แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ bnc แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ bnc แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ขั้วต่อสาย Coaxial แบบต่าง ๆ

ขั้วต่อสาย Coaxial แบบต่าง ๆ
ขั้วต่อสายแบบ BNC

BNC (Bayonet Neill Concelman) Bayonet แปลว่า เขี้ยว หรือสลัก

ขั้ว ต่อแบบ BNC เป็นที่นิยมใช้สำหรับ สัญญาณ RF ,วีดีโอ,ขั้วต่อสายอากาศ ,เครื่องมือทดลองต่าง ๆ และอื่น ๆนำมาใช้ทดแทนขั้วแต่แบบ RCA ขั้วต่อ BNC มี่ทั้งแบบ 75 และ 50 โอห์ม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในความถี่ได้สูงสุดถึง 4 GHz

แบบ impedance ความถี่สูงสุด RF Peak Peak Power ราคา รูป
UHF 50 300 MHz 500 โวลต์ 500 วัตต์ ถูก UHF
BNC 50 หรือ 75 4 GHz 1000 โวลต์ 500 วัตต์ ถูก BNC
TNC 50 10 GHz 1000 โวลต์ 1000 วัตต์ ปานกลาง TNC
N 50 หรือ 75 11 GHz 1000 โวลต์ 1000 วัตต์ ปานกลาง N
C 50 11 GHz 1500 โวลต์ - - C
SMA 50 18 GHz 1000 โวลต์ 500 วัตต์ ปานกลาง SMA
F 75 1 GHz - - ถูก F

ขั้วต่อสายแบบ TNC

TNC (threaded Neill-Concelman) ดัดแปลงมาจาก ขั้วต่อแบบ BNC โดยเพิ่มเกลียวเข้าไป โดยมีค่า impedance เท่ากับ 50 โอห์ม สามารถใช้งานที่ความถี่สูงถึง 10 GHz คุณสมบัติดีกว่าขั้วต่อแบบ BNC ที่ย่านความถี่ไมโครเวพ ขั้วต่อ TNC สามารถนำไปใช้งานงานวิทยุได้อย่างกว้างขวาง

ขั้วต่อสายแบบ UHF

ขั้ว ต่อ UHF ถูกนำมาใช้ในตอนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนำมาใช้ที่ความถี่สูงกว่า 30 MHz ในครั้งแรกใช้สำหรับเป็นขั้วต่อ วีดีโอ ในระบบเรดาห์ หลังจากนั้นได้นำมาใช้งาน RF ทั่วไป ขั้วต่อ UHF ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในย่าน HF และ VHF สามารถรองรับกำลังงานได้ถึง 1 กิโลวัตต์ แต่ขั้วต่อแบบนี้ไม่สามารถนำไปใช้ในย่าน UHF หรือความถี่ที่สูงกว่าา 300 MHz ได้ (ชื่อ UHF จึงเป็นแค่ชื่อเรียกเท่านั้น)

ขั้วต่อ UHF จะมีชื่อเรียกย่อยลงไปอีกคือ ถ้าเป็นตัวผู้จะเรียกว่า PL-259 (PL = Plug) ส่วนตัวเมียจะเรียกว่า SO-239 (SO = Socket)

PL-259

PL-259

SO-239

SO-239

ขั้วต่อสายแบบ N

ชื่อของขั้วต่อแบบนี้มาจากชื่อของผู้ประดิษฐ์ ซึ่งก็คือ Paul Neill เมื่อปี 1940 ขั้วต่อแบบ N จะมีทั้งแบบ 50 และ 75 โอห์ม แบบ 50 โอห์มจะนิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สาย เช่น wireless LAN เป็นต้น ส่วนแบบ 75 โอห์มจะนิยมใช้ในวงการเคเบิ้ลทีวี

ขั้วต่อแบบ N แบบ 50 โอห์ม (ด้านล่าง) และแบบ 75 โอห์ม (ด้านบน)

ขั้วต่อแบบ N แบบ 50 โอห์ม (ด้านล่าง) และแบบ 75 โอห์ม (ด้านบน)

ขั้วต่อสายแบบ C

ขั้วต่อแบบ C ถูกประดิษฐ์โดยนาย Carl Concelman ขั้วต่อแบบนี้จะมี เขี้ยวล็อกแบบ BNC มีขนาดปานกลางและป้องกันน้ำได้

ขั้วต่อสายแบบ C

ขั้วต่อแบบ C ทั้งแบบ 75 โอห์มและ 50 โอห์ม

ขั้วต่อแบบ C ทั้งแบบ 75 โอห์มและ 50 โอห์ม

ขั้วต่อสายแบบ SMA

ขั้วต่อแบบ SMA (SubMiniature version A) ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี 1960 เป็นขั้วต่อที่มีขนาดเล็กมีค่า impedance 50 โอห์ม สามารถใช้ได้ในย่านความถี่ตั้งแต่ไฟ DC จนถึง 18 GHz

SMA จะใช้สาร polytetrafluoroethylene (PTFE) เป็นฉนวน

SMA จะใช้สาร polytetrafluoroethylene (PTFE) เป็นฉนวน

ขั้วต่อสายแบบ F

ขั้วต่อแบบ F นิยมใช้งานสำหรับ ระบบทีวีรวม เคเบิ้ลทีวี ใช้คู่กับสาย RG-6 หรือไกล้เคียง ถูกประดิษฐ์โดย Eric E. Winston ตั้งแต่ปี 1950 ขั้วต่อ F จะมีค่า impedance 75 โอห์ม สามารถใช้งานในความถี่สูงถึงระดับ GHz ที่สำคัญคือราคาถูก การต่อใช้งานไม่จำเป็นต้องบัดกรีสาย


ใน การเลือกใช้ขั้วต่อสายแบบใดนั้น จะเริ่มต้นจากย่านความถี่ใช้งาน กำลังงานที่จะส่งผ่าน ต้องใช้งานกับปรีแอมป์ที่มีสัญญาณรบกวนต่ำหรือเปล่า ความต้องการถอดออกง่ายเพียงใด ขนาดของสาย Coaxial ใหญ่แค่ใหน บริเวณใช้งานมีสัญญาณรบกวนสูงมากหรือไม่

  • สำหรับ ท่านที่ต้องการใช้งานกำลังส่งสูง ๆ ควรจะต้องพยายามเลือกขั้วต่อแบบที่มีการสูญเสียในตัวมันน้อยด้วย เช่นการสูญเสีย 0.1dB สำหรับกำลังส่ง 1,000 วัตต์ หมายความว่า จะมีกำลังสูญเสียในขั้วต่อสาย 2.25 % หรือ 22.5 วัตต์ ซึ่งมากพอที่จะทำลายขั้วต่อสาย
  • PL - 259 ผลิตออกมาหลายคุณภาพ บางยีห้อวัสดุที่เป็นฉนวน คุณภาพต่ำ ราคาถูก ทำให้มีการสูญเสียมากในย่าน VHF ดั้งนั้นควรเลือกแบบที่มีคุณภาพดี ๆ หน่อย
http://www.hs8jyx.com/html/radio_connector.html