ขอบคุณ -- บทความจากหนังสือ CQ
เมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2534 ซึ่งเป็นวันเปิดศูนย์ควบคุมข่าย HS9AS จังหวัดสงขลา ผู้เขียนได้เป็นแขกผู้หนึ่งที่ได้รับเชิญให้ไปเป็นเกียรติ และในคืนวันนั้นเอง ชมรมวิทยุสมัครเล่น จังหวัดสงขลานำโดย นายแพทย์ ประสิทธิ์ วนิชชานนท์ ประธานชมรม ได้จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ที่ห้องคอมเวนชั่นโรงแรม เจ. บี. หาดใหญ่ ท่ามกลางนักวิทยุสมัครเล่น จากจังหวัดไกล้เคียง และแขกผู้มีเกียรติกว่า 500 คน รวมทั้งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขและข้าราชการระดับสูงของกรมไปรษณีโทรเลขหลาย ท่าน
ในงานนี้ ทางชมรมได้มีการจัดให้มีการตอบปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์โทรเลขด้วย หลัีงจารกตอบปัญหาแล้ว ทางชมรมได้ขอให้ผู้เขียนเล่าประสบการณ์และความเป็นมาของวิทยุสมัครเล่น ทั้งในและต่างประเทศ ผู้เขียนได้ลำดับความเป็นมาของกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย และสรุปส่งท้าย เกี่ยวกับประสปการณ์วิทยุสมัครเล่นย่าน HF ที่ QSO ติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจ ซักถามรายละเอียดอย่างกว้างขวาง
HS1AAM/9 ขณะออกอากาศในย่าน HF
นับ จากวันนั้นเป็นต้นมา ชมรมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสงขลา นอกจากมิได้หยุดอยู่กับที่ ยังได้พัฒนางานทั้งในด้านสังคม และส่งเสริมความรู้ แก่สมาชิก มาโดยตลอด อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมิได้ติดต่อกับชมรมอย่างไกล้ชิดเท่าไรนัก เนื่องจากมีภาระกิจไปเป็นวิทยากรอบรมร่วมกับกรมไปรษณีย์โทรเลขตลอดมาจนสิ้น สุดโครงการ เมื่อเดือน มิถุนายน 2534
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2534 ขณะที่ผู้เขียนไปติดต่องานที่กรมไปรษณีย์โทรเลข คุณเฉลิมพล หังสพฤกษ์ HS9CB กรรมการผู้หนึ่งของชมรมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสงขลา ได้มีโอกาสพบผู้เขียนและขอหารือว่า อยากจะขอเชิญไปสาธิตวิิทยุสมัครเล่น HF เนื่องในวันสื่อสารแห่งชาติ วันที่ 4 สิงหาคม 2534 ที่จังหวัดสงขลา ผู้เขียนได้ตอบขัดข้อง เพราะติดภาระกิจ ต้องร่วมงานวันสื่อสารแห่งชาติที่เซ็นทรัลพลาซ่า ระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2534 แต่คุณเฉลิมพล หังสพฤกษ HS9CB ก็ยังไม่สิ้นความตั้งใจ ขอให้ผู้เขียนกำหนดวันว่าง แล้วจะไปจัดโปรแกรมที่สงขลาเอง ดังนั้นเพื่อตอบสนองเจตนาดี ผู้เขียนได้กำหนดว่า วันหยุดเข้าพรรษา 27-29 ก.ค.34 ผู้เขียนคงจะว่างไปร่วมงานดังกล่าวได้ แต่เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ขอให้ทางชมรมดำเนินการขออนุญาตต่อกรมไปรษณีย์โทรเลขให้เรียบร้อยและในขั้น สุดท้าย ก็ได้รับการนัดหมายว่าจะออกเดินทางจาก กรุงเทพ วันที่ศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2543 และจัดสาธิตสถานีวิทยุสมัครเล่นย่าน HF วันที่ 27 และ 28 กรกฎาคม 2534 ณ.ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ถึงวันนัด 26 กรกฎาคม 2534 คุณเฉลิมพล หังสพฤกษ์ HS9CB และ คุณ สวัสดิ์ พัฒนพงษ์พันธ์ HS9II ประธานชมรมวิทยุสมัครเล่น จังหวัดยะลา ก็ได้เดินทางามาถึง HOME QTH ของ HS1AAM เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. พร้อมพาหนะคู่ชีพ ISUZU VAN ณ.ที่นี้คณะ DX จากกรุงเทพ ที่จะไปสาธิตซึ่งประกอบด้วย HS1AAM และ HS1CDX ได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมอยู่แล้ว
อุปกรณ์ที่เตรียมไปใช้ในการสาธิตคราวนี้คือ
- เครื่องรับส่งวิทยุย่าน HF YAESU FT-767GX
- ANTENNA TUNING 1 ชุด
- ANTENNA DIPOLE TRIBAND 1 ชุด
- TRANSMISSION LINE RG-8/U 80 เมตร / RG 58 20 เมตร
- QSL จากต่างประเทศจำนวนหนึ่ง
- LOG BOOK
- คันเคาะรหัสมอร์สแบบธรรมดา 1 ชุด
- คันเคาะรหัสมอร์สแบบ ELECTRONIC KEYER 2 ชุด
- ใบอนุญาตให้มี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (ฉบับจริง)
พวก เราทั้ง 4 คน คือ HS9CB,HS9II,HS1AAM และ HS1CDX ช่วยกันขนของขึ้นพาหนะคู่ชีพเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเดินทางก็ถ่ายรูปที่หน้า HOME QTH ของ HS1AAM ไว้เป็นทีระลึก 1 รูป จากนั้นก็ออกเดินทางเวลาประมาณ 14.30 น. มุ่งสู่ อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
อากาศ วันนี้ที่ กรุงเทพ ท้องฟ้าครึ้มทั้งวัน ข่าว ทีวี คืนวันก่อน มีภาพน้ำท่วมที่จังหวัดสตูล แต่ HS9CB บอกด้วยความมั่นใจว่า ออกพ้นจากกรุงเทพแล้วจะไม่มีฝนตก การจราจรค่อนข้างคับคั่งตามเคย กว่าจะออกพ้นจากกรุงเทพไปได้ก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง
HS9CB ทำหน้าที่ขับรถด้วยความคล่องแคล่ว ผ่านนครปฐม ราชบุรี และรับประทานอาหารเย็นที่เพรชบุรี เวลาประมาณ 17.00 น.ทั้ง HS9CB และ HS9II ซื้อขนมเมืองเพชรบุรี ไปฝาก XYL และ HARMONIC ตามฟอร์มใช้เวลาประมาณ 30 นาที เราก็เดินทางต่อ มุ่งตรง หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ทับสะแก ตรงเข้าจังหวัดชุมพร แวะเติมน้ำมันยีดเส้นยืดสาย ชั่วครู่้ แล้วออกเดินทางต่อ ท่ามกลางแสงจันทร์ วันอาสาฬหบูชา โดยมิได้มีฝนตกระหว่างการเดินทาง ตามที่ท่าน HS9CB ได้ คาดหมายเอาไว้
เทียง คืนเศษ เราเดินทางมาถึง ทางแยกเข้าสุราษฎร์ธานี และตรงไปที่ทุ่งสง คาดว่าจะถึงหาดใหญ่ประมาณเวลา 03.00 น. ช่วงนี้เป็นช่วงที่สองของการเดินทาง HS9CB ทำหน้าที่ขับรถจาก กรุงเทพ จึงขอพักและให้ HS9II รับทำหน้าที่ ขับรถต่อจนถึงหาดใหญ่ การเดินทางช่วงนี้ อยุ่ในช่วงดึกมากทุกคนอ่อนเพลีย หลับบ้างตื่นบ้างตามอัธยาศัย แต่ HS9II ทำหน้าที่ด้วยความเรียบร้อย และในที่สุดเราก็มาถึงหาดใหญ่ เข้าพักที่โรงแรม โฆษิต เมื่อเวลาประมาณ 03.30 รวมเวลาเดินทาง 13 ชั่วโมงเศษ
ที่หาดใหญ่ 27 ก.ค. 34 เวลาประมาณ 9.00 น. HS1AAM และ HS1CDX ได้ตื่นนอน อาบน้ำ แต่งตัว แล้วรับประทานอาหารเช้าพร้อมทั้งวางแผนนัดหมาย ให้ HS9CB มารับเวลา 10.00 น. เพื่อไปติดตั้งสถานีสาธิต ณ.ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีควบคุมข่าย HS9AS
การ ติดตั้งสายอากาศแบบ DIPOLE TRIBAND ย่าน 14,21,28 MHz เป็นไปอย่างง่าย ๆ โดยอาศัย TOWER ของสถานีควบคุมข่าย HS9AS ข้างหนึ่งสูงประมาณ 10 เมตรจากหนังคาตึก อีกข้างหนึ่งดึงสายหันทางทิศเหนือ ผูกติดกับหลังคาตึก ลากสายนำสัญญาณผ่านหลังคาตึกลงมาชั้น 2 ณ.ที่ซึ่งเตรียมไว้ ทั้งนี้สมาชิกชมรมหลายคน ช่วยกันคนละไม้คนละมือ งานติดตั้งใช้เวลาประมาณ 2 ช.ม.ก็เรียบร้อย
สถานีสาธิตของเราจัดให้มี QSL CARD ซึ่งเป็น CARD จากประเทศต่าง ๆ เพื่อยืนยันการติดต่อ QSO ไปติดตั้งแสดงให้สมาชิกได้ชมด้วย
และ ก่อนการสาธิตจะเริ่มขึ้น คุณชาติ ลีลาภรณ์ รองประธานชมรม วิทยุสมัครเล่นจังหวัดสงขลา ได้ทดลองฟังการ QSO ของแฮมชาวต่างประเทศ ในย่าน 21 MHz (15 METER BAND) ทั้ง PHONE และ CW
CQ CQ CQ DX DE HS1AAM/9 DX K ไม่มีเสียงตอบกลับเวลา 12.54 (0554 UTC)
CQ CQ CQ DX DE HS1AAM/9 DX K ได้รับสัญญาณตอบกลับ มาเป็นสถานีแรก จาก ฮ๊อกไกโด ประเทศ ญี่ปุ่น ดังนี้
- HS1AAM/9 DE JA8FMH K
- JA8FMH DE HS1AAM/9 R GA TNX FER CALL ES UR RST 599 QTH SONGKHLA OP CHAM HW? K
- HS1AAM/9 DE JA8FMH R GA CHAM OM UR RST 599 NAME IS MASA QTH HAKODATE CITY QSL VIA? K
- JA8FMH DE HS1AAM /9 R TKS MASA SAN FER NICE RPRT FM HAKODATE CITY ES QSL VIA TNX FER QSO NW QRU CU AGN 73 MASA SAN JA8FMH DE HS9AAM/9 SK
- HS1AAM/9 DE JA8FMH R TU SK
สิ้นสุดการติดต่อสถานี JA8FHM เมื่อเวลา 13.12 น (0612 UTC) แปลความการติดต่อเป็นภาษาธรรมดาได้ดังนี้
- HS1AAM/9 จาก JA8FMH เปลี่ยน
- JA8FMH จาก HS1AAM/9 ทราบครับ สวัดดีตอนบ่าย ขอบคุณที่กรณาเรียก สัญญาณของคุณคือ 599 QTH สงขลา ผมชื่อ จำ(ลอง) เปลี่ยน
- HS1AAM/9 จาก JA8FMH ทราบ สวัดดีตอนบ่าย คุณ จำ(ลอง) สัญญาณของคุณคือ 599 ผมชื่อ มาซา QTH นครฮาโกดาเตะ QSL CARD ส่งมาที่ใด ?
- JA8FMH จาก HS1AAM/9 รับทราบ ขอบคุณสำหรับ REPORT สัญญาณที่ดีมาก จากนครฮาโกดาเตะ QSL กรุณาส่งผ่าน สมาคม ขอบคุณสำหรับการ QSO และ QRU ไว้พบกันใหม่ 73 คุณมาซาซัง JA8FMH จาก HS1AAM/9 เลิก
เป็น อันว่า การทดสอบเครื่อง อุปกรณ์ในการสาธิต ครั้งนี้ใช้ได้ เป็นที่น่าสังเกต ที่มีกลุ่มแฮมชาวสงขลาสอบถามเรื่อง การใช้สัญญาณเรียกขานของ HS1AAM ในครั้งนี้ เป็น HS1AAM/9 ซึ่งก็มีการอธิบายว่า HS1AAM นำเอาเลขเขต 9 มาต่อท้ายสัญญาณเรียกขานของตน ก็เพื่อแสดงว่า ได้มาตั้งสถานีชั่วคราวในเขต 9 และเวลาที่รายงาน QTH ก็จะเป็นไปตามความจริง
การ สาธิต การ QSO ระหว่างประเทศ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2534 เริ่มอย่างจริงจังเมื่อเวลา 15.00 น.(0800 UTC) ท่ามกลางชาวแฮมสงขลาและนิสิตนักศึกษา ผลัดเปลี่ยนกันมาชมตลอด จาก LOG BOOK ผลปรากฏดังนี้
ระหว่างเวลา 14.39 น.(0739 UTC) ถึงเวลา 15.26 น.(0826 UTC) เป็นการสาธิตการติดต่อความถี่ 21 MHz SSB (PHONE) ติดต่อกับสถานีต่าง ๆ ดังนี้
- JH5SMY OSAKA RST 59/59
- G4IRS/MM เรือทะเล RST 59/57
- JA4QCN HIROSHIMA RST 59/59
- JA1XEL TOKYO RST 59/59
- JR3RRY OSAKA RST 59/59
- JA2EML KOMATI RST 59/59
- JA3KKE KOBE RST 59/59
- JQ1TAR TOKYO RST 59/59
- YC3VK INDONESIA RST 57/57
ตั้งแต่ เวลา 16.00 น. (0900 UTC) ถึง 18.25 น. (1125 UTC) เป็นการสาธิตการติดต่อ QSO ระบบ CW เนื่องจากอากาศเปิดและสายอากาศหันไปทางประเทศ ญี่ปุ่น ฉนั้นสถานีที่ติดต่อได้ ส่วนใหญ่จึงเป็นสถานีจากประเทศญี่ปุ่น ในช่วงนี้สามารถติดต่อได้ทั้งสิ้น 53 สถานี
เวลา 18.12 น (1112 UTC) เปลี่ยนความถี่เป็น 14 MHz เพื่อทดสอบว่าอากาศเปิดหรือไม่ และเนื่องจากก่อนออกจากกรุงเทพ ได้นัดหมายกับ HS1ABU เพื่อที่จะทดลองติดต่อกันที่ความถี่ 14.225 MHz เวลา 18.45 น. (1145 UTC) ได้ทดลองติดต่อกับประเทศญี่ปุ่น 2 สถานี ด้วย CW คือ สถานี JA2FNY และ JA7FFN ได้รับสัญญาณ 599 ทั้งสองสถานี
เวลา 18.45 น. (1145 UTC) ปรับความถี่มาที 14.225 MHz ในระบบ SSB เผ้าฟังเสียง จากสถานี HS1ABU จากกรุงเทพ ตามเวลานัด
เวลา 18.47 น. (1147 UTC) รับสัญญาณ HS1ABU ได้ชัดเจนประมาณ 57 มีเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางจาก กรุงเทพ ขอทดสอบสัญญาณตามลำดับ คือ HS1CQE, HS1AHT และ HS1AFA
เวลา 19.00 น (1200 UTC) ปรับเปลี่ยนความถี่มาที 14.320 MHz เพื่อเช็คเนท สถานีที่ทำหน้าที่เป็น เนทคอนโทรคือ VK6UA QTH เมือง เพิร์ทประเทศออสเตรเลีย คุณ อัลเบิร์ต เป็น NET CONTROL OPERATOR
วันนี้ ต้องนับเป็นวันพิเศษที่ สถานีวิทยุสมัครเล่นไทย เช็คเนทมากเป็นพิเศษ ดังนี้ HS1YL, HS1AAM, HS1CDX, HS1ABU, HS1AFA, HS1AHT และ HS1CQE
หลัง จากการเช็คเนท HS1ABU ได้ขอ CONTACT กับ HS1AAM/9 อีกครั้ง NET CONTROL สั่งให้ QSY ไปที่ความถี่ 14.335 MHz แต่พอ QSY ไปแล้วปรากฎว่าความถี่ไม่ว่าง เลยไม่สามารถติดต่อกันได้
เวลา ล่วงเลยมาเกือบ 21.00 น. แต่การติดต่อในความถี่ยังหนาแน่น และทุกคนยังปักหลักเฝ้าชมไม่ถอย อย่างไรก็ดี HS1AAM และ HS1CDX เห็นว่าได้เวลาพอสมควรแล้ว จึงขอยุติการสาธิต แยกย้ายกันไปเติมพลัง และพักผ่อน
เช้าวันที่ 28 กรกฎาคม 2534 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ HS1AAM และ HS1CDX ตกลงกันว่าจะเริ่มสาธิตตั้งแต่เช้า เรื่อยไปจนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. ก็จะเก็บเครื่องเตรียมตัวกลับกรุงเทพ
บรรยากาศเช้า วันอาิทิตย์ดีมาก อากาศจ่มใสดี ประมาณ 10 โมงเศษ ขอร้องให้สมาชิกชมรม ช่วยกันขึ้นไปเปลี่ยนทิศทางของสายอากาศ ให้ไปทางทิศเหนือจริง ๆ เพื่อจะได้ติดต่อกับสถานีทางยุโรป ใช้เวลาไม่นานนัก การปรับสายอากาศก็เรียบร้อย
เวลา 11.41 น.(0441UTC) เริ่มเปิดเครื่องฟังการติดต่อสื่อสาร ย่านความถี่ 21 MHz สัญญาณดีมาก แต่สัญญาณจากญีปุ่น ยังคงเข้ามายังเครื่องรับอย่างแรง ระดับ RST 599 เกือบทุกสถานี HS1AAM เริ่ม CQ เมื่อเวลา 14.41น.เพียงครั้งเดียวก็ได้รับการตอบ จากออสเตรเลีย VK3NC เป็นสถานีแรก เนื่องจากมีหลายสถานี เรียกเข้ามาในแต่ละครั้ง พร้อมกัน และสัญญาณดีมาก HS1AAM จึงเปลี่ยนวิธีการ QSO เป็นแบบ PILE UP ซึ่งใช้เวลาแต่ละสถานีเพียง 1-2 นาที เป็นอย่างมาก ทั้งนี้โดยการเพิ่มความเร็วของการส่งรหัสมอร์ จากระดับ 20 คำ/นาที เป็น 35-40 คำ/นาที เป็นที่ตื่นเต้นสนุกสนานกันทั่วหน้า เมื่อมีสถานีเรียกเข้ามาทีละเป็น สิบ ๆ สถานี
เวลา เวลา 12.42 น.(0542UTC) HS1CDX พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางคนหนึ่งที่ฝึกการ QSO ด้วยรหัสมอร์สจนชำนาญพอใช้ทำหน้าที่เป็น OPERATOR แทน HS1AAM และทำงานทีความมเร็ว 15 คำ/นาที HS1CDX คล่องแคล่วขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เนื่องจากระดับสัญญาณ แต่ละสถานีระดับ RST 599 ไม่นานนัก HS1CDX ก็ได้ เริ่มทำงานแบบ PILE UP เพิ่มความเร้วเป็น 25 คำ/ นาที ซึ่งสามารถทำงานได้ดี โดยสามารถ COPY ทุกสถานีที่เรียกเข้ามาได้
เวลา เคลื่อนคล้อยเย็นลงแล้ว ประมาณ 15.00 น. ความถี่ย่าน 14 MHz เริ่มเปิดจึงเปลี่ยนความถี่มาเป็น 14 MHz เมื่อเวลา 15.16 HS1AAM ทำหน้าที่เป็น OPERATOR อีกครั้ง
จบเสียงการ CQ ครั้งเดียว สถานีตอบกลับมาพร้อมใกันไม่น้อยกว่า 5 สถานี จากนั้นเป็นต้นไปก็เริ่มการ QSO แบบ PILE UP ชนิดที่ว่า ไม่มีเวลาพูดคุย หรือดื่มน้ำได้เลย HS1CDX ทำหน้าที่ ตอบคำถามผู้สนใจตลอดเวลา จนกระทั่งเวลา 16.53 น. HS1CDX ทำหน้าที่เป็น OPERATOR อีกครั้ง ด้วยความเร็วประมาณ 25-30 คำ/ นาที
การสาธิตก็สิ้นสุดลงในเวลาไกล้ 18.00 น.HS1AAM จึงจับคันเคาะบอกลา สถานีต่าง ๆ
DE HS1AAM/9 TNX FER QSO NW QRT QSL VIA BURO HPE CU AGN QRT CL
หลังจากนั้นก็เก็บเข้าของเตรียมเดินทางกลับ
วัน ที่ 29 กรกฎาคม 2534 เป็นวันเดินทางกลับ ซึ่งแต่เดิม HS9CB จะขับรถมาส่งที่ กรุงเทพแต่มีภาระกิจ จึงขอเลือนเป็นวันที่ 30 กรกฎาคม 2534 ซึ่งทั้ง HS1AAM และ HS1CDX ต่างมีภาระกิจ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2534 ในกรุงเทพ จึงไม่สามารถเลื่อนได้ จึงตกลงใจกลับกรุงเทพด้วยรถทัวร์ เวลา 17.00 น
มีเวลาว่างอีกเกือบตลอดทั้งวัน เพื่อให้เป็นการประหยัดค่าโรงแรม ที่ทางชมรมบริการใช้ HS1AAM จึงได้ให้ HS9CB เช็คเอาท์โรงแรมเวลา 12.00 น แล้วไปฟักผ่อนรอเวลาที่ HOME QTH ของ HS9CB ณ.ที่นั่นก็ได้คุยเรื่องต่าง ๆ เกียวกับวิทยุสมัครเล่นย่าน HF อีกหลายเรื่อง ที่น่าสนใจก็คือ ทำอย่างไรให้สมาชิกและผู้สนใจได้ใช้เครื่ิองย่าน HF ได้โดยมีการสอบขั้นกลาง หรือจัดสอบที่สงขลา ในเรื่องนี้ คงต้องไปหารือกับกรมไปรษณีย์โทรเลขต่อไป
ผู้เขียนให้คำ แนะนำว่า ระหว่างนี้ถ้าสนใจจริง ๆ ก็ควรหัดฟังวิทยุ คลื่นสั้นในย่านสมัครเล่นไปก่อน โดยอาจจะรวบรวมสมาชิกเป็นชมรม SWL แล้วดำเนินการขออนุญาติ ชื่อเครื่องรับอย่างเดียวมาใช้ SWL เป็นบันใดขั้นแรกของการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นระหว่างประเทศ ถ้ามีการจัดชมรม SWL ได้แล้ว ก็อาจจะมี การกำหนดรหัสประจำตัว ในเขต 9 เป็น HS9-001 เรียงลำดับ เหมือนมาเลเชีย 9M2-0001 ซึ่งมีสมาชิกอยู่พอสมควร และสามารถส่ง QSL CARD เพื่อยืนยันการรับฟังแก่สถานีวิทยุสมัครเล่น ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกเช่นกัน
สรุปการสาธิตวิทยุสมัครเล่นย่าน HF ณ.จังหวัดสงขลา ครั้งนี้สามารถ QSO ได้รวม 150 สถานี ประเทศที่ ติดต่อได้คือ ญี่ปุ่น,เกาหลี,ออสเตรเลีย,อินโดนีเซีย,ใต้หวัน,ยูโกสาเวีย,รัสเซีย,ฮังการี และเยรมัน โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 11 ชั่วโมง 55 นาที
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล
แสดงความคิดเห็น