บทความ ต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX
เนื่องจากเกิดปัญหาการปล่อยอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นในลักษณะ Secondary Emission ในหลอด Tetrode การแก้ปัญหาจึงแก้ด้วยการเพิ่มกริดหมายเลข 3 (suppress secondary emission) เข้าไประหว่างสกรีนกริดและแอโนด โดยกำหนดให้ทำหน้าที่ด้วยศักดาไฟฟ้าต่ำที่เชื่อมอยู่กับแคโถด
การปล่อยอิเล็กตรอนของแอโนด หรือ Secondary Emission จะติดตามมาด้วยการสวิงของแรงดันแอโนด ซึ่งเชื่อได้ว่าสูงมากยิ่งขึ้น
กริดหมายเลข 3 เรียกว่า ซัปเปรสเซอร์กริด (Suppressor Grid)
หลอด Pentode ที่ใช้งานพิเศษบางแบบจะมีกริดหมายเลข 1 หรือ คอนโทรลกริด 2 อัน กริดหมายเลข 3 จะทำหน้าที่เป็นกริดที่ 2 ซึ่งมีความมไวในการควบคุมต่ำกว่าเสมือนเป็นช่องทางผ่าน ในกรณีที่ใช้หลอดทำหน้าที่ ผสมคลื่น หรือ Modulation หรือ Mixing การใช้งานพิเศษแบบนี้ต้องมีความสัมพันธ์ของอัตรากระแสสกรีนกริดสูง (กริดหมายเลข 2) เพื่อให้กระแสแอโนดถูกตัดโดย Suppressor Grid ได้
รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หลอด Pentode แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หลอด Pentode แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)