วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

AG6BD กับ CW Freak แบบ 20 QSOs

ทดลองกลับมาเล่นอีกครั้งหลังจากหยุดไปนานแล้ว http://ja1zlo.u-tokyo.org/cgi-bin/vwl/ranking20.html


อัปเดทเมื่อวาน 64,188 คะแนน


วันนี้เพิ่มเติมเป็น 68,759 คะแนน แสดงให้เห็นว่าความแม่นยำและความเร็วในการรับรหัสมอร์สจะเพิ่มขึ้น ถ้าฝึกอย่างต่อเนื่อง

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

HS8JYX กับ Morse Runner วันที่ 23-06-2555


วันนี้ทดลองเล่น Morse Runner ได้ถูกต้อง 104 QSO ในเวลา 60 นาที ความเร็วที่ใช้ 40 คำต่อนาที ก่อนหน้าผมใช้ 50 คำต่อนาที รับได้มากกว่าก็จริง แต่ผิดพลาดมากกว่า คะแนนรวมจึงไม่ค่อยดี เล่นแบบช้า ๆ แต่ถูกต้องคะแนนจะออกมาดีกว่า



http://www.dxatlas.com/MorseRunner/MrScore.asp

ทดลองเล่นอีกรอบได้ 106 QSO แต่ตัวคูณน้อยกว่า คะแนนเลยออกมาน้อยกว่านิดหน่อย ไม่สามารถ Up อันดับในหน้าเว็บได้

เช้าวันที่ 24-06-2555 เล่นอีก 1 รอบ ได้ 107 QSO


ตอนบ่าย วันที่ 24-06-2555 เล่นอีก 1 รอบ ได้ 111 QSO  ใช้ Callsign AG6BD ในการเล่น ความเร็วในการเล่นที่ 38 คำต่อนาที ความเร็วที่ใช้ในการเล่นมีผลต่อจำนวน QSO ถ้าเร็วมากไปจะทำให้รับได้ผิดพลาดมาก ผลรวมก็ออกมาน้อย



วันที่ 25-06-2555 ได้ 125 QSO ความเร็วที่ใช้ 37 คำต่อนาที



วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จอ LCD W1934 เปิดแล้วตัดใช้ OZ9938GN


บทความนี้ไม่เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น แต่ปัญหาเปิดเครื่องไปสักพักแล้วจอมืด ของจอ LCD ที่ใช้ OZ9938GN เจอบ่อยมากครับ อาจจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ



ใช้ R 47 โอห์ม Jump ระหว่างขา 2 และขา 7 ของ IC OZ9938 สามารถแก้ปัญหาอาการ เปิดไปสักพักแล้วจอมืด




วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สร้างเครื่องนับความถี่ frequency counter

วงจรนี้ไม่มีชุดคิทขายแล้วครับ




วงจรเครื่องนับความถี่ โดยเอาต้นแบบมาจาก http://homepage.eircom.net/~ei9gq/counter.html








R1 %
 270 โอห์ม = แดง ม่วง ดำ ดำ น้ำตาล
560 โอห์ม = เขียว น้ำเงิน ดำ ดำ น้ำตาล
 33K โอห์ม = ส้ม ส้ม ดำ แดง น้ำตาล





ก่อนใช้งานจริงครั้งแรกต้องมีการปรับแต่งความถี่ก่อน โดยวัดความถี่จากแหล่งที่มีความถี่แน่นอน เชื่อถือได้ (ตัวอย่างของผมวัดกับเครื่องวิทยุ HF ความถี่ 21.000 MHz) ปรับแต่งความถี่โดยปรับที่ทริมเมอร์ทีละนิด ๆ จนความถี่ใกล้เคียงที่สุด หรือเท่ากันพอดี  พยายามอย่าให้สายไฟต่าง ๆ ในกล่องเข้าใกล้แร่ Crystal อาจจะทำให้ค่าที่วัดได้เปลี่ยนแปลงไป จากการทดลองของผมเอา หน้าจอจะแสดงผล 21.000,000 MHz ความผิดพลาดของความถี่ที่ยอมรับได้อยู่ในหลัก 10 Hz คือ 21.000,0XX MHz 

หน้าจอ LCD อีกแบบ




การต่อสายไปยังจอ LCD แบบ 16X2 ทั่วไป


ขา 1 เป็นขากราวด์ ต่อสาย Jump ไปยังขา 5 และขา 16
ขา 2 เป็นขา + 5 โวลต์ ต่อสายไฟยังขา 15 ด้วย สำหรับจอที่มีไฟ 



 ลองวัดความถี่ 55 MHz ก็ยังใช้ได้ดี

คำถามที่เจอบ่อยมาก

** ต่อวงจรเสร็จแล้วไม่มีตัวหนังสือหน้าจอ คำตอบก็คือ ต้องปรับ Contrast ก่อน โดยหมุน Trimpot 20K ตัวสีฟ้า บางคนหมุนแค่รอบสองรอบหน้าจอยังไม่ติดก็ตกใจ ..ให้หมุนไปเลยครับ ตัวนี้มีรอบตั้ง 25 รอบ กว่าจอจะมีตัวอักษรต้องหมุนหลายรอบหน่อย

 

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทดลอง MC1496 ต่อร่วมกับ FT-411 รับสัญญาณระบบ CW/SSB


รับสัญญาณ SSB และ CW จากสถานีของ HS8FLU 

หลักการทำงาน ใช้ IC เบอร์ MC1496 ทำหน้าที่เป็น Product Detector สำหรับรับสัญญาณ CW/SSB ตัวอย่างนำสัญญาณ 455 KHz จากวิทยุรับส่ง Yaesu รุ่น FT-411 ซึ่งเดิมเป็นเครื่องรับส่งวิทยุแบบ FM 



ตำแหน่งขาของ MC1496






IF Unit ของ FT-411 เอาสัญญาณ 455 KHz ที่ CF01

ข้อมูล IC TK10487



สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือทดลองอย่างนักวิทยุสมัครเล่น 1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2   《〈 ====  หนังสือหมดแล้วครับ หยุดการจัดพิมพ์แล้ว


วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สร้างวงจรกำเนิดความถี่ 455 KHz

วงจรกำเนิดความถี่ 455 KHz สำหรับทดลองต่อร่วมรับสัญญาณ SSB / CWความแรงสัญญาณ Output ของวงจรตัวอย่าง 3Vp-p ที่แรงดัน 12 โวลต์


ตำแหน่งขา MPF102


เพิ่ม MC1496P ทำหน้าที่ Product Detector รูปนี้ยังลงอุปกรณ์ไม่เสร็จนะครับ จะนำวงจรนี้ต่อร่วมกับ IC MC3362 ในบทความที่ผ่านมา เพื่อรับ CW/SSB ย่านความถี่ 144 MHz














ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 100 วัตต์ ฉบับที่ ... หรือ ทดลองอย่างนักวิทยุสมัครเล่น 1


วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

May 26-27, 2012 ร่วมแข่งขัน CQ WPX CW




หลังจากที่ไม่ได้ลงแข่งขันไปหลายรายการตั้งแต่ต้นปี เพราะมีงานทดลองเข้ามา ช่วงนี้งานลดลงเลยลงเล่น CQ WPX CW 2012 

ในครั้งนี้มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าพอสมควร เนื่องจากเกิดพายุ ต้นไม้ล้มทับสายไฟฟ้า ไฟดัดทั้งสองวันรวม ๆ แล้วมากกว่า 4 ชั่วโมง ส่วนการติดต่อเป็นไปได้ดี สามารถติดต่อได้มากกว่าทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา และรายการนี้น่าสนใจตรงที่ มีประเภท Tribander/Single Element (TB-WIRES) ให้ลงเล่น รู้สึกว่าเป็นการแข่งขันที่ไม่เสียเปรียบ คนที่ใช้สายอากาศไดโพล ก็แข่งกับคนที่ใช้สายอากาศไดโพลด้วยกัน