ทรานซิสเตอร์ทั้ง 2 ชนิด (NPN และ PNP) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่อิเล้กทรอนิกส์ประเภทที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เหมือนกับไดโอด (Diode) เพราะฉนั้น กล่าวโดยสรุปจึงมีคุณสมบัติที่ดีเด่นกว่าหลอดสูญญากาศหลายประการเช่น - มีขนาดเล็กกว่า สามารถบรรจุลงในที่แคบ ๆ ได้
- มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก จึงทำให้ทนต่อการสั่นสะเทือน และกระแทกแรง ๆ ได้
- ใช้งานได้กับแรงดันไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ เช่น 3 โวลต์ เป็นอย่างต่ำ และ 70 โวลต์เป็นอย่างสูง
- ไม่ต้อง Warm Up หรือ อุ่นเครื่อง เพราะทรานซิสเตอร์ไม่มีการจุดไส้หลอดเหมือนหลอดสูญญากาศ เมื่อเปิดสวิช สามารถใช้งานได้ทันที
- มีอายุการใช้งานได้นาน สามารถใช้ได้เป็นสิบ ๆ ปี โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
- กินไฟน้อย แต่มีประสิทธิภาพดี และยังมีความเชื่อถือได้สูง หมายถึงไว้ใจได้ในการใช้งาน
- ไม่ค่อยมีเสียงรบกวน เช่นเสียงฮัม (Hum) เหมือนหลอดสูญญากาศ
แต่อย่างไรก็ดีทรานซิสเตอร์ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น
- ไม่สามารถใช้กับแรงดันไฟสูง ๆ ได้ จะต้องมีการปรับแรงดันไฟให้เหมาะสม
- ไม่สามารถใช้กับกำลังไฟฟ้าที่สูง ๆ ได้
- เสถียรภาพไม่ดีเมื่อทำงานกับความร้อน ถ้าร้อนมาก ๆ จะใช้งานไม่ได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการระบายความร้อนเสมอ
ตามมาตราฐานของ JIS - Japan Industrial Standard จะมีรหัสเขียนดังนี้
ตัวอย่างเช่น 2SC250B
ตัวอักษรแสดงชนิดและการใช้งาน
- A เป็นชนิด PNP ใช้กับความถี่สูง
- B เป็นชนิด PNP ใช้กับความถี่ต่ำ
- C เป็นชนิด NPN ใช้กับความถี่สูง
- D เป็นชนิด BPN ใช้กับควมถี่ต่ำ