แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ham radio แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ham radio แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เฟด Fade ลง (Fade-in Fade-out)

คำถาม :: ได้ยินเพื่อนสมาชิกบ่นบ่อย ๆ ว่าตอนนี้เฟดลงลงสายอากาศ ทำให้รับไม่ได้ ผมอยากทราบว่าอาการเฟดลงที่สายอากาศเกิดจากอะไร ?



ตอบ :: คำว่า "เฟดลง" จริง ๆ แล้วไม่มี และเป็นไปไม่ได้ เป็นคำที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แต่มันเห็นภาพได้ชัดดี ก็เลยก็เลยกลายเป็นที่นิยมของคนใช้วิทยุสื่อสารไป

เฟด - Fade คืออาการจางลง ๆ จนหายไปในที่สุดอันนี้เรียก Fade Out และถ้าจากจาง ๆ ค่อย ๆ ชัดขึ้นอันนี้เรียก Fade In ในการติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุซึ่งจต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศเป็นระยะทางไกล ๆ บางครั้ง เมื่อลักษณะอากาศเปลี่ยน สัญญาณที่รับได้ก็มีอากาศ Fade-in Fade - out คือรับได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่ได้มีเจ้าเฟดตัวไหนมาลง
 
ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

My LoTW 07-12-2009

วันที่ 7-12-2009 ผมสะสมรายชื่อ ประเทศที่ติดต่อได้และได้รับการยืนยันได้ 15 ประเทศ ดังนี้ (เส้นทางการล่ารางวัลยังอีกยาวนาน)



ถึงแม้จะติดต่อนักวิทยุในประเทศนั้นได้หลายคนแต่การล่ารางวัล DXCC จะนำรายชื่อประเทศมานับแค่ครั้งแรกครั้งเดียว

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Radio Contesting



Radio Contesting (หรือเรียกอีกอย่างว่า radiosport ) เป็นกิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่น โดย ติดต่อเพื่อนสมาชิกนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน (Contest exchange) ภายใต้เวลาที่กำหนด การแข่งขันอาจจะทำเป็นกลุ่ม หรือ เดี่ยว ก็ได้ การแข่งขัน ในบางครั้ง อาจจะกำหนด เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น อาจจะใช้เฉพาะบาง Mode หรือแค่ช่วงความถี่

Contest exchange ในการแข่งขันแต่ละรายการ อาจจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่กรณี ยกตัวอย่างเช่น แลกเปลี่ยน signal report, ชื่อ, zone, grid locator, อายุของพนักงานวิทยุ หรือ serial number เป็นต้น ในการติดต่อแต่ละ ครั้งสิ่งที่สำคัญคือ call sign ของคู่สถานี และข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ตามด้วยเวลาและความถี่หรือ band ที่ใช้ติดต่อกันลงใน Log

ตัวอย่างการติดต่อระหว่างการแข่งขัน CQ World Wide DX Contest (ดัดแปลงมาจาก วิกิพีเดีย) ของนักวิทยุ อังกฤษ กับ นิวซีแลนด์

สถานีที่ 1: CQ contest Mike Two Whiskey, Mike Two Whiskey, contest.
(สถานี M2W กำลัง CQ เพื่อเรียกคู่สถานีระหว่างการแข่งขัน)

สถานีที่ 2: Zulu Lima Six Quebec Hotel
(สถานี ZL6QH ตอบ โดยขาน callsign ของเขาโดยยังไม่ต้องแจ้งรายละเอียดอย่างอื่น)

สถานีที่ 1: ZL6QH 59 14 (พูดว่า "five nine one four")
(M2W ยืนยัน Callsign ของ ZL6QH และทำการรายงาน สัญญาณ 59, พร้อมด้วย Zone 14 (ยุโรป ตะวันตก)

สถานีที่ 2: Thanks 59 32 (said as "five nine three two")
(ZL6QH ยืนยันการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ M2W และรายงานสัญญาณกลับมา 59พร้อมด้วย Zone 32 (แปซิฟิกใต้)

สถานีที่ 1: Thanks Mike Two Whiskey
(M2W ยืนยันการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ ZL6QH เป็นอันเสร็จพิธี และพร้อมสำหรับการติดต่อสถานีต่อไป)

ตัวอย่างบันทึกเสียงของ K5ZD ในงาน CQ WW Phone 2008

Link :: http://www.hs8jyx.com

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

กิจกรรม ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

ทดลอง แข่งขันกับเขาด้วย โดยใช้ความถี่ย่าน 20 เมตร (14MHz) ซึ่งความถี่ที่ติดต่อได้ง่ายก่อน ตอนแรกกะว่าจะออกอากาศที่บ้าน แต่เนื่องจากสัญญาณรบกวน จากหม้อแปลงไฟฟ้าเข้ามารบกวนมากเกินไป จึงต้องไปหาสถานที่ชั่วคราว แต่ด้วยเวลาที่จำกัด และการเดินทางมาคนเดียว จึงต้องทำที่ออกอากาศแบบง่าย ๆ ตามรูป

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

คงจะเห็น กล่องสีชมพู ด้านข้างนะครับ ผมเก็บอุปกรณ์วิทยุ และเสื้อผ้า ทั้งหมดไว้ในกล่องนี้ งบประมาณในการเดินทางไม่เกิน 500 บาท

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

โชคดีที่พาหลอดตะเกียบประหยัดไฟไปด้วย

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

สาย อากาศที่ใช้ คือสายอากาศ ไดโพล ที่ประกอบไว้ก่อนหน้า จำนวน 2 ต้น ความสูงพอ ๆ กับต้นกล้วยข้าง ๆ วางคนละทิศกัน ใช้ Coaxial Switch สลับไปมา หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่ทำให้สูง ๆ หรือดีกว่านี้ ต้องขอตอบว่า เนื่องจากเวลาจำกัดมาก และหาวัสดุไม่ทันจริง ๆ

ALL ASIAN DX CONTEST - 2009 ของ HS8JYX

ผล จากการทดลองแข่งขัน แบบเดียวๆ และใช้ย่านความถี่เดียว ก็พอจะรู้ว่าเวลาใน เหมาะกับกับการติดต่อ (ในย่านนี้) เวลาใหนควรจะพักผ่อน ไม่ควรฝืน สภาพอากาศไม่ดี ติดต่อได้น้อย ไกล้ ๆ ให้พักเอาแรงดีกว่า การแข่งใช้เวลานานตั้ง 48 ชั่วโมง ถ้าเอาเวลาที่ควรจะพักผ่อนไปใช้ในการแข่ง พอเวลาสภาพอากาศดีจริง ๆ เราอาจจะไม่ใหวเอาได้ อย่าลืมว่าเป็นการเล่นนอกสถานที่ ต้องมีแรงเหลือไว้เก็บของสำภาระด้วย

http://www.hs8jyx.com/html/cq_aa_2009_hs8jyx.html

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

The MRX- 40 Mini Receiver

The MRX- 40 Mini Receiver


บังเอิญผมไปเปิดหนังสือ QST ฉบับ September 1997 เจอเครื่องรับ วิทยุ HF ย่าน 7 MHz ดูวงจรแล้วน่าจะหาอุปกรณ์ได้ ก็เลยหยิบเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ มาลงมือทดลองทำครับ

แผ่นพริ้นของ MRX- 40 Mini Receiver

เพื่อ ลดความยุ่งยาก ผมก็ทดลองสั่งทำแผ่นพริ้น จะสั่งแผ่นเดียวก็ดูแล้วไม่คุ้มค่า เลยสั่งมา 5 แผ่น กะว่าจะให้สมาชิกในพื้นที่ท่านอื่นที่สนใจ นำไปทดลองด้วย

แผ่นพริ้นของ MRX- 40 Mini Receiver

การ ลงอุปกรณ์ และการบัดกรีนั้นก็เหมือนกับวงจรอื่น ๆ วงจรนี้เป็นวงจรง่าย ๆ ใช้ crystal เป็นตัวบังคับความถี่ ใช้ NE602 เป็นตัว oscillator/mixer ขยายเสียงด้วย LM386 ส่วนการปรับความถี่นั้นใช้ ไดโอดเบอร์1N4004 รับบทเป็น varicap จำเป็น สามารถปรับเปลี่ยนความถี่ได้ 1.5 kHz จากความถี่ของ crystal ในที่นี้จะใช้ความถี่ 7040 kHz ซึ่งเป็นความถี่ QRP ในย่าน 40 เมตร

ภาพตัวอย่าง MRX- 40 Mini Receiver เมื่อลงอุปกรณ์เสร็จแล้ว

ภาพตัวอย่าง เมื่อลงอุปกรณ์เสร็จแล้ว

แรง ดันที่จ่ายให้กับ NE-602 นั้น ต้องผ่านไอซี regulate สักหน่อย ด้วย 78L06 รักษาแรงดันไว้ที่ 6 โวลต์ซึ่งพอเหมาะกับ NE-602 ส่วน LM-386 นั้น ไม่จำเป็นต้องผ่าน ไอซี regulate รับไฟตรง ๆ ได้เลย

รายละเอียดวงจรของ MRX- 40 Mini Receiver

ดูรายละเอียดของวงจร (PDF)

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.hs8jyx.com

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิทยุรับส่ง CW PIXIE II

วิทยุรับส่ง CW PIXIE II

วิทยุ รับส่ง PIXIE II เป็นเครื่องรับ - ส่งวิทยุขนาดเล็ก ใช้สำหรับรับส่ง รหัสมอร์ส สามารถดัดแปลงให้ใช้กับความถี่ของกิจการวิทยุสมัครเล่น ในย่าน 80 เมตร (3.5MHz) และ 40 เมตร (7MHz) ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ crystal วงจรต้นฉบับถูกออกแบบโดย Dave Joseph, W7AMX โดยพัฒนามาจากวงจรของ Micro-80 mini-transceiver ของ Oleg Borodin, RV3GM ซึ่งเป็นวงจรรุ่นก่อนหน้า วิทยุรับส่ง PIXIE II ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกโดยนิตยสาร QRPp ของสมาคม NorCal QRP Club's ในเดือน มิถุนายน ปี 1995 สำหรับเมืองไทย สามารถสั่งชื้อได้จาก www.153rt.com ในราคา 380 บาท

CW PIXIE II oscillator

วงจรในส่วนของ oscillator จะใช้ oscillator แบบ Colpitts crystal oscillator

CW PIXIE II Power Amplifier

Power Amplifier ทำหน้าที่ขยายกำลังจากวงจร oscillator ให้มีกำลังมากขึ้น เพียงพอต่อการออกอากาศ วงจรนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเรากด Key เท่านั้น ถ้าสังเกตจะพบว่าการกด Key ก็เหมือนการลัดวงจร R5 เป็นการต่อขา E ลง Ground โดยตรง

Output Filter วงจรฟิลเตอร์สำหรับชุดนี้ใช้วงจร LC bandpass filter ต่อกันเป็นแบบ Pi

สำหรับความถี่ 3.580 MHz

  • L3 = 2.7uH
  • L4 = 4.7uH
  • C9 = 1nF
  • C11 = 1nF

สำหรับความถี่ 7.060 MHz

  • L3 = 1.5uH
  • L4 = 2.7uH
  • C9 = 470pF
  • C11 = 470pF

วงจร ขยายเสียง วงจรนี้จะใช้ IC เบอร์ LM386 ซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก ใช้อุปกรณ์ต่อร่วมอีกเล็กน้อย ก็ทำงานได้แล้ว สัญญาญ input จะเข้ามาทางขา 2 และออกสู่ลำโพงทางขา 5 ของไอซี

วงจร ขยายเสียง วงจรนี้จะใช้ IC เบอร์ LM386 ซึ่งหาได้ง่าย ราคาถูก ใช้อุปกรณ์ต่อร่วมอีกเล็กน้อย ก็ทำงานได้แล้ว สัญญาญ input จะเข้ามาทางขา 2 และออกสู่ลำโพงทางขา 5 ของไอซี โดยมี C5 และ C6 เป็นวงจร AC coupling คือยอมให้สัญญาณ AC เท่านั้นที่ผ่านไปได้ ส่วน C7 เป็นตัวกำหนด อัตราการขยายของไอซี

สำหรับ พริ้นที่ได้มานั้น ได้ออกแบบให้บัดกรีทางด้านทองแดง การบัดกรีด้านบนจึงต้องมีการ กลับขา IC และทรานซิสเตอร์ ดังรูป

ตำแหน่งขาของทรานซิสเตอร์

ตำแหน่งขาของทรานซิสเตอร์

การกลับขา IC LM386 ภาคขยายเสียง

การกลับขา IC LM386 ภาคขยายเสียง

ภาพตัวอย่างเมื่อลงพริ้นเสร็จเรียบร้อย

อ่านต่อได้ที่ http://www.hs8jyx.com/html/pixie.html

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โปรแกรม CW Freak กับการทดสอบความเร็วรหัสมอร์ส

โปรแกรม CW Freak เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับท่านนักวิทยุที่ ต้องการทดสอบความเร็วรหัสมอร์สของตัวเอง โปรแกรมนี้ ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยุสมัครเล่นชาวญี่ปุ่น นามว่า Satoshi Imaizumi (JI0VWL)

http://www.ji0vwl.com/cw_freak_e.html

ก่อนอื่นให้ไป Download โปรแกรมมาก่อน โดย คลิกที่นี่ จะได้ไฟล์ที่ Zip มา ให้แตกไฟล์ออกไว้ใน โฟลเดอร์ที่ต้องการ จากนั้นก็เปิดโปรแกรมที่ cw_freak.exe

โปรแกรม CW Freak กับการทดสอบความเร็วรหัสมอร์ส

การทำงานมีอยู่ 5 โหมดด้วยกัน

โปรแกรม CW Freak กับการทดสอบความเร็วรหัสมอร์ส

Practice A และ B เอาไว้สำหรับการซ้อม Trial 20 QSOs ,50QSOs และ Monthly นั้นเอาไว้แข่งขัน ผลการแข่งขันสามารถส่งเข้าไปในเวบ ที่รวมคะแนนได้ดังนี้

[20QSOs Ranking]
[50QSOs Ranking]
[Monthly Ranking]

โปรแกรม CW Freak กับการทดสอบความเร็วรหัสมอร์ส

นี่ คือข้อดีของโปรแกรมนี้เลย เวลาส่งคะแนนไป ก็จะมีการ Update ทันที ไม่ต้องรอ เหมือนบางโปรแกรม และกรณี ถ้าเราส่งคะแนนครั้งหลัง น้อยกว่าครั้งแรก โปรแกรม ก็จะเตือนว่ามีคะแนนที่สูงกว่าอยู่แล้ว เหมาะกับการนำโปรแกรมไปเล่น กับคอมหลาย ๆ ตัว

โปรแกรม CW Freak กับการทดสอบความเร็วรหัสมอร์ส

การ ปรับแต่ง สามารถเข้าไปได้ใน Option ซึ่งสามารถปรับ Default Mode ,Default Callsign เป็นต้น อาจจะไม่มีอะไรมากมาย เมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่น แต่ถ้านำมาเพื่อการทดสอบความเร็วแล้ว ถือว่าน่าสนใจครับ

http://www.hs8jyx.com/morse/cw_freak.html

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

วงจรที่จะนำมาทดลองเล่นกันวันนี้เป็นชุดคิตเครื่องรับวิทยุ AM แบบ 7 ทรานซิสเตอร์ ของ Future kit (ราคา 360 บาท) ซึ่งหาชื้อได้ ตามร้านขายอะใหล่อิเล็คทรอนิกส์ ทั่วไป

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

สำหรับ การประกอบนั้น ก็ให้เริ่มจากการใส่อุปกรณ์ ที่มีความสูงน้อย ๆ ไปหาตัวที่มีความสูงมาก เพื่อความสะดวกในการประกอบ และขอให้สังเกตเรื่อง เบอร์และ การวางขาของทรานซิสเตอร์ด้วย ในที่นี้จะใช้ทรานซิสเตอร์ 3 เบอร์ด้วยกัน คือ 2SC3194 , 2SC9012 ,2SC9013

เครื่องรับวิทยุ AM 7 ทรานซิสเตอร์

ภาพ เมื่อประกอบเสร็จ

วงจร Front - End สำหรับเครื่องรับชุดนี้จะใช้ ทรานซิสเตอร์ตัวเดียว ทำหน้าที่ครบทุกอย่างคือ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

ราย ละเอียดของวงจร เริ่มจากวงจร Front - End สำหรับเครื่องรับชุดนี้จะใช้ ทรานซิสเตอร์ตัวเดียว ทำหน้าที่ครบทุกอย่างคือ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

รูปแสดง Q 1 ทำหน้าที่ในภาครับ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

รูปแสดง Q 1 ทำหน้าที่ในภาครับ RF AMP ,MIXER และ LOCAL OSCILLATOR

ความถี่ที่ได้จากการ Mixer จะมีหลายความถี่ แต่ที่ต้องการคือความถี่ IF ที่มีค่าเท่ากับ 455 KHz สัญญาณนี้จะผ่านออกมาทางหม้อแปลง IF1

Q 2 และ Q3 ทำหน้าที่ ขยาย IF ถ้าสังเกตจะเห็นว่า วงจรของทรานซิสเตอร์ทั้งสองชุด จะคล้ายกัน การขยาย IF หลาย ๆ ครั้ง จะทำให้ได้สัญญาณที่ดีกว่า

รูปแสดง Q 2 และ Q3 ทำหน้าที่ ขยาย IF

รูปแสดง Q 2 และ Q3 ทำหน้าที่ ขยาย IF

IF transformer สังเกตว่าภายในจะมี Embeded Capacitor อยู่ด้วย

วงจร Detector วงจรนี้จะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงออกมาจากคลื่นพาห์ (radio carrier) กระบวนการนี้เรียกว่า demodulation วงจร Detector จะอยู่หลังจากวงจรขยาย IF และก่อนหน้าวงจรขยาย AF ทั้งในระบบ AM และ FM

วงจร AGC (automatic gain control) ทำหน้าที่ ควบคุมอัตราการขยายของวงจรให้คงที่ ถ้าสัญญาณที่รับได้มีความแรงน้อย วงจร AGC จะเพิ่มอัตราการขยายให้มากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าสัญญาณที่รับได้มีความแรงสูง วงจรนี้ก็จะลดอัตราการขยายลง ทำให้สัญญาณที่รับได้ มีความแรงไกล้เคียงกันตลอด (สำหรับวิทยุสื่อสารย่าน HF บางรุ่นจะสามารถเปิด - ปิดระบบนี้ได้)

วงจร AGC ในเครื่องรับชุดนี้จะไปควบคุม อัตราการขยายของ Q2 เป็นหลัก แต่สำหรับ เครื่องรับที่มีคุณภาพสูง จะมีการควรคุมอัตราการขยายที่ภาค RF AMP ด้วยดังรูปด้านล่าง

ภาค ขยาย AF หรือ ภาคขยายเสียง โดยปกติเครื่องรับวิทยุ แบบนี้จะใช้ภาคขยายเสียงแบบง่าย ๆ อาจจะเป็นทรานซิสเตอร์ หรือ IC ก็ได้ มีกำลังการขยายไม่มากนัก

ทดลองรับสัญญาณ



http://hs8jyx.com/html/am_7tr_receiver.html