี่ผิดเพื้ยนไปจากตอนเริ่มเปิดเครื่อง 650 Hz หรือ 0.65 KHz ซึ่งก็ยังถือว่ามากอยู่ แต่ถ้ามีการเปิดเครื่องทิ้งไว้ก่อนใช้งานจริง 5 นาที จะมีความผิดเพื้ยนรวม 260 Hz สำหรับการทำเครื่องรับฟังระบบเสียงพูด SSB ถือว่ายังใช้งานได้ ไม่มีปัญหา แต่ยังคงมากอยู่สำหรับระบบ CW

 สิ่งที่ควรทำเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของวงจรคือ 
  • ไม่ควรดึงความถี่ของแร่ลงมามากเกินไปจนเกิดความเพื้ยนเกินที่จะยอมรับได้ ถ้าเรารับสัญญาญที่ความถี่ไม่ต่างจากความถี่ที่เขียนไว้บนตัวแร่มากนัก วงจรจะมีเสถียรภาพดีมาก แต่ถ้ายิ่งความถี่ต่ำลงมาก ความเพี้ยนก็ยิ่งมากขึ้นตามลำดับ
  • จัดให้มีการชดเชยอุณหภูมิ 
  •  ขดลวดพันบนแกนที่มี เสถียรภาพทางความร้อนดี เช่นแกน Toroid แบบ Mix6 และยึดให้แน่นหนาไม่มีการคลื่อนที่ของขดลวด รวมไปถึงใช้ขดลวดขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย เพราะขดลวดขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงความร้อช้ากว่าขดลวดขนาดเล็ก
  • ทำกล่อง Shield  ให้วงจร อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดความร้อนควรแยกไว้นอกกล่อง เช่น IC Regulator เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดลองวงจร VFO 6 MHz





ทดลองวงจร VFO ความถี่ประมาณ 6 MHz ใช้ J310 เป็นตัวกำเนิดความถี่ และ Buffer ปัญหาเรื่องความถี่เลื่อนหรือ Frequency Drift มีน้อยมากหลังจากเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม คาปาซิเตอร์ เลือกใช้แบบ NPO monolithic cap และมีการ shield กล่องความแรงของสัญญาณ Output ประมาณ 1.6 Vp-p


 รูปวงจรตัวอย่าง ในขณะที่ยังไม่ต่อวาริแคปไดโอดเพื่อปรับแต่งความถี่ L1 พันบนแกนทอรอยแบบ Mix 6 เช่น T50-6 อุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ในกล่องโลหะ

 ผลการทดลองครั้งที่ 1 ใช้เวลาในการทดลองเปิดเครื่องทิ้งไว้ 20 นาที ช่วงนาทีที่ 1-9 ความถี่จะค่อย ๆ ตกลงทีละนิด ตั้งแต่นาทีที่ 9 เป็นต้นไปความถี่จะนิ่งมาก รวมความถี่ที่ผิดเพื้ยนไป 160 Hz
 รูปที่ 2 ผลการทดลองของวิทยุรับส่ง SW-20 ของ Small Wonder Labs ระยะเวลาในการทดลอง 20 นาทีเช่นเดียวกัน แต่ความถี่จะเริ่มนิ่งหลังจากนาทีที่ 13 เป็นต้นไป รวมความถี่ที่ผิดเพื้ยนไป 110 Hz


 รูปวงจร VFO ของเครื่องรับส่ง SW-20 ใช้ขดลวดพันบนแกน T37-6




ทดลองวงจร VFO ครั้งที่ 2  รวมความถี่ที่ผิดเพื้ยนไป 230 Hz ในเวลา 20 นาทีเช่นเดิม


ทดลองวงจร VFO ครั้งที่ 3  รวมความถี่ที่ผิดเพื้ยนไป 340 Hz 


ทดลองวงจร VFO ครั้งที่ 4  เปลี่ยนมาใช้แรงดันไฟเลี้ยงจาก Power Supply 13.8 V รวมความถี่ที่ผิดเพื้ยนไป 320 Hz 

ทดลองวงจร VFO ครั้งที่ 5 เพิ่ม Capacitor แบบ N220 เข้าไปเพื่อชดเชย อุณหภูมิ เมื่อ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นค่าความจุจะลดลงมีผลทำให้ความถี่สูงขึ้น ได้ผลออกมาดีกว่าเก่า รวมความถี่ที่ผิดเพื้ยน 120 Hz


ทดลองวงจร VFO ครั้งที่ 6 ทดลองเป็นเวลา 25 นาที แต่ 20 นาทีแรกมีความถี่ผิดเพื้ยน 80 Hz ซึ่งถื่อว่าน้อยกว่าทุก ๆ ครั้ง ส่วน 25 นาทีมีความถี่ผิดเพื้ยนรวม 110 Hz

ต่อโวลุ่มปรับความถี่


เพิ่มเติมการชดเชยอุณหภูมิ

ลองเปลี่ยนไดโอด UF4004 เป็น BB135 ความถี่ที่ได้จะนิ่งกว่า ส่ว Bandwidth นั้นไม่แตกต่างกันมาก


ทดลองนำวงจร VFO 6 MHz มาทำเครื่องรับวิทยุ 21 MHz (ในรูปเป็นขั้นตอนการทดลอง ยังไม่ได้จัดอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ) 
 

วันที่ 19 มกราคม 2556 
วันนี้มาประกอบเครื่องกันต่อ ผมได้เพิ่ม IC MC1350 เข้าไป เพื่อขยาย IF และยังจะมีผลพลอยได้อีกสองอย่างคือ 1.เพิ่มวงจร AGC ไม่ให้เสียงดังบ้างเบาบ้าง 2.ใส่ S-Meter  ให้ดูดีมีราคาสักหน่อย

ลังจากใส่ MC1350 แล้วผมเพิ่งมาสังเกตุว่า VFO ของเรามี Bandwidth กว้างเกินไป ผมต้องการรับแค่ CW ประมาณ 50-60 KHzเท่านั้น แต่นี่รับได้ตั้ง กว่า 100 KHz ทำให้รับอย่างอื่นที่ไม่ต้องการได้ด้วย ผมเลยต้องแก้ไขวงจร VFO ดังรูปด้านล่าง

 
 จากวงจรนี้ VFO มี Bandwidth ประมาณ 50 KHz ขอเน้นว่า C แบบ NP0 และ N220 ควรใส่ให้ตรงตามนี้นะครับ เพื่อป้องกันความถี่ Drift


ลักษณะการต่อวงจรของ IC MC1350
  

ทดลองวัดความถี่ VFO อีกครั้ง


ในระยะเวลา 30 นาที ความถี่ Drift ไป 180 Hz 

วันที่ 20 มกราคม 2556 

จัดวงจรให้ดูง่ายขึ้น และกรีดลายปริ้นเป็นเส้นทางเดินไฟ +12 และ + 8 โวลต์

  

22 มกราคม 2556
ออกแบบวงจร Crystal Filter ใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น


วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทดลองในปี 2012

ลองเอาการทดลองเกี่ยวกับวิทยุบางส่วนในปี 2012 มาวางรวม ๆ กันครับ



ขอให้เพื่อน ๆ สนุกกับการทดลองต่อไปในปี 2013 นะครับ

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทดลองเครื่องรับ 27-29 MHz ระบบ FM 1 ช่องความถี่


วงจรกำเนิดความถี่ที่ใช้ กำเนิดความถี่ 16.XXX MHz จะเป็น 16 เท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับช่องความถี่ที่เราต้องการ 
สามารถคิดได้จาก ช่องความถี่ที่เราต้องการ -10.7 MHz เช่น ผมต้องการความถี่ 27.185 MHz (ช่อง 19C)

27.185 - 10.7 = 16.485 MHz แต่แร่ที่ตรงความถี่ที่เราต้องการไม่มีขาย พอจะหาได้ที่ 16.490 MHz ซึ่งก็สามารถใช้ได้ เราอาจจะดึงความถี่ของแร่ลงมานิดหน่อยด้วยการเพิ่มค่า C1 C2 


เครื่องรับระบบ FM (สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์รับ AM /SSB/CW ได้)ใช้ MC3362 และวงจรกำเนิดความถี่ภายนอก เครื่องตัวอย่างนี้สามารถเลือกรับได้ในช่วง 27-29 MHz ในรูปยังไม่ต่อ โวลลุ่ม, SQL, และ preamp.

 

ทดลองรับสัญญาณ


ตัวอย่างการต่อวงจร

ในตัวอย่างผมได้กรีดแผ่นปริ้นออกมาตามรูป เพื่อความสะดวกในการประกอบ เพื่อน ๆ อาจจะใช้เทคนิคการต่อสายแบบอื่น ๆ ก็ได้ตามสะดวก


ตัวอย่างการกรีดลายปริ้น เพื่อลดการใช้สายไฟ



ชุดอุปกรณ์สำหรับเพื่อนสมาชิก