วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประกอบวิทยุรับส่ง 29.6 MHz ระบบ FM

การประกอบวิทยุรับส่งชุดนี้ เป็นชุดคิตที่มีอุปกรณ์ทุกอย่างครบถ้วน แต่ที่ยุ่งยากนิดนึงคือ คู่มือเอกสารต่าง ๆ เป็นภาษาจีนทั้งหมด 

สนใจชุดคิทสั่งซื้อได้ที่นี่





เริ่มลงอุปกรณ์




รายการอะไหล่ที่ใช้ การประกอบของผม ผมพบว่าอะไหล่บางตัวไม่ตรงกับในตาราง แต่ไกล้เคียง (แทนกันได้) 




การทำงานของวงจรแบบคร่าว ๆ  

ภาครับ รับสัญญาณแค่ 1 ช่องความถี่คือ 29.6 MHz ช่องเรียกขานระบบ FM ในตัวเครื่องจะมีวงจรกำเนิดความถี่  40.3 MHz เพื่อบ้อนในกับวงจร Mixer วงจรกำเนิดความถี่ทรานซิสเตอร์ BG10 ใช้แร่ 13.4333 MHz เลือกจูนความถี่ฮาร์โมนิกส์ที่ 3 โดยหม้อแปลง B5 (คือ 13.4333 X 3 = 40.2999 MHz) ความถี่ 40.3 ที่ได้ก็ถูกส่งไปยัง BG9 หรือ Mixer นั่งเอง ส่วน BG8 ทำหน้าที่เป็น RF Amp 

หลังจากการ Mixer เราจะเลือกเอาความถี่หนึ่งเอาไปใช้งานนั่นคือความถี่ IF 10.7 MHz (10.7 มาจาก 40.3 MHz ที่ผลิตขึ้น ลบกับ 29.6 MHz ที่รับเข้ามา) Resonator ตำแหน่ง JT4 ทำหน้าที่เป็นตัวกรอง จากนั้นสัญญาณนี้ถูกพระเอกอย่าง MC3361 ตัวเดียวจัดการได้หมด จนกระทั่งออกมาเป็นสัญญาณเสียงระบบ FM (ชุดคิตจากจีนนิยมใช้ UTC3361D แทน MC3361 เพราะราคาถูกกว่า)


วงจรภายใน MC3361 

สัญญาณเสียงจะออกทางขา 9 ของ MC3361 เข้าสู่โวลุ่ม สำหรับปรับระดับเสียงจากนั้นจะถูกขยายด้วย LM386 ออกสู่ลำโพง จากการทดลองประกอบของผมพบว่าภาครับเสียงดังฟังชัดเกินตัวเลย  การเปิด ปิด Squelch ของวงจรนี้ก็ทำงานได้ดี เพราะตัดต่อไฟเลี้ยง IC  LM386  ไม่เหมือนบางรุ่นที่ตัดต่อสัญญาณ input ของ LM386 การตัดต่อสัญญาณ input อย่างเดียวจะมีข้อเสียตรงที่ว่าจะมีเสียงออกมาทางลำโพงเบา ๆ ถ้าไปฟังใกล้ ๆ ลำโพง และยังเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดนเปล่าประโยชน์ 


การทำงานภาคส่ง

BG5 ทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดความถี่ 29.6 MHz โดยใช้แร่ 9.866 MHz ดักจูนเอาความถี่ฮาร์โมนิกส์ที่ 3 (9.866X3 = 29.598 MHz) BG6 และ BG7 ทำหน้าที่เป็น Premic  ขยายสัญญาณอ่อน ๆ จาก mic แบบ condenser ให้แรงพอที่จะผสมคลื่นแบบ FM 

ในรูปวงจร D4 จะเป็น Varicap ไดโอด แต่ว่าเวลาประกอบจริง ๆ ชุดคิตชุดนี้เขาให้ใช้ทรานซิสเตอร์ เบอร์ B561 แทน อาจจะเป็นเพราะหาได้ง่ายกว่า Varicap ก็เป็นไปได้ ถ้าใส่ทรานซิสเตอร์ตัวนี้กลับด้านเวลากดคีย์ส่งสัญญาณ เสียงจะไม่ออก

วงจร Premic และวงจรกำเนิดความถี่เป็นวงจรที่ละเอียดอ่อน ต้องการกระแสไฟน้อย ๆ แต่เรียบ เลยต้องมีวงจร Regulator  7.5 โวลต์ ด้วย D3 และ BG4 ถ้าไม่มีการทำไฟให้เรียบ เวลาใช้งานถ้าต่อกับไฟบ้านที่มีคุณภาพไม่ดีพอ อาจจะมีเสียงฮัมได้

ส่วน BG1 - 3 นั้นต้องการกระแสมาก ไฟไม่ต้องเรียบก็ได้ เลยไม่ต้องใช้ Regulator

สัญญาณ 29.6 MHz ที่ได้ยังอ่อน ต้องขยายไปตามลำดับ คือ BG3 BG2 และสุดท้าย BG1 เป็น Power Amp ผ่านวงจร Low pass filter แล้วก็ส่งออกอากาศ  

กำลังส่งที่ได้ประมาณ 3.5 - 4 วัตต์ ที่ 12 โวลต์ และ 5 วัตต์ที่ 13.8 โวลต์

ความถี่ของภาคส่งอาจจะไม่ตรง 29.600 พอดีเราก็สามารถปรับจูนที่ C21 ให้ได้ความถี่ที่ถูกต้องที่สุด  

การเดินสายไฟภายในเครื่อง




อะไหล่ที่บัดกรียากที่สุด DUAL-GATE MOSFET 
มันมี 4 หาให้สังเกตขาที่โตที่สุดจะเป็น ขา S การบัดกรีระวังเรื่องความร้อนด้วยนะครับอย่าให้ร้อนมากเกินไป



PTT Switch 


PA เบอร์ C2078 ไม่ต้องรองฉนวนก็ได้


 ปรับแต่งหม้อแปลง IF 455 KHz (สีเหลือง) B3 ให้รับเสียง(เสียงพูดของคู่สถานี ไม่ใช่เสียงซู่ ๆ ซ่า ๆ) ได้ชัดเจนเป็นธรรมชาติที่สุด ส่วน B1 B2 B4 และ B5 ปรับแต่งให้รับสัญญาณอ่อน ๆ ให้ดีที่สุด (ปรับเครื่องให้มีความไวสูงสุด) 



ความถี่จาก BG10 ควรปรับ Trimmer ให้ได้ที่ 13.4333 MHz พอดีหรือใกล้เคียงที่สุด (ถึงแม้ว่าแร่ที่ใช้ความถี่จะเท่ากับ 13.4333 MHz ก็ตามแต่พอใส่เข้าไปในวงจรความถี่จะคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อยดังนั้นควรปรับจูนให้ได้ค่าที่ถูกต้อง)


หลังจากประกอบเสร็จและทดลองผมรู้สึกว่าขณะส่งสัญญาณเสียงจาก Mic เบาเกินไป วงจรนี้ไม่มี VR ให้ปรับ Gain ของ Mic ด้วยผมลองเพิ่มค่า C24 และ C25 จาก 0.01 pF (103) เป็น 0.1 uF (104) ได้ผลเลยครับเสียงดังกว่าเก่ามาก

ตัวอย่างการรับสัญญาณจากประเทศจีน

ไม่มีความคิดเห็น: