- อุปกรณ์เครื่องรับส่งง่ายกว่า หรือง่ายที่สุดในการรับส่งข้อมูลผ่านทางวิทยุสื่อสาร เราสามารถสร้างเครื่องรับส่งรหัสมอร์สได้ โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แค่ไม่กี่สิบตัวได้
- สากล สามารถใช้ได้ทั่วโลก โดยมีคำย่อต่าง ๆ ทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร ถึงแม้จะไม่เข้าใจภาษาต่างประเทศก็สามารถติดต่อสื่อสาร หรือขอความช่วยเหลือเป็นรหัสมอร์สได้
- รูปแบบการทำงานที่เงียบกว่า เมื่อใช้ร่วมกับหูฟังถือว่าเป็นการทำงานที่เงียบสนิท สามารถเล่นได้แม้ว่าคนในบ้านนอนหลับไปแล้วก็ตาม
- รหัสมอร์สทำให้การติดต่อสื่อสารผ่านตลอดรอดฝั่ง ในบางครั้งการสื่อสารระบบเสียงพูดมีสัญญาณที่อ่อนมาก ๆ จนแทบจะจับใจความไม่ได้ เมื่อเปลี่ยนระบบการติดต่อมาเป็นรหัสมอร์ส ก็สามารถติดต่อกันได้สบายขึ้น ส่งข้อความกันได้ครบถ้วน
- 5 ประหยัดความถี่ การส่งสัญญาณเสียง SSB ถ้าจะให้เสียงออกมาเป็นธรรมชาติจะใช้ช่วงความถี่ประมาณ 2.5 khz ต่อ1 ช่องสัญญาณเสียง แต่สำหรับ รหัสมอร์สแล้วใช้ช่วงความถี่แค่ 0.1-0.5 Khz ก็เพียงพอแล้ว (ขึ้นอยู่กับ Filter ในเครื่องรับ)
- มีอุปสรรคน้อยกว่า ถ้ามีการทดลอง สองระบบ SSB และ รหัสมอร์ส พบว่า SSB มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน TVI , RFI มากกว่า ระบบ รหัสมอร์ส
- สามารถสู้คนอื่นได้ สำหรับระบบ เสียงพูด SSB ถ้าเราเป็นสถานีี ปืนแก็บ listtle pistol เราอาจจะไม่มีทางสู้สถานีแรง ๆ หรือปืนใหญ่ Big gun ได้ แต่สำหรับรหัสมอร์สแล้ว มีทางเป็นไปได้ง่ายกว่า
- สร้างทักษะที่เหนือกว่า สำหรับเสียงพูดต้องอาศัยทักษะการพูดบ้างเหมือนกันแต่สำหรับรหัสมอร์สต้องใช้ ทักษะการติดต่อที่มากกว่า
- สามารถทำงานอัตโนมัติได้ โดยใช้ คอมพิวเตอร์ตั้งเวลาส่งสัญญาณ ประกาศข่าวสารได้
- ภาษามอร์สง่ายกว่า สำหรับรหัสมอร์สแล้วประกอบด้วย ตัวอักษร 26 ตัวตัวเลข 10 ตัว และสัญลักษณ์อีกเล็กน้อย ง่ายกว่าการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่มีคำศัพท์ และสำเนียง ที่ต้องเรียนรู้มากมาย
รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553
คุณสมบัติที่เหนือกว่าของรหัสมอร์ส (จาก RSGB Handbook)
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553
lcwo.net ฝึกรหัสมอร์สออนไลน์
http://lcwo.net
วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552
Morse Runner ซ้อมก่อนลง Contest โหมด CW
ก่อนอื่นให้เข้าไป Download ที่ http://www.dxatlas.com/MorseRunner/
หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อย หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังรูปด้านล่าง
ก่อนอื่นให้ใส่ Callsign ของเราไปในช่อง Call จากนั้นเลือกรูปแบบในการเล่น (RUN) ในที่นี้ผมเลือกแบบ WPX Competition ( working all prefixes.)
เมือเลือกเสร็จก็จะได้ยินเสียง ซู่-ซ่า เช่นเดียวกับวิทยุสื่อสารย่าน HF จากนั้นเราก็ดำเนินการ CQ เรียกหาเพื่อนสมาชิก โดยกด F1 หรือ Enter ก็ได้ ถ้ายังไม่มีใครตอบ ก็ CQ อีก 1-2 ครั้ง ก็จะมีสมาชิกตอบมา
เมื่อสมาชิกขาน Callsign ของเขามาให้เรารีบ พิมพ์ Callsign ไปในช่อง Call ทันที
เมื่อแน่ใจว่ารับ CallSign ของสมาชิกได้ถูกต้องแล้ว ให้กด Enter เพื่อเรียกสมาชิก ถ้า CallSign ถูกต้อง เพื่อนสมาชิกจะตอบกลับมา แต่ถ้าพิดพลาดเล็กน้อย (ผิด 1 ตัวอักษร) เพื่อนสมาชิกจะทวนให้เรา ทวนเสร็จจะรายงานสัญญาณ RST + NR มาให้เราเลย โดย RST มักจะเป็น 5NN (599) แต่สำหรับโปรแกรมนี้ จะมีการหลอกล่อ ในบางครั้งจะส่งสัญญาณ แบบอื่นมา อันนี้ต้องตั้งใจฟังด้วยนะครับ
NR (NR=Number) มักจะส่งมาเป็นแบบย่อ เช่น
A = 1 (.-)
U = 2 (..-)
V = 3 (...-)
4 = 4 (....)
E = 5 (.....)
6 = 6 (-....)
B = 7 (-...)
D = 8 (-..)
N = 9 (-.)
T = 0 (-)
เมื่อแลกเปลี่ยน NR กันเสร็จก็ถือว่าจบ 1 QSO ให้เริ่ม CQ ใหม่ /หรือถ้ามีเพื่อนสมาชิกรอคิวอยุ่ เขาจะขาน Callsign มาเอง
สำหรับการ RUN ในรูปแบบนี้จะกำหนดเวลาการเล่นเอาไว้ที่ 60 นาที ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และไม่สามารถหยุดพักโปรแกรมได้ (ถ้าหยุดคือยกเลิก ต้องเริ่มเล่นใหม่เลย) เมื่อเล่นครบ 60 นาที จะสามารถส่งคะแนนไปยังเว็บไซต์ของ Morse Runner ได้ เพื่อดูผลความสามารถของเรากับเพื่อน ๆ
วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ชุด Interface สำหรับส่ง รหัสมอร์ส แบบง่าย ๆ
อยากลง Contest ใน Mode CW แต่ไม่มีคีย์และไม่อยากหาคีย์เพราะขาดงบประมาณ มีเงินไม่ถึงร้อยบาทจะทำไงได้ครับ ?? นั่งคิดไป คิดมา เอ้ ..มาสร้างตัว interface แบบง่าย ๆ ดีกว่า
รายการอุปกรณ์
- ทรานซิสเตอร์ แบบ NPN เบอร์ 2SC945 หรือเบอร์แทน (สามารถใช้ได้หลายเบอร์ บางเบอร์ตำแหน่งขาอาจจะไม่ตรงกันต้องดัดแปลงเอาเองครับ)
- ตัวต้านทาน 1K (สี น้ำตาล ดำ แดง ทอง) ขนาด 1/4 วัตต์ หรือเล็กกว่า เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง
- สายต่อ ผมเลือกใช้สาย RG58 เพราะมีขนาดพอเหมาะ และมีอยู่ที่บ้านแล้ว ไม่ต้องไปหาชื้อ
- DB9 ตัวเมีย
- เจ็กไมโครโฟน แบบโมโน
รูปวงจร (Schematic Diagram)
ตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์เบอร์ 2SC945
ตัวอย่างการต่อสาย
สายพร้อมใช้งาน
ทดลองนำไปต่อใช้งานจริง ร่วมกับโปรแกรม N1MM logg
รายละเอียดเต็ม ๆ อ่านได้ที่ http://www.hs8jyx.com/html/easy_cw_interface.htmlวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
โปรแกรม CW Freak กับการทดสอบความเร็วรหัสมอร์ส
http://www.ji0vwl.com/cw_freak_e.html
ก่อนอื่นให้ไป Download โปรแกรมมาก่อน โดย คลิกที่นี่ จะได้ไฟล์ที่ Zip มา ให้แตกไฟล์ออกไว้ใน โฟลเดอร์ที่ต้องการ จากนั้นก็เปิดโปรแกรมที่ cw_freak.exe
การทำงานมีอยู่ 5 โหมดด้วยกัน
Practice A และ B เอาไว้สำหรับการซ้อม Trial 20 QSOs ,50QSOs และ Monthly นั้นเอาไว้แข่งขัน ผลการแข่งขันสามารถส่งเข้าไปในเวบ ที่รวมคะแนนได้ดังนี้
[20QSOs Ranking]
[50QSOs Ranking]
[Monthly Ranking]
นี่ คือข้อดีของโปรแกรมนี้เลย เวลาส่งคะแนนไป ก็จะมีการ Update ทันที ไม่ต้องรอ เหมือนบางโปรแกรม และกรณี ถ้าเราส่งคะแนนครั้งหลัง น้อยกว่าครั้งแรก โปรแกรม ก็จะเตือนว่ามีคะแนนที่สูงกว่าอยู่แล้ว เหมาะกับการนำโปรแกรมไปเล่น กับคอมหลาย ๆ ตัว
การ ปรับแต่ง สามารถเข้าไปได้ใน Option ซึ่งสามารถปรับ Default Mode ,Default Callsign เป็นต้น อาจจะไม่มีอะไรมากมาย เมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่น แต่ถ้านำมาเพื่อการทดสอบความเร็วแล้ว ถือว่าน่าสนใจครับ