จะใช้บูมเป็นอะไรดีสำหรับสายอากาศยากิ
ในย่านความถี่ VHF การสร้างสายอากาศยากิจะมีปัญหากว่าในย่านความถี่ HF ก็ตรงที่บูม (แกนกลางของสายอากาศยากิ) และอุปกรณ์ที่ยึดจับ ทั้งหลายจะเริ่มใหญ่ขึ้น เมื่อเทียบกับความยาวคลื่น ของความถี่ใช้งาน ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงมีผลต่อการทำงานของสายอากาศยากิ
แสดงการยึดอิเลเมนต์ของสายอากาศยากิเข้ากับบูม
คำ ถามที่มักจะได้รับยการถามถึงอยู่เสอม ๆ คือ ควรจะใช้บูมเป็นไม้หรือเป็นโลหะดี ถ้าไม้น่าจะดีกว่าเพราะเป็นฉนวน ซึ่งไม่น่าจะมีผลต่อการทำงานของสายอากาศ แต่จากผลการทดลองของกลุ่มวิศวกรของสำนักงานมาตราฐานแห่งชาติ (NBS) ของ สหรัฐ ฯ พบว่าการใช้ไม้นั้นทำให้คุณสมบัติของสายอากาศไม่แน่นอน และยังเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพบรรยากาศ ทั้งนั้เพราะไม้ เป็นวัสดุที่เก็บความชื้นและหดตัวได้ง่าย แม้จะทาวัสดุเคลือบผิวไม้แล้วก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
แต่ เมื่อทดลองใช้บูมโลหะแล้วพบว่าคุณสมบัติแน่นอนและสอดคล้องกับการทดลองที่ไม่ ใช้บูมเลย (คือให้อีลีเมนต์ลอยอยู่ กลางอากาศ มีแต่อากาศเท่านั้นที่อยู่ระหว่างอิลีเมนต์ ) แต่ว่าจะต้องเพิ่มความยาวของอิลีเมนต์ขึ้นเล็กน้อย เป็นการชดเชยกับการใช้บูมเป็นโลหะ ทีไปทำให้ตัวมันเสมือนสั้นลง ดังนั้นเขาจึงแนะนำให้ใช้บูมเป็นโลหะดีกว่าไม้
ความ ยาวของอิลีเมนต์ที่จะต้องเพิ่มขึ้นนี้ ขึ้นอยู่กับว่า อิลิเมนต์ยึดกับบูมอย่างไร (ดังรูป) รูป ก. จะต้องเพิ่มความยาวของอิลีเมนต์ประมาณ 0.7 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของตัวบูม แต่ถ้าติดเข้ากับด้านบนของตัวบูมโดยตรง เหมือนรูป ข. จะต้องเพิ่มความยาวขึ้นอีกประมาณ 0.06 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของบูม แต่ถ้าติดลอย ๆ โดยมีฉนวนคั่น ดังรูป ค. ก็ไม่ต้องเพิ่มความยาวแต่อย่างได
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น