บทความต่อไปนี้มาจาก "หนังสือคู่มือนักวิทยุสมัคร เพื่อไปสอบ พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง " แก้ไขบางส่วนเพื่อความถูกต้องโดย HS8JYX
หลักการพื้นฐาน
การเรียนรู้เรื่องหลอดสูญญากาศคือ การเรียนรู้เรื่องของการปล่อยอิเล็กตรอน (Emission) , การไหลของอิเล็กตรอน (Electron Flow), ประจุไฟฟ้าอวกาศ (Space Chage), คาโถด (Chthode), เพลต(Plate) หรือแอโนด (Anode) กริด(Grid) ซึ่งเป็นการเรียนรู้หลักการพื้นฐานของหลอดสูญญากาศ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การปล่อยอิเล็กตรอน (Emission) เกิดจากการให้ความร้อนที่คาโถด (Cathode) โดยตรงอย่างหนึ่ง และการให้โดยทางอ้อมอีกอย่างหนึ่ง
1.1 การให้ความร้อนโดยตรง (Direct Heating) ก็คือ การเพิ่มอุญหภูมิให้สูงขึ้นโดยตรงที่คาโถด เพื่อให้คาโถดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาที่อุญหภูมิที่เหมาะสม
1.2 การให้ความร้อนโดยทางอ้อม ก็คือ (Indirect Heating) การเพิ่มอุณหภูมิที่คาโถดให้สูงขึ้นผ่านไส้หลอดที่วางชิดคาโถด
ปริมาณการปล่อยอิเล็กตรอนของคาโถด ขึ้นอยู่กับสารที่ฉาบ ,พื้นผิวของคาโถด และอุญหภูมิของความร้อนที่ให้แก่คาโถด การปล่อยอีเล็กตรอนวิธีดังกล่าวเรียกว่า วิธีเทอร์ไมออนนิค อิมิชชั่น (Themionic Emission)
การปล่อยอิเล็กตรอนในหลอดสูญญากาศอีกวิธีหนึ่งก็คือเมื่อ อิเล็กตรอน ที่เกิดขึ้นจากการเทอร์ไมออนิค อิมิชชั่น วิ่งชนพื้นผิวของเพลต ด้วยความเร็วสูง ถ้าเพลตมีศักดาไฟฟ้าบวก อิเล็กตรอนจะถูกปล่อยออกจากเพลตอีกทางหนึ่ง การปล่อยอิเล็กตรอนในลักษณะนี้เรียกว่า เซคกันดารี่ อิมิชชั่น (Secondary Emission)
2. การปล่อยอิเล็กตรอน (Electron Flow) ในโมเลกุลของสารที่ฉาบแคโถด ประกอบไปด้วยประจุไฟฟ้าลบและประจุไฟฟ้าบวกรวมกันอยู่มากมาย เมื่ออิเล็กตรอนซึ่งเป็นประจุไฟฟ้าลบถูกปล่อยออกมาจากแคโถด ขณะได้รับความร้อน ประจุไฟฟ้าบวกยังคงอยู่ในโมเลกุลจำนวนมาก ดังนั้น ถ้านำเพลตไปวางไกล้ ๆ แคโถด และเพลตมีศักดาไฟฟ้าเป็นบวก อิเล็กตรอนจะไหลจากแคโถดไปยังเพลตทันที (ไหลจากลบไปบวก ตรงข้ามกับการไหลของกระแสไฟฟ้า)
อย่างไรก็ดีในการสร้างหลอดสูญญากาศ ไม่สามารถทำให้หลอดสูญญากาศนั้นสูญญากาศได้อย่างสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ การไหลของอิเล็กตรอนจากแคโถดไปยังเพลตหรือแอโนดจะปะทะกับโมเลกุลของก๊าชภายในหลอดสูญญากาศ ทำให้การไหลของอิเล็กตรอนถูกหน่วงเหนี่ยวซึ่งกันและกันระหว่างโมเลกุลของก๊าชกับอิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยมาก่อให้เกิดไอออน (Ionized) ขึ้นภายในหลอดเป็นสีน้ำเงินอ่อน ระหว่างแคโถดและเพลตหรือแอโนด การไหลของอิเล็กตรอนจากแคโถด ซึ่งมีศักดาไฟฟ้าเป็นลบไปยังเพลตซึ่งมีศักดาไฟฟ้าเป็นบวกในลักษณะเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าเป็นการไหลของอิเล็กตรอนตามปกติในหลอดสูญญากาศ
รวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น การทดลองวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งเรื่อง เครื่องรับ เครื่องส่ง ระบบสายอากาศ การแพร่กระจายคลื่น สายนำสัญญาณ การตรวจซ่อมอุปกรณ์ทั่วไป รูปแบบการติดต่อสื่อสาร ฯลฯ ## hs8jyx สอบผ่านวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น 2539 ขั้นกลาง 2543 US Ham 2553 (ag6bd Extra Class) ## https://www.facebook.com/ag6bd วรวุฒิ ศรีทอง Line ID :: hs8jyx
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Triode Vacuum Tube แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Triode Vacuum Tube แสดงบทความทั้งหมด
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
หลอดไตรโอด Triode Vacuum Tube
จากการพัฒนาดัดแปลง ของฟอเรสต์ ( Lee De Forest ) โดยมีความคิดว่า ถ้าให้อิเล็กตรอนพุ่งจากแคโทด (K) ไปยังเพลต (P) โดยตรงแล้วจะทำให้เพลตเสียหายได้ง่าย ฉนั้นน่าจะมีวิธีบังคับอิเล็กตรอนได้ โดยใส่ตะแกรงโลหะเข้าไประหว่าเพลตกับแคโทด ซึ่งเรียกว่า กริด (Grid)
การทำงานของหลอดไตรโอด
เราให้ไฟลบแก่กริด (G) แต่เป็นลบจำนวนเพียงเล็กน้อยมาก ถึงกระนั้นก็ดี ยังสามารถทำให้อิเล็กตรอน (ซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ) ที่พุ่งไปยังเพลตเปลี่ยนแปลงไปตามทฤษฎี ลบกับลบจะพลักกัน หรือประจุต่างกันจะดูดกันนั้นเอง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอิเล็กตรอนบางส่วนสามารถพุ่งไปยังเพลตได้ เพราะเราให้แรงดันไฟที่เพลตเป็นบวกมาก ๆ นั่นเอง
ข้อเสียของหลอดไตรโอด
จะสังเกตว่าระหว่างแคโทดกับกริดและระหว่ากริดกับเพลตนั้นเปรียบเสมือนมีคาปาซิเตอร์ไปต่อเอาไว้โดยที่เราไม่ต้องการ ซึ่งเมื่อใช้งานแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพการขยายต่ำ เพราะฉนั้นจึงแก้ไขโโยไส่กริดเข้าไปอีกตัวหนึ่ง เรียกว่า สกรีนกริด (G2 "screen grid" หรือบางครั้งเรียกว่า "shield grid") นั่นก็คือ หลอดเททโทด (Tetrode) นั่นเอง
TRIODE PARASITIC TERMINAL CAPACITORS
การทำงานของหลอดไตรโอด
เราให้ไฟลบแก่กริด (G) แต่เป็นลบจำนวนเพียงเล็กน้อยมาก ถึงกระนั้นก็ดี ยังสามารถทำให้อิเล็กตรอน (ซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ) ที่พุ่งไปยังเพลตเปลี่ยนแปลงไปตามทฤษฎี ลบกับลบจะพลักกัน หรือประจุต่างกันจะดูดกันนั้นเอง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอิเล็กตรอนบางส่วนสามารถพุ่งไปยังเพลตได้ เพราะเราให้แรงดันไฟที่เพลตเป็นบวกมาก ๆ นั่นเอง
ข้อเสียของหลอดไตรโอด
จะสังเกตว่าระหว่างแคโทดกับกริดและระหว่ากริดกับเพลตนั้นเปรียบเสมือนมีคาปาซิเตอร์ไปต่อเอาไว้โดยที่เราไม่ต้องการ ซึ่งเมื่อใช้งานแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพการขยายต่ำ เพราะฉนั้นจึงแก้ไขโโยไส่กริดเข้าไปอีกตัวหนึ่ง เรียกว่า สกรีนกริด (G2 "screen grid" หรือบางครั้งเรียกว่า "shield grid") นั่นก็คือ หลอดเททโทด (Tetrode) นั่นเอง
TRIODE PARASITIC TERMINAL CAPACITORS
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)