แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ coaxial แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ coaxial แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อเปรียบเทียบระหว่างสาย Coaxial กับสายชนิดสมดุล Balance line

สายนำสัญญาณชนิดต่าง ๆ เราสมมุติว่าไม่มีความต้านทานภายในสาย แต่ความเป็นจริงแล้วสายนำสัญญาณทุกชนิด มีการสูญเสียกำลัง เนื่องจากความต้านทานภายในตัวนำ และการรั่วไหล (Leakage) ของประจุในสายไดอิเล็กตริกที่หุ้มสาย นอกจากนี้ยังมีการสูญเสียเนื่องจากการแพร่คลื่นอีกด้วย รูปด้านล่าง เป็นกราฟแสดงการลดทอนของสายนำสัญญาณแบบต่าง ๆ เช่น สาย Coaxial RG-58/U และ RG-8U ซึ่งมีค่าอิมพีแดนซ์ 52 โอห์ม



และสายสมดุลเบอร์ 214-022 ซึ่งมีอิมพีแดนซ์ 300 โอห์ม จะเห็นว่าการลดทอนกำลังของสายสมดุลจะน้อยกว่า

ในการติดตั้งสายนำสัญญาณแบบสมดุล เราต้องป้องกันมิให้มีความชื้นบนสาย เพราะความชื้นจะทำให้ค่าไดอิเล็กตริกเปลี่ยนไปและจะทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ประจำตัวของสายนำสัญญาณเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งผลอันนี้ทำให้สภาวะไม่แมตช์เกิดขึ้น (Mismatch)

นอกจากนี้การติดตั้งจะต้องให้สายนำสัญญาณอยู่ห่างจากตัวนำหรือโลหะอื่น ๆ บริเวณไกล้เคียง โดยระยะห่างของสายนำสัญญาณจากตัวนำอื่น ๆ จะต้องเท่ากับ 2-3 เท่าของระยะห่างจสกสายนำสัญญาณทั้งคู่เป็นอย่างน้อย เช่น ระยะห่างระหว่างสายตัวนำทั้งคู่ 1/2 นิ้ว สายนำสัญญารจะต้องติดตั้งไว้ห่างจากตัวนำอย่างน้อย 1 ถึง 1.5 นิ้ว นั่นคือเราต้องมีฉนวนยึดสาย

สำหรับสาย Coaxial นั้นจะมีซีลด์ต่อลงกราวด์ ฉนั้นการติดตั้งจึงไม่ค่อยมีปัญหา (จะแปะติดกับโลหะได้) ปัญหาความชื้นก็มีน้อย เพราะมีฉนวนหุ้มทั้งชีลด์และตัวนำภายใน เว้นแต่น้ำจะซึมเข้าไปในสาย สรุปแล้วสายนำสัญญารแบบสมดุล มีข้อดีคือมีการลดทอนกำลังน้อย แต่สาย Coaxial ก็สะดวกในการใช้งานเพราะติดตั้งง่ายกว่า

ภาพสายนำสัญญาณแบบ
Balanced line จาก http://en.wikipedia.org


ภาพสายนำสัญญาณแบบ Coaxial จาก http://en.wikipedia.org



Link ::http://www.hs8jyx.com