วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

SWR Bridge + ATU ทำได้ง่ายจัง

ในบางครั้งเราไม่สามารถสร้างสายอากาศได้หลาย ๆ ต้นเพื่อใช้กับหลาย ๆ ย่านความถี่ได้ อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้คือ ATU หรือ Antenna Tuning Unit อุปกรณ์ตัวนี้มีหลายหลายแบบ ทั้งกำลังส่งต่ำ และสูง แต่ในที่นี้เราจะประกอบขึ้นมาเอง ทั้งวงจร ATU และเสริมด้วยวงจร SWR Bridge ใช้เป็นตัววัดค่าเวลาปรับแต่ง ATU ให้ถูกต้อง เหมาะสำหรับวิทยุรับส่งที่ไม่มี SWR ในตัว หรือวิทยุที่ประกอบขึ้นเอง

การประกอบวงจร
การประกอบของเราจะเน้นไปที่เลือกใช้วงจรที่หาอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่ซับซ้อนมาก เพื่อนนักวิทยุมือใหม่ก็ทำได้ ผมเลยเลือกที่จะทำวงจร SWR Bridge แบบที่ไม่ใช้แกน Toroid เพราะแกนค่อนข้างจะหายาก (ตามร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป) 




วงจรที่เลือกใช้ในการทดลองครั้งนี้


การปรับแต่งวงจร SWR Bridge ต่อวงจรเข้ากับวิทยุรับส่ง โดยใช้กำลังส่งต่ำ ๆ ไม่เกิน 5 วัตต์ ยังไม่ต้องต่อสายอากาศ / ATU ปรับ R 20K ให้เข็ม uA Meter เต็มสเกลพอดี การปรับแต่งควรปรับเป็นจังหวะ ๆ ไม่ควรส่งต่อเนื่อง อาจจะทำให้ R 50 โอห์ม ร้อนจัดจนเสียหายได้

จากนั้นลองลัดวงจรทางด้านสายอากาศ / ATU ดูจะพบว่าเข็มจะเต็มสเกลพอดีเช่นกัน ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่า R 50 โอห์มทั้งสองตัว (ซ้ายมือแนวดิ่ง) มีค่าไม่เท่ากัน หรือมาจากการ Stray Coupling ระหว่างขาของ Bridge อาจจะแก้ปัญหาโดยจัดวางอะใหล่ใหม่ให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ไม่ไกล้กันจนเกินไป 

นอกจากนี้ให้ทดลอง เปลี่ยนย่านความถี่ ตั้งแต่ 1.8 - 28 MHz เข็มจะต้องเต็มสเกลเหมือนกัน


ตัวอย่างการวางอุปกรณ์ 







ตัวอย่างการต่อสาย

R 50 โอห์ม เลือกใช้แบบ metal film ขนาด 3 วัตต์
R ตัวอื่น ๆ ใช้ขนาด 1/4 วัตต์


รูปตัวอย่างตัวต้านทานแบบ metal film



ตัวอย่างการยึดอุปกรณ์ลงกล่อง 


ในกรณีที่เราต้องการนำวงจรไปใช้กับวิทยุรับส่งหลาย ๆ ตัว ซึ่งแน่นอนว่ากำลังส่ง ถึงแม้จะปรับมาที่ Low แล้ว แต่ก็ยังไม่เท่ากัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เราจึงทำสวิตช์เลือกใหม่ และใช้ R20K เป็นแบบ โวลุ่ม สามารถปรับ CAL. (Calibrate) เพื่อให้เข็มเต็มสเกลพอดี



ตำแหน่งของสวิตช์
1.สำหรับปรับ CAL ให้เข็มแต็มสเกล
2. สำหรับวัด SWR
3. สำหรับออกอากาศ

ต่อไปก็มาทำส่วนที่ 2 กันนั่นคือ ATU

ส่วนของ ATU เลือกใช้แบบ T - Network (เพื่อน ๆ สมาชิกจะเลือกใช้แบบอื่นก็ได้) เพราะสร้างได้ง่าย ในที่นี้ก็ไม่ใช้แกน Toroid 

ขดลวดตอนแรกผมจะใช้ Selector Switch เป็นตัวตัดต่อ แต่ว่า Switch ที่หาได้ ดูแล้วไม่แข็งแรง น่าจะใช้ได้ไม่นาน ผมเลยเปลี่ยนเป็นสวิชต์โยกแทน (ทนกว่าแต่เลือกได้แค่ 2 ค่า) ขดลวดผมพันที่ 6 รอบ Tab ที่ 3 รอบ เส้นผ่านศูนย์กลางของขดลวดประมาณ 40 mm


วงจรพร้อมใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น: