**นี่เป็นบทความจากนิตยสารนะครับ (จำที่มาไม่ได้) ไม่ใช่บทความของผม **
การเรียก CQ (-.-. --.-) ในสัญญาณโทรเลขเกิดขึ้นในวงการโทรเลขของประเทศอังกฤษ โดยมีความหมายว่า "ทุกสถานี โปรดเตรียมรับข้อความ" ความหมายใกล้เคียงกับ QNC และ QST และบริษัทมาโคนี่ ( Marconi Company) เป็นผู้นำมาใช้ในการเรียกเรือทุกลำ ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ใช้ KA
จนกระทั่งเกิดข้อตกลงลอนดอน ปี 1912 ซึ่งยอมรับสัญญาณ CQ ในความหมายว่า "โปรดทราบ"
จากหน้า 4 ของหนังสือ "คู่มือกู้ภัยทางทะเล ของ Baarslag" (Baarslag's Famous Sea Rescues) บอกไว้ว่า ในปี 1904 เรื่อเดินระหว่างทะเลแอตแลนติกจำนวนมากได้ติดตั้งวิทยุโทรเลข และพนักงานวิทยุส่วนมากมาจากพนักงานโทรเลขที่เคยทำงานตามบริษัทรถไฟหรือไปรษณีย์ (railroad or post-office) ซึ่งได้ทิ้งงานเดิมมาหาประสบการณ์ที่ใหม่เอี่ยมนี้ สิ่งที่พวกเขาได้นำติดตัวไปคือภาษา คำย่อ และโค้ดรหัสต่าง ๆ (telegraphic abbreviations and signals) หนึ่งในจำนวนนั้นคือ CQ ซึ่งใช้สำหรับเรียกโดยไม่เจาะจงสถานี ซึ่งใช้เรียกเพื่อให้ทุึกสถานีสนใจฟังข่าวสำคัญ ซึ่งจะประกาศทุกวันเวลา 10 นาฬิกา หรือเมื่อมีข้อมูลสำคัญเร่งด่วนอื่น ๆ ที่เรือทุกลำควรทราบ รวมทั้งขอความช่วยเหลือ
ในหนังสือคู่มือโทรเลขของบริษัทมาโคนี่ ( Marconi Company) ในสมัยนั้นกำหนดว่า CQ ใช้สำหรับเรียกขอความช่วยเหลือ มีความหมายว่า "รีบมาด่วน" (ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น CQD แล้วปล่อยให้ CQ เป็นรหัสสำหรับเรียกทั่วไปตามเดิม)
ในปัจจุบัน CQ ก็ยังหมายความว่า "ทุกสถานีโปรดทราบ" แต่สำหรับวงการวิทยุสมัครเล่น อาจจะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น อย่างที่ โธมัส แรดเดล เขียนไว้ว่า มันเหมือนกับการที่เราตะโกนเรียกเพื่อนว่า "เฮ้ย !! ... พรรคพวก มีใครอยู่มั่ง มาคุยกันหน่อย เอามะ"
รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ CQ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ CQ แสดงบทความทั้งหมด
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)