วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เปิดฝา Spender Commando 246 BM วิทยุซีบี CB เครื่องแดง

เปิดฝา Spender Commando 246 BM วิทยุซีบี CB เครื่องแดง

เปิดฝา Spender Commando 246 BM

เปิดฝา Spender Commando 246 BM

เปิดฝา Spender Commando 246 BM

เปิดฝา Spender Commando 246 BM

เปิดฝา Spender Commando 246 BM

เปิดฝา Spender Commando 246 BM

เปิดฝา ICOM IC 2200H ให้ชม

เปิดฝา ICOM IC 2200H ให้ชม

คุณสมบัติวิทยุ ICOM IC 2200-T

คุณสมบัติวิทยุ ICOM IC 2200-T

คุณสมบัติวิทยุ ICOM IC 2200-T

คุณสมบัติวิทยุ ICOM IC 2200-T

คุณสมบัติวิทยุ ICOM IC 2200-T

คุณสมบัติวิทยุ ICOM IC 2200-T

D 13 ไดโอดตัวนี้ถ้าถอดออกจะสามารถส่ง 136-174 MHz (เปิดแบนด์) ถ้าใส่กลับเข้าไปก็จะปิดแบนด์

http://www.hs8jyx.com/html/ic_2200.html


ทดลองทำสายอากาศ resonant feed-line dipole สำหรับย่าน 20 เมตร (14 MHz)

ทดลองทำสายอากาศ resonant feed-line dipole สำหรับย่าน 20 เมตร (14 MHz)

http://www.hs8jyx.com/html/rfd_antenna.html


ทดลองทำสายอากาศ resonant feed-line dipole สำหรับย่าน 20 เมตร (14 MHz)

ทดลองทำสายอากาศ resonant feed-line dipole สำหรับย่าน 20 เมตร (14 MHz)

สร้าง ATU (Antenna Tuning Unit) แบบ QRP ไว้ใช้เอง ในย่าน HF (14 - 30 MHz)

สร้าง ATU (Antenna Tuning Unit) แบบ QRP ไว้ใช้เอง ในย่าน HF (14 - 30 MHz)

ATU ชุดนี้ ผมได้ทดลองทำเล่น ตอนแรกจะเอาไว้ใช้สำหรับย่าน 20 เมตรอย่างเดียว แต่พอทำเข้าจริง ๆ เห็นว่ามันไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด เลยใส่ Select Switch อีกตัว สำหรับความถี่ 18 - 28 MHz ด้วย สำหรับการพันขดลวด ผมได้พันบนแกน PVC ขนาด 1/2 นิ้ว

สร้าง ATU (Antenna Tuning Unit) แบบ QRP ไว้ใช้เอง ในย่าน HF (14 - 30 MHz)

แผ่น วงจรในต้นแบบอาจจะเห็นรอยบัดกรีหลายจุด จริง ๆ แล้วมันเป็นแผ่นวงจรเก่า เคยใช้งานมาแล้ว (ไม่อยากชื้อใหม่) ถ้าทำใหม่ บัดกรีแค่ไม่กี่จุดเองครับ

วาริเอเบิ้ล คาปาซิเตอร์ เราจะนำขาข้างทั้งสองมาต่อเข้าด้วยกัน (ขนานกัน เพื่อให้ได้ค่ามากขึ้น)

สร้าง ATU (Antenna Tuning Unit) แบบ QRP ไว้ใช้เอง ในย่าน HF (14 - 30 MHz)

  • 28 MHz = บัดกรีที่ประมาณรอบที่ 1.5
  • 24-27 MHz = บัดกรีที่ประมาณรอบที่ 2
  • 21-24 MHz = บัดกรีที่ประมาณรอบที่ 3
  • 14-15 MHz = บัดกรีที่ประมาณรอบที่ 4

สำหรับ ท่านที่จะทดลองทำอาจจะใช้ขดลวดขนาดอื่น ๆ ก็ได้ ให้ลองเปลี่ยนจุดบัดกรีดู ถ้าความถี่ต่ำลง จำนวนรอบก็จะมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

สภาพอากาศต่อการแพร่กระจายคลื่นย่าน VHF

ผลของสภาพอากาศต่อการแพร่กระจายคลื่น เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ดูเหมือนจะลึกลับเอาการ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่ ทำไมบางครั้งยิ่งดึกยิ่งรับสัญญาณได้ดียิ่งขึ้น ? ทำไมตอนก่อนพระอาทิตย์ขึ้นสัญญาณที่รับได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็ว ? ทำไมเดือนนั้นเดือนนี้จึงรับสัญญาณทางไกลได้ดี ขณะที่บางเดือนรับสัญญาณได้แย่ลง ?

รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความชื้นของอากาศและความแรงของสัญญาณที่รับได้

รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความชื้นของอากาศและความแรงของสัญญาณที่รับได้

จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าความชื้นของสายอากาศในเส้นทางผ่าน ระหว่าง เครื่องรับและเครื่องส่ง มีค่าน้อยลงสัญญาณที่ได้จะแรงขึ้น ถ้าวันที่ฝนตก สัญญาณที่ได้จะลดลง

รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความสูงของเมฆและความแรงของสัญญาณที่รับได้

รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างความสูงของเมฆและความแรงของสัญญาณที่รับได้

จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าระดับความสูงของเมฆสูงขึ้น สัญญาณจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่าง ช้า ๆ ซึ่งจะขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่า ถ้าเมฆอยู่ต่ำจะทำหน้าที่เหมือนท่อนำคลื่น ทำให้สัญญาณไปได้ไกล และแรงขึ้น ผลการทดลองนี้จะสอดคล้องกับรูปแรก คือในตอนที่ฝนตกเมฆจะลอยลงมาต่ำ

รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความแรงของสัญญาณที่รับได้

รูปแสดงความสำพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความแรงของสัญญาณที่รับได้

จากรูปจะแสดงให้เห็นว่า ถ้าอุณหภูมิในช่วงเส้นทางผ่านของสัญญาณลดลง สัญญาณจะแรงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเดิมที่ว่า สัญญาณจะแรงขึ้นในหน้าหนาวและ ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส


การทดลองแบบง่าย ๆ ของผมเอง

การทดลองรับสัญญาณ ระหว่างวันที่ฝนตก และวันที่ฝนไม่ตก ท้องฟ้าโปร่ง โดยอาศัยสถานีวิทยุ ของเพื่อนสมาชิก "อาสารวมใจท่าชนะ " ที่ความถี่ 144.400 MHz จะมีการทดสอบสัญญาณ ตอนประมาณ 20.00 น. ของทุกวัน

ถ้าวัดระยะทางอากาศจาก Google Earth ก็ประมาณ 170 กิโลเมตร

ถ้าวัดระยะทางอากาศจาก Google Earth ก็ประมาณ 170 กิโลเมตร

ข้อมูลสถานีของผมคือ

  • เครื่องวิทยุ ICOM IC-2100T
  • สายอากาศรอบตัว V2 3 ชั้น
  • สายอากาศวางบนชั้น 2 ของบ้าน (ส่วนฐานของสายอากาศสูงกว่าหลังคาบ้านประมาณ 3-4 เมตร)
  • การทดลองนี้ใช้เวลาภายในเดือนเดียวกัน แต่นำไฟล์วีดีโอมาลงแค่ 2 ไฟล์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ




ผลการรับสัญญาณ ในวันที่ฝนตก




ผลการรับสัญญาณ วันที่ฝนไม่ตก ท้องฟ้าโปร่ง


ผลของการทดลองก็คือ วันที่อากาศโปร่ง ฝนไม่ตก จะรับสัญญาณได้ดีกว่าพอสมควร


http://www.hs8jyx.com/html/vhf_climate.html

ขั้วต่อสาย Coaxial แบบต่าง ๆ

ขั้วต่อสาย Coaxial แบบต่าง ๆ
ขั้วต่อสายแบบ BNC

BNC (Bayonet Neill Concelman) Bayonet แปลว่า เขี้ยว หรือสลัก

ขั้ว ต่อแบบ BNC เป็นที่นิยมใช้สำหรับ สัญญาณ RF ,วีดีโอ,ขั้วต่อสายอากาศ ,เครื่องมือทดลองต่าง ๆ และอื่น ๆนำมาใช้ทดแทนขั้วแต่แบบ RCA ขั้วต่อ BNC มี่ทั้งแบบ 75 และ 50 โอห์ม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในความถี่ได้สูงสุดถึง 4 GHz

แบบ impedance ความถี่สูงสุด RF Peak Peak Power ราคา รูป
UHF 50 300 MHz 500 โวลต์ 500 วัตต์ ถูก UHF
BNC 50 หรือ 75 4 GHz 1000 โวลต์ 500 วัตต์ ถูก BNC
TNC 50 10 GHz 1000 โวลต์ 1000 วัตต์ ปานกลาง TNC
N 50 หรือ 75 11 GHz 1000 โวลต์ 1000 วัตต์ ปานกลาง N
C 50 11 GHz 1500 โวลต์ - - C
SMA 50 18 GHz 1000 โวลต์ 500 วัตต์ ปานกลาง SMA
F 75 1 GHz - - ถูก F

ขั้วต่อสายแบบ TNC

TNC (threaded Neill-Concelman) ดัดแปลงมาจาก ขั้วต่อแบบ BNC โดยเพิ่มเกลียวเข้าไป โดยมีค่า impedance เท่ากับ 50 โอห์ม สามารถใช้งานที่ความถี่สูงถึง 10 GHz คุณสมบัติดีกว่าขั้วต่อแบบ BNC ที่ย่านความถี่ไมโครเวพ ขั้วต่อ TNC สามารถนำไปใช้งานงานวิทยุได้อย่างกว้างขวาง

ขั้วต่อสายแบบ UHF

ขั้ว ต่อ UHF ถูกนำมาใช้ในตอนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนำมาใช้ที่ความถี่สูงกว่า 30 MHz ในครั้งแรกใช้สำหรับเป็นขั้วต่อ วีดีโอ ในระบบเรดาห์ หลังจากนั้นได้นำมาใช้งาน RF ทั่วไป ขั้วต่อ UHF ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในย่าน HF และ VHF สามารถรองรับกำลังงานได้ถึง 1 กิโลวัตต์ แต่ขั้วต่อแบบนี้ไม่สามารถนำไปใช้ในย่าน UHF หรือความถี่ที่สูงกว่าา 300 MHz ได้ (ชื่อ UHF จึงเป็นแค่ชื่อเรียกเท่านั้น)

ขั้วต่อ UHF จะมีชื่อเรียกย่อยลงไปอีกคือ ถ้าเป็นตัวผู้จะเรียกว่า PL-259 (PL = Plug) ส่วนตัวเมียจะเรียกว่า SO-239 (SO = Socket)

PL-259

PL-259

SO-239

SO-239

ขั้วต่อสายแบบ N

ชื่อของขั้วต่อแบบนี้มาจากชื่อของผู้ประดิษฐ์ ซึ่งก็คือ Paul Neill เมื่อปี 1940 ขั้วต่อแบบ N จะมีทั้งแบบ 50 และ 75 โอห์ม แบบ 50 โอห์มจะนิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สาย เช่น wireless LAN เป็นต้น ส่วนแบบ 75 โอห์มจะนิยมใช้ในวงการเคเบิ้ลทีวี

ขั้วต่อแบบ N แบบ 50 โอห์ม (ด้านล่าง) และแบบ 75 โอห์ม (ด้านบน)

ขั้วต่อแบบ N แบบ 50 โอห์ม (ด้านล่าง) และแบบ 75 โอห์ม (ด้านบน)

ขั้วต่อสายแบบ C

ขั้วต่อแบบ C ถูกประดิษฐ์โดยนาย Carl Concelman ขั้วต่อแบบนี้จะมี เขี้ยวล็อกแบบ BNC มีขนาดปานกลางและป้องกันน้ำได้

ขั้วต่อสายแบบ C

ขั้วต่อแบบ C ทั้งแบบ 75 โอห์มและ 50 โอห์ม

ขั้วต่อแบบ C ทั้งแบบ 75 โอห์มและ 50 โอห์ม

ขั้วต่อสายแบบ SMA

ขั้วต่อแบบ SMA (SubMiniature version A) ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี 1960 เป็นขั้วต่อที่มีขนาดเล็กมีค่า impedance 50 โอห์ม สามารถใช้ได้ในย่านความถี่ตั้งแต่ไฟ DC จนถึง 18 GHz

SMA จะใช้สาร polytetrafluoroethylene (PTFE) เป็นฉนวน

SMA จะใช้สาร polytetrafluoroethylene (PTFE) เป็นฉนวน

ขั้วต่อสายแบบ F

ขั้วต่อแบบ F นิยมใช้งานสำหรับ ระบบทีวีรวม เคเบิ้ลทีวี ใช้คู่กับสาย RG-6 หรือไกล้เคียง ถูกประดิษฐ์โดย Eric E. Winston ตั้งแต่ปี 1950 ขั้วต่อ F จะมีค่า impedance 75 โอห์ม สามารถใช้งานในความถี่สูงถึงระดับ GHz ที่สำคัญคือราคาถูก การต่อใช้งานไม่จำเป็นต้องบัดกรีสาย


ใน การเลือกใช้ขั้วต่อสายแบบใดนั้น จะเริ่มต้นจากย่านความถี่ใช้งาน กำลังงานที่จะส่งผ่าน ต้องใช้งานกับปรีแอมป์ที่มีสัญญาณรบกวนต่ำหรือเปล่า ความต้องการถอดออกง่ายเพียงใด ขนาดของสาย Coaxial ใหญ่แค่ใหน บริเวณใช้งานมีสัญญาณรบกวนสูงมากหรือไม่

  • สำหรับ ท่านที่ต้องการใช้งานกำลังส่งสูง ๆ ควรจะต้องพยายามเลือกขั้วต่อแบบที่มีการสูญเสียในตัวมันน้อยด้วย เช่นการสูญเสีย 0.1dB สำหรับกำลังส่ง 1,000 วัตต์ หมายความว่า จะมีกำลังสูญเสียในขั้วต่อสาย 2.25 % หรือ 22.5 วัตต์ ซึ่งมากพอที่จะทำลายขั้วต่อสาย
  • PL - 259 ผลิตออกมาหลายคุณภาพ บางยีห้อวัสดุที่เป็นฉนวน คุณภาพต่ำ ราคาถูก ทำให้มีการสูญเสียมากในย่าน VHF ดั้งนั้นควรเลือกแบบที่มีคุณภาพดี ๆ หน่อย
http://www.hs8jyx.com/html/radio_connector.html

วิธีการวัดแรงดันด้วยมิเตอร์เข็มสำหรับมือใหม่

วิธีการวัดแรงดันด้วยมิเตอร์เข็มสำหรับมือใหม่

มิเตอร์ เข็มโดยทั่วไปสามารถวัดแรงดันไฟได้ทั้งแบบกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) สำหรับมิเตอร์ตัวอย่าง สามารถวัดแรงดันไฟตรงได้ตั้งแต่ ระดับไมโครโวลต์ไปจนถึง 1 กิโลโวลต์


วิธีการวัดแรงดันด้วยมิเตอร์เข็มสำหรับมือใหม่


มิเตอร์ ตัวนี้จะสามารถตั้ง range หลายค่า ด้านซ้ายจะเป็นแรงดันไฟกระแสตรง ส่วนด้านขวาจะเป็นกระแสสลับ ถ้าเราไม่ทราบแรงดันที่จะวัดให้ปรับไว้ที่สูงสุดก่อนคือ 1000 โวลต์ จากนั้นค่อย ๆ ลดระดับลงมา เพื่อความละเอียดในการวัด เช่น แรงดันไฟ 12 โวลต์ ถ้าเราอ่านจาก range 1000 โวลต์จะอ่านค่าได้ไม่ละเอียดพอ เราต้องลดระดับ range ลงมาเป็น 50 โวลต์ ถึงจะอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง

ก่อน ที่เราจะวัดแรงดันไฟฟ้า เราต้องรู้คร่าว ๆ ก่อนว่าเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง หรือกระแสสลับ สำหรับไฟฟ้ากระแสตรงเวลาวัดจะต้องคำนึงถึงขั้วด้วย โดยสายสีแดงจะเป็นขั้ว บวก และสายสีดำจะเป็นขั้วลบ


วิธีการวัดแรงดันด้วยมิเตอร์เข็มสำหรับมือใหม่


ถ้าไม่รู้ว่าจะอ่านสเกลใหนก็ให้ดูจากค่าสูงสุดให้ตรงกับที่เราตั้ง range เอาไว้

ยก ตัวอย่างเช่น เราต้องการวัดแรงดัน จาก Power Supply ของวิทยุรับส่ง เราก็พอจะรู้ว่าแรงดันไฟประมาณ 12-14 โวลต์ หรืออาจจะเป็น Power Supply แบบปรับแรงดันได้ ก็ไม่เกิน 15 โวลต์ เราก็ตั้งมิเตอร์ไว้ให้เกินแรงดันที่จะวัด ในที่นี้คือ 50 โวลต์ DC (ดูรูปในกรอบสีแดงด้านซ้าย) จากนั้นก็นำสายสีแดงไปต่อขั้วบวก สายสีดำขั้วลบ แล้วก็อ่านค่าของมิเตอร์ออกมา ดังรูป

วิธีการวัดแรงดันด้วยมิเตอร์เข็มสำหรับมือใหม่

จากรูป อ่านค่าได้ประมาณ 14 โวลต์ DC

http://www.hs8jyx.com/html/meter_volt.html



ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ

ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ


ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ

ทีวี TOSHIBA หรืออื่น ๆ จะเจออาการแบบนี้อยู่บ่อย ๆ การซ่อมก็ไม่ยากเท่าไรครับ ก่อนอื่นให้สังเกตว่า อาการของทีวีคือ ภาพเป็นเส้นเดียว เส้นเล็ก ๆ เป็นแนวนอนดังรูป ส่วนเสียง ยังมีปรกติ


ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ

เปิดฝาเครื่องออกมา รุ่นนี้จะมีน็อตหลายตัวหน่อย ถ้ามีฝุ่นในเครื่องมากก็เอาไปทำความสะอาดก่อนครับ

ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ

จากนั้นให้มองหา IC ตำเหน่ง IC Q-301 ดังในรูป เป็น IC VER -OUT อยู่ไกล้ ๆ กับสาย YOKE

ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ

  • ก่อนอื่นให้ย้ำบัดกรี IC Q-301 และบริเวณรอบ ๆ ก่อน
  • ถ้าบัดกรีแล้วไม่หายก็ลองวัดแรงดันไฟเลี้ยง IC ตัวนี้ดู
  • ถ้ามีไฟเลี้ยงปรกติ ให้ลองเปลี่ยน IC ดู
  • ถ้าไม่มีไฟเลี้ยง อาการที่เจอก็คือ R ที่ต่อระหว่างทางเดินไฟเลี้ยง ลองไล่แรงดันไฟดู
  • โดยทั่วไป การซ่อมอาการนี้ก็มีแค่นี้ละครับ

ช่างซ่อมจำเป็น ตอน ซ่อมทีวี TOSHIBA 25A1 อาการภาพเส้นเดียวกลางจอ

ซ่อมเสร็จแล้วครับ อาการเส้นเดียวกลางจอ (จอสีฟ้า เพราะยังไม่ได้ต่อสายอากาศ)

http://www.hs8jyx.com/html/toshiba_a25a1.html


วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

CQ Amateur Radio เล่ม 54

CQ Amateur Radio เล่ม 54


PACKET RADIO
การสื่อสารข้อมูลผ่านวิทยุ




Packet Radio คืออะไร
ถ้าดูความหมายกว้าง ๆ ของ packet radio เราอาจจะกล่าวได้ว่า packet radio ก็คือการรับส่ง ข่าวสาร ผ่านวิทยุสื่อสาร โดยการนำข้อมูลที่จะส่งนั้นมาตัดเป็นส่วน ๆ ย่อย แล้วทยอยส่งไปยังผู้รับ โดยเพิ่มเติมข้อมูลบอกว่า ข่าวสารนั้นจะส่งไปให้ใคร เป็นข้อมูลใดในจำนวนข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ที่รับส่งอยู่ตลอดเวลา




ประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุจะต้องบันทึกสัญญาณเรียกขาน "E28DX" นี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่า กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นไทยกลุ่มนี้ ได้ใช้สัญญาณเรียกขาน "E2" เป็นครั้งแรกของประเทศไทย



สายอากาศ คอลลิเนียร์ COLLINEAR ANTENNAS

สายอากาศแบบที่มีการแพร่กระจายคลื่นรอบทิศทาง และมีขั้วคลื่นแบบแนวตั้ง (Vertical Polarization) เราสามารถทำให้อัตราการขยายเพิ่มขึ้นได้มากกว่าสายอากาศไดโพล ปรกติ โดยวิธีการไม่ยากมากนัก

  • รูป a สายอากาศคอลิเนียร์ 2 E
  • รูป b สายอากาศคอลิเนียร์ 3 E
  • รูป c สายอากาศคอลิเนียร์ 4 E
เส้นประแสดงถึงการกระจายตัวของกระแสบนตัวไดโพลแต่ละตัว


ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ใช้กับความถี่ย่าน 2 เมตร ลักษณะของสายอากาศคอลลิเนียร์ก็คือ การนำเอาสายอากาศไดโพลพื้นฐานตั้งแต่สองต้นขึ้นไป แล้วนำมาต่ออนุกรมกันหรือขนานกัน เพื่อให้ได้อัตราการขยายเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สายอากาศคอลลิเนียร์แบบที่ง่ายที่สุดก็คือสายอากาศแบบ 2 E ซึ่งประกอบด้วยสายอากาศไดโพล 1/2 แลมดา ทำหน้าที่เป็นตัวแพร่กระจายคลื่นสองตัว ทำงานในเฟสเดียวกัน (inphase) เพื่อให้ได้กำลังรวมประมาณ 1.5 เท่าของสายอากาศไดโพลตัวเดียว นั่นคืออัตราการขยายทางกำลังประมาณ 2.0 dB แต่ถ้าเพิ่มเป็น 3 E ก็จะได้ประมาณ 3.2 dB และ 4.3 dB สำหรับ 4E ตามลำดับ

http://www.hs8jyx.com/