วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สร้าง Contest Voice Keyer แบบง่าย ๆ สำหรับ IC-2200 และวิทยุโมบาย ทั่วไป

สำหรับเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นที่เคยทำการแข่งขันวิทยุสมัครเล่น ประเภทเสียงพูด อย่างเช่น รายการ CQ WW VHF คงรู้ดีกว่า การ CQ ตลอดทั้ง 27 ชั่วโมง (ถ้ามีแรงเล่นนะครับ) นั้นเป็นเรื่องที่เหนื่อยเอาการ  คงจะดีไม่น้อย ถ้าเรามีตัวช่วยในการ CQ หลายวงจรที่ถูกออกแบบมาจะเหมาะกับวิทยุ HF หรือวิทยุขนาดใหญ่ ราคาแพง แต่นักวิทยุบ้านเรานิยมวิทยุประเภทเครื่องโมบาย ดังนั้นเรามาดัดแปลงวงจรเพื่อให้ใช้กับวิทยุโมบายของเรากันดีกว่า 

แนวทางในการออกแบบวงจร

1. ต้องมีต้นทุนที่ต่ำ หาอุปกรณ์ได้ง่าย
2. วงจรต้องไม่ยุ่งยาก หรือซับซ้อน เพื่อให้เพื่อน ๆ สมาชิกสามารถประกอบตามได้
3. ต้องใช้งานได้ดี

เริ่มด้วยดูขั้วต่อสายไมค์โครโฟนของ IC-2200 ก่อน ว่าสายใหนต่อไปจุดใหนดังรูป




 จากรูปพบว่า ขา 4 เป็นขา PTT หรือ ใช้สำหรับกดคีย์ มันจะทำงานเมื่อขา 4 ไปโดนกับกราวด์หรือ ขา 7 GND (GND = Ground)


การทดลองวงจร ผมเลือกใช้แผ่นพริ้นเอนกประสงค์ ต่อ Opto PC-817 , หลอด LED และ C -0.1uF เพื่อทดลองว่า วงจรนี้สามารถควบคุมการกดคีย์ ของ ICOM IC-2200 ได้หรือไม่





รูปแบบการต่อวงจร ขั้ว DP9 ต่อกับคอมพิวเตอร์ Radio key ต่อกับ ขา key ของวิทยุ (วิทยุรับส่งแต่ละรุ่น ต่ำแหน่งขาอาจจะไม่เหมือนกัน แต่หลักการทำงานคล้าย ๆ กัน)




การต่อสาย DB9
รูปขั้วต่อแบบ DB9 (มี 9 ขา)


ต่อขา 4 กับขา 5 ตามรูป ได้เลยครับ ถ้ากลัวพลาดสังเกตุให้ดีจะมีการระบุหมายเลขขาแต่ละขาเอาไว้



วงจรควบคุมการกดคีย์ผ่านคอมพิวเตอร์ พร้อมใช้งาน



ทดลองต่อกับวิทยุ IC-2200 ผลปรากฏว่า สามารถควบคุมการกดคีย์ได้ดีมาก โดยใช้โปรแกรม Contest Logger ผมเลือกใช้ N1MM เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน 

ตัวอย่างการตั้งค่าโปรแกรม N1MM ให้สามารถบังคับวิทยุ IC-2200 ของเราได้


เลือก Com port ที่เราต่อ ผมต่อกับ Com1 จากนั้นไปตั้งค่าที่ Set


เลือก DTR (pin4) เป็น PTT เพราะเราต้องการให้มันกดคีย์ให้เรา ถ้าไม่ตั้งค่าตรงนี้ โปรแกรมก็ไม่สามารถสั่งคีย์วิทยุได้นะครับ



เมื่อมีการสั่งกดคีย์ หลอด LED จะสว่าง เมื่อสั่งปล่อยคีย์ หลอด LED ก็จะดับ




 สรุปว่าชุดควบคุมคีย์ทำงานได้ดี ปัญหาต่อไปคือ "แล้วเวลาเราจะส่งเสียงพูดของเราเองละจะทำไง" คำตอบคือ เราต้องมีสวิชเลือกระหว่าง เสียงจากไมค์ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ผมลองพิจารณาผลดีผลเสียแล้ว ผมคิดว่าจะใช้ รีเลย์ มาเป็นตัวตัดต่อดีกว่า แล้วใช้สวิช กดติดปล่อยดับมาควบคุมรีเลย์อีกที  รีเลย์จะควบคุม 2 ชุด ชุดแรกจะควบคุม การเลือกไมค์ / ไฟล์เสียงในคอมพิวเตอร์ ชุดที่สองสั่งกดคีย์แบบ Manual 


รีเลย์ที่ผมเลือกใช้ ใช้แรงดัน 12 โวลต์









Schematic ของวงจรต้นแบบ วงจรแบบง่าย ๆ ที่ท่านสามารถนำไปประกอบใช้ได้เลย

 วงจรตัวอย่างเมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อย ผลการทดสอบ ใช้งานได้ดีมาก คุ้มค่ากับการลงทุน สิ่งที่ควรเพิ่มอีกอย่างคือ โวลลุ่มปรับระดับเสียง จากคอมพิวเตอร์ 

นอกจากนั้นวงจรนี้ยังสามารถ ส่ง ระบบดิจิตอลต่าง ๆ เช่น SSTV,RTTY และ รหัสมอร์สผ่านวิทยุโมบาย ได้อีกด้วย


ตัวอย่างโปรแกรม CW Type สำหรับส่งรหัสมอร์สด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ตัวนี้ได้ดี สามารถ Download ได้ที่ http://www.dxsoft.com/en/products/cwtype/


เข้าไปตั้งค่าโปรแกรม นิดหน่อย ก็สามารถส่งรหัสมอร์ส ได้แล้วครับ





วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ATU ความถี่ 152-153 MHz สำหรับนำสายอากาศย่านสมัครเล่นไปใช้กับความถี่ราชการ

สำหรับเพื่อนสมาชิกที่ต้องการนำสายอากาศย่านความถี่สมัครเล่น 145MHz ไปใช้กับย่านความถี่ 152-153 MHz โดยไม่ต้องขึ้นไปดัดแปลงสายอากาศ

การนำสายอากาศย่านความถี่สมัครเล่นไปใช้กับย่านความถี่ 152-153 MHz โดยตรงจะมีค่า swr สูงเกินไป ทำให้เครื่องวิทยุรับส่งลดกำลังส่งโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้วิทยุรับส่งเกิดความเสียหาย


รูปการต่อวงจร จุดที่ 1 ต่อกับวิทยุรับส่ง จุดที่ 2 ต่อกับสายอากาศที่ต้องการจูน




ใช้ลวดทองแดง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2 mm. (หรือเบอร์ 12 AWG) พัน 3 รอบ บนแกนถ่านไฟฉายขนาด AA ความยาวรวมของขดลวดประมาณ 8-10mm (ขดลวดอาจจะคลายตัวออกมาเล็กน้อย)






ทดสอบ

ค่า SWR ก่อนต่อ ATU ประมาณ 2:1 ที่ 153.000 MHz (สายอากาศ V2 แบบ 4 ชั้น ย่านความถี่ 145 MHz)



ที่ SWR 2:1 วัดกำลังส่งได้ประมาณ 60 วัตต์ โดยใช้ไฟเลี้ยง 12 โวลต์





เมื่อต่อวงจร ATU เข้าไป ค่า SWR ที่อ่านได้น้อยมาก จนเข็มไม่กระดิก กำลังส่งอ่านได้ประมาณ 70 วัตต์ ที่แรงดัน 12 โวลต์


วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บูสเตอร์ 50 วัตต์ ความถี่ 27 MHz

มีผู้ใช้เครื่องวิทยุรับส่งความถี่ย่าน CB 27 MHz จำนวนไม่น้อยที่ต้องการบูสเตอร์เพิ่มกำลังส่งมาใช้งานเพื่อเสริมให้เครื่องส่งของตนมีกำลังส่งมากขึ้น โดยหวังว่าจะเพิ่มระยะทางในการติดต่อสื่อสารให้ไกลขึ้น





วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Koch method ฝึกมอร์ส เป็นเร็ว ไม่เครียด



สำหรับคนที่อยากจะฝึกรหัสมอร์ส อาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่าการฝึกรหัสมอร์สต้องท่องจำให้ได้ครบทุกตัวอักษรก่อน แล้วค่อยมาหัดฟังเสียง ถ้าถามว่าได้หรือไม่ก็ตอบว่าได้ แต่จะมีใครสักกี่คนที่มีความสนใจ และตั้งใจขนาดนั้น 

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

การติดต่อในความถี่ 18 MHz หรือ ความยาวคลื่น 17 เมตร


จากการ CQ อยู่หลายช่วงเวลาที่ความถี่ 18 MHz พบว่า เวลากลางดึก ถึงหลังเทียงคืน สามารถ ติดต่อ ยุโรป และอเมริกา ได้ดี และสถานีจากประเทศไทย ก็เป็นที่ชื่นชอบของนัก DX เพราะมีนักวิทยุไทยออกอากาศในความถี่ 18 MHz น้อย


YU1CC



N6WIN



SP2EWQ




W4UAT



RK6CM


UA4CR



IZ3EXA




EA1FA


LY2FN 


ON4LDU