แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ qrp แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ qrp แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทดลองสร้างวิทยุรับส่ง QRP ความถี่ 14.060 MHz แบบ Rockmite




การลงอุปกรณ์ให้ลงตามรูป โดยเริ่มจาก SA602 ซึ่งตัวเล็กมาก และเป็นอุปกรณ์ แบบ SMD (Surface Mount Device แปลตรงๆ ก็คือ อุปกรณ์ที่ยึดอยู่บนผิวของ PCB) ต้องระมัดระวัง เรื่องความร้อน จากการบัดกรี และไม่ให้ตะกั่วที่บัดกรีลัดวงจรกัน


 การใส่ใดโอดให้ระมัดระวังเรื่องขั้วด้วย โดยดูตัวอย่างการใส่ได้จากรูป



การต่อสาย



ข้าง ๆ ตัว Crystal Y1 และ Y2 จะมีจุดให้บัดกรีตัวถังลงกราวด์ด้วย การใส่  Crystal ให้ใส่ให้ลอยขึ้นมาสักเล็กน้อย ป้องกันการลัดวงจร ระหว่างตัวถังของ Crystal กับลายพริ้น

เนื่องจากพริ้นมีขนาดเล็ก การใส่ ตัวต้านทานและไดโอดต้องใส่แบบยืน หรือฝรั่งเรียกว่า hairpin - fashion 


Schematic ของ Rockmite

 ตำแหน่งขา 2N7000

C111 ซึ่งอยู่ไกล้กับ Heat Sink ทรานซิสเตอร์ภาคขยายกำลังเบอร์ 2N2222A ให้ใช้ตัวที่สั้นที่สุด (ค่า 3-47uF) 

ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N2222A ก่อนจะติดตั้งลงพริ้น ให้ใส่ Heat Sink ก่อน ระวังไม่ให้ Heat Sink ไปสำผัดกับอุปกรณ์รอบข้าง


ตัวอย่างใช้กล่องของ Future kit รุ่น FB04 ราคา 34 บาท ขั้วต่อสายอากาศใช้ SO - 239 เพื่อให้เข้ากับระบบสายอากาศต่าง ๆ ที่ผมมีอยู่ บางท่านอาจจะใช้ขั้วต่อแบบ BNC ก็ได้

สายนำสัญญาณเส้นสีดำ RG-174/U ในรูป มาพร้อมกับ kit Rockmite อยู่แล้วครับ




ผมเลือกใช้ Jack หูฟังขนาดใหญ่ สำหรับต่อลำโพงและ Key เพื่อความแข็งแรง ทนทานเหมาะกับการใช้งานภาคสนาม




ควรใส่ไดโอดไว้ที่ขั้วต่อไฟ + เพื่อบ้องกันการต่อไฟผิดขั้ว ในเวลาใช้งานอาจจะใช้ไดโอดเบอร์ 1N4001 หรือถ้าจะให้ดีควรใช้ไดโอดประเภท Schottky diode เช่นเบอร์ 1N5818 เพราะว่าไดโอดประเภทนี้มีแรงดันตกคร่อมที่น้อยกว่า




ทดลองภาครับ โดยให้ E27EK ส่งสัญญาณ CQ มาจากจังหวัด ชลบุรี ถึง จังหวัดกระบี่ (รับด้วยสายอากาศไดโพล)


บันทึกเสียง Rockmite ขณะที่ต่อสายอากาศแต่ยังไม่มีสัญญาณมอร์สเข้ามา


ทดลองส่งด้วย Rockmite รับสัญญาณด้วย IC-718


รับสัญญาณ CQ จาก RSARS

การเปลี่ยนความเร็วในการส่งรหัสมอร์ส  สามารถทำได้โดยกดสวิช (ตัวอย่างของผมเป็นสวิชสีแดง) ค้างไว้นานกว่า 250 ms จะมีเสียง S (ดิด ดิด ดิด) หมายความว่า เราได้เข้ามาในโหมด ปรับ Speed แล้ว ถ้าเรากด Dot ค้าง จะเป็นการเพิ่มความเร็วไปเรื่อย ๆ (จนถึงประมาณ 40คำต่อนาที) ถ้าเรากด Dash ค้าง ความเร็วจะลดลงเรื่อย ๆ (จนถึงประมาณ 5 คำต่อนาที) เมื่อเราปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ ความเร็วเริ่มต้นของรหัสมอร์สอยู่ที่ 16 คำต่อนาที ถ้าไม่มีการกด Dot หรือ Dash เป็นระยะเวลา ประมาณ 1.5 วินาที เครื่อง Rockmite จะส่งโทนเสียงต่ำออกมา หมายความว่า เราได้กลับเข้ามายังโหมดรับส่งปกติเรียบร้อยแล้ว

การเปลี่ยนโหมดมาใช้งาน straight key หรือ ชุด Computer interface สามารถทำได้โดย ก่อนเปิดเครื่องให้กดคีย์มอร์ส (Dot หรือ Dash ก็ได้) ค้างไว้แล้วเปิดเครื่อง



ข้อดีของวงจร
- สร้างได้ง่าย วงจรไม่ซับซ้อน การออกแบบวงจรมีความสวยงาม
-Built-in Iambic keyer, 5-40 WPM
- วงจรกรองสัญญาณ หรือ Band Pass Filter ใช้ Crystal สามารถกรองสัญญาณได้ดี ไว้ใจได้ไม่มีสัญญาณรบกวนจากวิทยุกระจายเสียงและอื่นๆ 

ข้อจำกัด
- ไม่สามารถปรับความถี่ได้
- กำลังส่งน้อย(ไปสักนิด)
- เสียงออกลำโพงเบา เหมาะกับการใช้หูฟัง 
- เสียง Side Tone ดังมากไปสักนิด ไม่สมดุลกับเสียงที่รับได้

ทางเลือกสำหรับท่านที่ต้องการสร้างเฉพาะภาครับ
- วงจรเครื่องรับแบบ Super VXO ที่ 14 MHz หรือ 21MHz สร้างง่ายและมีเสียงดังชัดเจน
- เครื่องรับ 21 MHz Superheterodyne

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

NAQCC - QRP Club QRP คือทักษะ ไม่ใช่กำลัง

NAQCC - QRP Club กล่าวว่า QRP คือทักษะ ไม่ใช่กำลัง





http://home.windstream.net/yoel/

การ CQ ที่ทำให้คุณสำเร็จในการติดต่อแบบ QRP คือ การ CQ ที่สั้น ๆ กระชับ ย้ำข้อมูลที่จำเป็น และเว้นช่องว่างระหว่าง CQ ฟังบ่อย ๆ เพื่อรอรับการตอบกลับมา

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

The MRX- 40 Mini Receiver

The MRX- 40 Mini Receiver


บังเอิญผมไปเปิดหนังสือ QST ฉบับ September 1997 เจอเครื่องรับ วิทยุ HF ย่าน 7 MHz ดูวงจรแล้วน่าจะหาอุปกรณ์ได้ ก็เลยหยิบเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ มาลงมือทดลองทำครับ

แผ่นพริ้นของ MRX- 40 Mini Receiver

เพื่อ ลดความยุ่งยาก ผมก็ทดลองสั่งทำแผ่นพริ้น จะสั่งแผ่นเดียวก็ดูแล้วไม่คุ้มค่า เลยสั่งมา 5 แผ่น กะว่าจะให้สมาชิกในพื้นที่ท่านอื่นที่สนใจ นำไปทดลองด้วย

แผ่นพริ้นของ MRX- 40 Mini Receiver

การ ลงอุปกรณ์ และการบัดกรีนั้นก็เหมือนกับวงจรอื่น ๆ วงจรนี้เป็นวงจรง่าย ๆ ใช้ crystal เป็นตัวบังคับความถี่ ใช้ NE602 เป็นตัว oscillator/mixer ขยายเสียงด้วย LM386 ส่วนการปรับความถี่นั้นใช้ ไดโอดเบอร์1N4004 รับบทเป็น varicap จำเป็น สามารถปรับเปลี่ยนความถี่ได้ 1.5 kHz จากความถี่ของ crystal ในที่นี้จะใช้ความถี่ 7040 kHz ซึ่งเป็นความถี่ QRP ในย่าน 40 เมตร

ภาพตัวอย่าง MRX- 40 Mini Receiver เมื่อลงอุปกรณ์เสร็จแล้ว

ภาพตัวอย่าง เมื่อลงอุปกรณ์เสร็จแล้ว

แรง ดันที่จ่ายให้กับ NE-602 นั้น ต้องผ่านไอซี regulate สักหน่อย ด้วย 78L06 รักษาแรงดันไว้ที่ 6 โวลต์ซึ่งพอเหมาะกับ NE-602 ส่วน LM-386 นั้น ไม่จำเป็นต้องผ่าน ไอซี regulate รับไฟตรง ๆ ได้เลย

รายละเอียดวงจรของ MRX- 40 Mini Receiver

ดูรายละเอียดของวงจร (PDF)

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.hs8jyx.com