แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Phonetic Alphabets แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Phonetic Alphabets แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ใช้ ITU และ DX phonetic alphabets ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


การติดต่อสื่อสารด้วยเสียงพูด หลายหน่วยงานได้พัฒนาวิธีการอ่านออกเสียงตัวอักษร โดยใช้คำพูดบางคำแทนตัวอักษร โดยหลักการแล้วใช้คำเหล่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ มากกว่าการออกเสียงตัวอักษรเพียงแค่ตัวเดียว วิธีการอ่านออกเสียงตัวอักษรแบบนี้ ปัจจุบันเราจะเรียกว่า Phonetic Alphabets
ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการพัฒนา Phonetic Alphabets ขึ้นมาหลายรูปแบบ ในปี ค.ศ.1954 (พ.ศ. 2497) ARRL ได้จัดพิมพ์ Operating Aid (ARRL operating manual) เล่มแรกออกมา ให้ตัวอย่างการออกเสียงว่า Able, Baker, Charlie เป็นต้น ส่วนทางด้านวงการทหารจะใช้ Amsterdam, Baltimore, Casablanca (ปัจจุบันเรียกว่า DX phonetic alphabets) ถูกพัฒนาโดยหลักการที่ว่า คำที่ยาว ๆ จะง่ายต่อการเข้าใจความหมายในสภาวะการติดต่อสื่อสารที่ยากลำบาก 


ก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ. 2489) FCC ได้ห้ามใช้ชื่อ เมือง รัฐ หรือประเทศมาเป็น Phonetic Alphabets เพราะว่ากลัวความสับสนกับที่ตั้งจริงของสถานี แต่ไม่นานก็มีผู้คัดค้านเรื่องนี้ กฏนี้เลยถูกถอดถอนไป ในที่สุด  Phonetic Alphabets หลากหลายรูปแบบก็ถูกนำมาใช้อีกครั้ง

ปัจจุบัน นักวิทยุสมัครเล่นและหน่วยงานต่าง ๆ ใช้ ITU Phonetic Alphabets เป็นมาตราฐาน เป็นที่รอบรับของสากล เราควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก ในสภาวะการติดต่อแบบปกติ ชัดเจน รวมทั้งถ้าเป็นไปได้เราอาจจะติดเอาไว้ข้างฝา ใกล้ ๆ กับเครื่องวิทยุ (ถ้ากลัวลืม นักวิทยุไทยไม่น่าจะลืมเพราะคล่องแคล่วในเรื่อง Code ต่าง ๆ อยู่แล้ว)

เมื่อ ITU Phonetic Alphabetsก็ยังไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด

ในปัจจุบันต่างก็พูดกันว่า ITU Phonetic Alphabets ไม่สมบูรณ์แบบเสียทีเดียว มีความบกพร่อง เช่น Alfa, India, Lima, Oscar, Papa และ Sierra มีเสียงที่คล้ายกัน ในสภาวะการติดต่อสื่อสารที่ยากลำบาก จะทำให้เกิดความสับสนของผู้รับข้อความ ด้วยเหตุผลนี้ ในการติดต่อทางไกลบ้างครั้งยังต้องใช้ DX Phonetic Alphabets และได้นำ ชื่อเมือง รัฐ ประเทศ มาในแทนบางตัวอักษร เช่น America , Amsterdam สำหรับตัวอักษร A ใช้ Boston, Baltimore หรือ Brazil สำหรับตัวอักษร B และ Canada, Columbia หรือ Chilie สำหรับตัวอักษร C  การใช้คำที่ยาว ๆ และชื่อสถานที่ แสดงความโดดเด่นขึ้นมา เป็นความยืดหยุ่นในการใช้งาน กรณีที่เราใช้ ITU Phonetic Alphabets แล้วไม่เข้าใจ

ความยืดหยุ่นของภาษา
ถ้าเราต้องการส่งข้อมูลสำคัญ แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ เพราะเข้าใจไม่ตรงกันเราจะใช้ Phonetic Alphabets แบบใหนดี? ในกรณีที่ติดต่อกับสถานี DXpedition (สถานีที่ไปออกอากาศในประเทศที่มีนักวิทยุน้อย ๆ หรือไม่มีเลย) หรือสถานี Contest ควรใช้ Phonetic Alphabets แบบเดียวกับที่เขาใช้ก่อนเป็นอันดับแรก (ต้องฟังก่อน) ถ้าเราไม่พบว่าเขาใช้ Phonetic Alphabets แบบใด ให้เราใช้ ITU Phonetic Alphabets เป็นอันดับแรก ถ้าเขายังไม่เข้าใจให้เปลี่ยนเป็น DX Phonetic Alphabets ถ้ายังไม่เข้าใจอีกให้ลองสลับดูหลาย ๆ คำจนกว่าจะเข้าใจ และแน่ใจว่าเขารับข้อความได้ถูกต้อง ความยืดหยุ่นของการใช้ Phonetic Alphabets นี้เองเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราติดต่อทางไกลได้สำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สุดท้าย บทความนี้อาจจะเหมาะกบการติดต่อทางไกล หรือย่าน HF มากกว่า ที่ต้องติดต่อกับคนที่มีสำเนียงและภาษา ที่ต่างกันมาก ๆ สำหรับผมแล้วมองว่า ถึงยังไงนักวิทยุสมัครเล่นขั้นใหน ๆ ก็ควรรู้ไว้ ไม่เสียหายแต่อย่างไดครับ ส่วนการปรับมาใช้กับเมืองไทย อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่าส่วนใหญ่คนไทยออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว ยิ่งเอาคำยาว ๆ มาใช้คงเป็นเรื่องยากเข้าไปอีก สำหรับบ้านเราก็ขอแค่ให้ ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabets ถูกต้องชัดเจนก็เป็นที่น่าพอใจแล้วครับ