วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สร้างเครื่องส่งวิทยุระบบ CW ความถี่ 14 MHz กำลังส่งประมาณ 3 วัตต์

สร้างเครื่องส่งวิทยุ CW แบบง่าย ๆ ในที่นี้จะใช้แร่ความถี่ 14.060 MHz ถ้าต่อตามวงจรนี้ก็จะสามารถปรับความถี่ได้กว้างประมาณ 5-6 KHz ส่วนกำลังส่งประมาณ 2.5 - 3 วัตต์โดยประมาณ





วงจรแบบ PDF https://drive.google.com/file/d/0BxgJ9QX1BWUyNHhCR1AtOHdOMTQ/edit?usp=sharing

การพันขดลวด

L1 = 19 รอบบนแกน FT37-43
L2 = 10 รอบบนแกน FT37-43
L3 และ L4 = 10 รอบบนแกน T37-2
หม้อแปลง T1 = 12/4 รอบ บนแกน FT37-43
L5 = 31 รอบบนแกน T37-2




ไฟสีเขียวเป็นไฟ Power ไฟสีแดง เป็นไฟ TX หรือจะติดตามจังหวะการส่งสัญญาณ


วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

NE602 มีเครื่องหมายประเทศไทย แต่หาซื้อได้ยากในเมืองไทย


NE602 มีเครื่องหมายประเทศไทย แต่หาซื้อได้ยากในเมืองไทย10 ตัวนี้สั่งมาจากฮ่องกง ของ PHILIPS คุณภาพดี ทนทานด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

เครื่องส่ง 14.060 MHz CW ตัวเดิมแต่ปรับปรุงแผ่นวงจรใหม่




เครื่องรับ 40 Mini receiver




เป็นเครื่องรับวิทยุระบบ DC แบบง่าย ๆ ผลิตความถี่ด้วย VXO (7.030 MHz) Bandwidth ประมาณ 4-5 KHz ใช้ NE602 ในภาครับ และ LM386 ในภาคขยายเสียง วงจรนี้เน้นให้มีขนาดเล็ก ใช้แรงดันไฟเลี้ยงจากถ่าน 9 โวลต์ ใช้หูฟังแทนลำโพงขนาดใหญ่ จากการทดลอง สามารถรับสัญญาณได้ดี แม้ว่าใช้สายอากาศง่าย ๆ อย่างไดโพลก็ตาม





Capacitor
0.1uF = 104
180pF = 181
270pF = 271
0.01uF = 103
15pF = 15 หรือ 150
22pF = 22 หรือ 220
100pF = 101



ขดลวด 15 uH ใช้ขดลวดสำเร็จรูป อาจจะใช้ค่า 10- 12 uH ก็ได้ 
ขดลวด 1.5 uH ใช้ลวดขนาดเล็กพันบนแกน T37-2 (แกนสีแดง) จำนวน 19 รอบ







เวอร์ชั่น 14 MHz สามารถทำได้โดยเปลี่ยนค่าอุปกรณ์บางตัว จากการทดลองพบว่าถ้าใช้แร่ 14.060 MHz สามารถรับได้ในช่วง 14.056-14.064 MHz โดยประมาณ







การต่อสาย (ให้ดูเฉพาะการต่อสาย อย่าดูการลงอุปกรณ์บนแผ่น PCB ในรูปนี้)

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

การลงอุปกรณ์และการทำงานของวงจรเครื่องรับ Premix

ในตัวอย่างนี้จะขอเริ่มต้นด้วยการลงอุปกรณ์เวอร์ชั่น 21 MHz ก่อน ส่วนเวอร์ชั่นอื่น ๆ ก็เปลี่ยนแค่ค่าอะใหล่บางตัวครับ



ลำดับขั้นตอนในการประกอบ
1. ให้ลงอุปกรณ์ในส่วนของ VFO 6 MHz ก่อน 



ถ้าใช้ค่า C ตามรูปขดลวดที่พันบนแกนจะมีค่าอยู่ในช่วง 3.5-4 uH โดย
พัน  29-30 รอบบนแกน T50-7 (แกนขาว) 
พัน 30-32 รอบบนแกน T50-6 (แกนเหลือง)

หลังจากประกอบส่วนนี้เสร็จ วัดความถี่และปรับแต่งความถี่ให้ได้ 6.000-6.300 MHz โดยประมาณ (กว้างหรือแคบกว่านี้สามารถทำได้โดยถ้าต้องการให้กว้างให้เพิ่มค่าของขดลวด และลดค่าของ C ลง อ่านรายละเอียดได้ที่ http://hs8jyx.blogspot.com/2013/08/ssbcw-7-mhz-fine-tune.html#more ด้านล่างครับ)

ถ้าความถี่ที่ออกมาต่ำไปแสดงว่าจำนวนรอบของขดลวดมากไป ตรงกันข้ามถ้าความถี่ที่ออกมาสูงไปแสดงว่าจำนวนรอบน้อยไป ให้ปรับแต่งขั้นตอนนี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ถึงจะไปประกอบวงจรส่วนที่ 2 


วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การต่อสายและการลงอุปกรณ์วงจร rf field strength meter แบบง่าย ๆ

การต่อสายและการลงอุปกรณ์วงจร RF Field Strength Meter แบบง่าย ๆ







สีของตัวต้านทานมีดังนี้
10K = น้ำตาล ดำ ส้ม ทอง
20K = แดง ดำ ส้ม ทอง
1K = น้ำตาล ดำ แดง ทอง
47 = เหลือง ม่วง ดำ ทอง

L1 ใช้ขดลวดทองแดงพันบนแกนดินสอ จำนวน 3 รอบ 
ไดโอดควรใช้ 1N60 /1N60P หรือเบอร์แทน ถ้าไม่มีจริง ๆ สามารถใช้ 1N4148 แต่ความไวจะลดลง

 
สายสีดำเป็นสายไฟลบหรือสายกราวด์

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดูการทำงานของ JFET แบบง่าย ๆ


ต่อรูปตามวงจร เมื่อแรงดันที่ขา G เป็น 0 โวลต์ กระแสจะไหลมากที่สุด หลอด LED จะสว่างที่สุด จากนั้นลองลดแรงดันไฟที่ขา G ลง เป็น -1,-2.. ไปเรื่อย ๆ หลอด LED จะค่อย ๆ มืดลงจนถึงประมาณ - 5 โวลต์ LED ก็ดับสนิท


ในรูปมิเตอร์จะแสดงแรงดันไฟลบที่ขา Gate

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การลงอุปกรณ์และรายละเอียดเครื่องรับวิทยุแบบ Super VXO ใหม่

**My kits sell on ebay.**
 
วงจรเครื่องรับแบบ Super VXO แผ่นวงจรชุดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้หลากหลายความถี่ เพียงแค่เปลี่ยนอะใหล่บางตัวตามความถี่ที่ต้องการรับ

วงจรนี้ปรับปรุงมาจากวงจร Super VXO ตัวก่อน ๆ ที่เคยทำมาตัวก่อน ๆ ที่อาจจะมีปัญหา เช่น มีเสียงโกรกกรากเวลาจูนความถี่ มีสัญญาณรบกวนจากวิทยุกระจายเสียง ภาคขยายเสียงมีเสียงฮัม (บางเครื่อง)

วงจรแบบ Super VXO อาจจะมีข้อจำกัดคือรับสัญญาณได้ไม่กว้างมากนัก ไม่คลอบคลุมทั้งแบนด์ แต่มีข้อดีในเรื่องความถี่ที่คงที่ไม่เลื่อน ไม่แกว่งไปมาแบบที่ใช้วงจรกำเนิดความถี่แบบ LC และที่สำคัญถึงแม้ไม่มีเครื่องมือในการวัดความถี่ก็ยังสามารถประกอบได้



วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การลงอุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ SSB/CW ความถี่ 7 MHz มี Fine Tune

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ให้ความสนใจร่วมทดลองโครงงานชิ้นนี้ครับ  โครงงานนี้เป็นวงจรเดียวกับเวอร์ชั่น 14 MHz (http://hs8jyx.blogspot.com/2013/06/14-mhz-vfo.html) แต่เราทำแผ่นวงจรขึ้นมาใหม่เพื่อลดความยุ่งยากเรื่องการทำกล่องซีล  สำหรับความถี่ 7 MHz ความถี่ค่อนข้างคงที่ ไม่มีปัญเรื่องความถี่เลื่อนมากจนยอมรับไม่ได้เลยไม่ต้องทำกล่องซีล



ความถี่ 7 MHz จะติดต่อทางไกลได้ดีในเวลากลางคืน เพื่อนสมาชิกที่ยังไม่เคยเล่นความถี่นี้ ไม่ต้องแปลกใจถ้ากลางวันรับใครไม่ได้เลย หรือรับได้แต่เสียงรบกวนแปลก ๆ 


สามารถ Download ลาย PCB ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0BxgJ9QX1BWUyWnBVbE1BSlJfR1E/edit?usp=sharing



ขดลวด 1.5 uH ใช้ขดลวดทองแดงพันบนแกน T37-2 (สีแดง) จำนวน 19 รอบ (การนับรอบของแกน http://15meter-radio.blogspot.com/2013/02/toroid.html)

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรม WSJT-X Version 1.1 รวม JT65 และ JT9 ไว้ในโปรแกรมเดียว

(บทความก่อนหน้าที่เคยพูดถึง WSJT-X http://hs8jyx.blogspot.com/2012/10/wsjt-x-wsjt.html เวอร์ชั่น 0.2 จะเห็นได้ว่าโปรแกรมพัฒนาลูกเล่นต่าง ๆ ไปมาก)

โปรแกรม WSJT-X Version 1.1  รวม JT65 และ JT9 ไว้ในโปรแกรมเดียว เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน นอกจากนี้ยัง Decode ได้ทั้งสองระบบในเวลาเดียวกัน

ด้านซ้ายเป็นของคนเล่น JT65 ด้านขวาเป็น JT9 


การแสดงผลแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ดูง่ายขึ้น
 ใน Logbook of the World  ก็รองรับระบบ JT9 เรียบร้อยแล้ว