รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ rf sniffer แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ rf sniffer แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ทดลองสายอากาศแบบง่าย ๆ ด้วยหลอดไฟขนาดเล็ก
โครงงานชุดนี้ ไม่ใช่โครงงานใหม่อะไรหรอกนะครับ นักวิทยุสมัครเล่นรุ่นเก่า ๆ เขาทดลองกันมานานแล้ว แต่วันนี้ผมอยากนำมาทดลองซ้ำอีกรอบ ให้สมาชิกใหม่ ๆ ได้ร่วมทดลองไปด้วย โดยเน้นการหาวัสดุที่มีอยู่ หรือของที่หาได้ง่าย ๆ ราคาถูก วิทยุรับส่งของเราเปลี่ยนสัญญาณ RF ที่รับได้เป็นสัญญาณเสียงให้เราได้ยิน (กว่าจะออกมาเป็นเสียงต้องผ่านวงจรมากมาย) แต่หลอดไฟที่เรากำลังจะประกอบขึ้นนี้จะเปลี่ยนสัญญาณ RF ให้เป็นความสว่างของแสง หลักการตรงไปตรงมา ถ้าสัญญาณ RF แรงมากแสงสว่างก็มาก และนอกจากนี้ถ้าเราต้องการวัดค่าแบบละเอียดไปอีกระดับเราสามารถนำมิเตอร์ขนาดเล็กมาแสดงผล แทนหลอดไฟได้ด้วย (ต้องเพิ่มวงจรเข้าไปอีกนิดหน่อย)
ข้อดีข้อเสียของการวัดด้วยหลอดไฟ
ข้อดี สร้างได้ง่าย ราคาถูก
ข้อเสีย ความไวไม่มาก วัดความแรงในระยะไกล ไม่ได้ ถ้าต้องการวัดแบบไกล ๆ 10-15 เมตร ให้ลองใช้วงจรนี้ http://hs8jyx.blogspot.com/2013/08/rf-field-strength-meter.html
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทดลอง
หลอดไฟขนาดเล็ก สามารถหาได้จากของเล่นเด็ก
สายไฟอ่อนหรือลวดทองแดง ขนาด 1-2 ฟุต 2 เส้น
ท่อ PVC, ไม้ หรือฉนวนอะไรก็ได้ ยาวพอประมาณ
การประกอบก็ง่ายมากครับ ต่อสายไฟ/ลวดทองแดง เข้ากับปลายทั้งสองข้างของหลอดไฟ จากนั้น หาวิธียึดสายเข้ากับท่อ PVC เพื่อความเข็งแรง และสะดวกเวลาใช้งานครับ
วิธีการทดลองและหลักการทดงานของเครื่องมือตัวนี้
เครื่องมือชิ้นนี้ เป็นเครื่องมือตระกูลเดียวกับ Rf Sniffer การทำงานคร่าว ๆ คือจุดไหนมีการเหนียวนำวิทยุมาก หลอดไฟจะสว่างมาก จุดไหนมีการเหนียวนำน้อย หลอดไฟก็จะสว่างน้อย อย่าเพิ่งดูถูกว่าการทำงานง่าย ๆ แบบนี้แล้วจะไม่มีประโยชน์นะครับ
ตัวอย่างการทดลอง วางสายอากาศแนวเดียวกันถึงจะรับสัญญาณได้ดีที่สุด จริงหรือ ??
หลายท่านคงเคยอ่านจากตำราหรือฟังจากเพื่อนว่า สายอากาศต้องวางในแนวเดียวกันถึงจะรับได้ดีที่สุด เรามาทดลองดีกว่าว่ามันจริงแท้แค่ไหน ตัวอย่างทดลองโดยใช้สายอากาศรอบตัวติดรถยนต์ขนาดเล็ก นำเครื่องมือที่เราประกอบขึ้นมาวางใกล้ ๆ สายอากาศ จากนั้นทดลองส่ง (ใช้กำลังส่งต่ำ ๆ ไม่เกิน 5 วัตต์ ก็พอแล้วครับ)
ทดลอง วางสายอากาศรถยนต์ในแนวดิ่ง และวางสายอากาศรับของเราในแนวดิ่งด้วย สังเกตว่า หลอดไฟจะสว่างจ้า (อย่าวางใกล้เกินไปหรือใช้กำลังส่งสูงมากนะ เดี่ยวหลอดไฟจะขาด รวมทั้งสัญญาณที่ส่งออกมาจะไปรบกวนสถานีอื่น ๆ ด้วย)
อ่านต่อ www.hs8jyx.com
ข้อดีข้อเสียของการวัดด้วยหลอดไฟ
ข้อดี สร้างได้ง่าย ราคาถูก
ข้อเสีย ความไวไม่มาก วัดความแรงในระยะไกล ไม่ได้ ถ้าต้องการวัดแบบไกล ๆ 10-15 เมตร ให้ลองใช้วงจรนี้ http://hs8jyx.blogspot.com/2013/08/rf-field-strength-meter.html
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทดลอง
หลอดไฟขนาดเล็ก สามารถหาได้จากของเล่นเด็ก
สายไฟอ่อนหรือลวดทองแดง ขนาด 1-2 ฟุต 2 เส้น
ท่อ PVC, ไม้ หรือฉนวนอะไรก็ได้ ยาวพอประมาณ
การประกอบก็ง่ายมากครับ ต่อสายไฟ/ลวดทองแดง เข้ากับปลายทั้งสองข้างของหลอดไฟ จากนั้น หาวิธียึดสายเข้ากับท่อ PVC เพื่อความเข็งแรง และสะดวกเวลาใช้งานครับ
วิธีการทดลองและหลักการทดงานของเครื่องมือตัวนี้
เครื่องมือชิ้นนี้ เป็นเครื่องมือตระกูลเดียวกับ Rf Sniffer การทำงานคร่าว ๆ คือจุดไหนมีการเหนียวนำวิทยุมาก หลอดไฟจะสว่างมาก จุดไหนมีการเหนียวนำน้อย หลอดไฟก็จะสว่างน้อย อย่าเพิ่งดูถูกว่าการทำงานง่าย ๆ แบบนี้แล้วจะไม่มีประโยชน์นะครับ
ตัวอย่างการทดลอง วางสายอากาศแนวเดียวกันถึงจะรับสัญญาณได้ดีที่สุด จริงหรือ ??
หลายท่านคงเคยอ่านจากตำราหรือฟังจากเพื่อนว่า สายอากาศต้องวางในแนวเดียวกันถึงจะรับได้ดีที่สุด เรามาทดลองดีกว่าว่ามันจริงแท้แค่ไหน ตัวอย่างทดลองโดยใช้สายอากาศรอบตัวติดรถยนต์ขนาดเล็ก นำเครื่องมือที่เราประกอบขึ้นมาวางใกล้ ๆ สายอากาศ จากนั้นทดลองส่ง (ใช้กำลังส่งต่ำ ๆ ไม่เกิน 5 วัตต์ ก็พอแล้วครับ)
ทดลอง วางสายอากาศรถยนต์ในแนวดิ่ง และวางสายอากาศรับของเราในแนวดิ่งด้วย สังเกตว่า หลอดไฟจะสว่างจ้า (อย่าวางใกล้เกินไปหรือใช้กำลังส่งสูงมากนะ เดี่ยวหลอดไฟจะขาด รวมทั้งสัญญาณที่ส่งออกมาจะไปรบกวนสถานีอื่น ๆ ด้วย)
อ่านต่อ www.hs8jyx.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)