แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ham radio แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ham radio แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

CQ Amateur Radio เล่ม 54

CQ Amateur Radio เล่ม 54


PACKET RADIO
การสื่อสารข้อมูลผ่านวิทยุ




Packet Radio คืออะไร
ถ้าดูความหมายกว้าง ๆ ของ packet radio เราอาจจะกล่าวได้ว่า packet radio ก็คือการรับส่ง ข่าวสาร ผ่านวิทยุสื่อสาร โดยการนำข้อมูลที่จะส่งนั้นมาตัดเป็นส่วน ๆ ย่อย แล้วทยอยส่งไปยังผู้รับ โดยเพิ่มเติมข้อมูลบอกว่า ข่าวสารนั้นจะส่งไปให้ใคร เป็นข้อมูลใดในจำนวนข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ที่รับส่งอยู่ตลอดเวลา




ประวัติศาสตร์ของวงการวิทยุจะต้องบันทึกสัญญาณเรียกขาน "E28DX" นี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่า กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นไทยกลุ่มนี้ ได้ใช้สัญญาณเรียกขาน "E2" เป็นครั้งแรกของประเทศไทย



สายอากาศ คอลลิเนียร์ COLLINEAR ANTENNAS

สายอากาศแบบที่มีการแพร่กระจายคลื่นรอบทิศทาง และมีขั้วคลื่นแบบแนวตั้ง (Vertical Polarization) เราสามารถทำให้อัตราการขยายเพิ่มขึ้นได้มากกว่าสายอากาศไดโพล ปรกติ โดยวิธีการไม่ยากมากนัก

  • รูป a สายอากาศคอลิเนียร์ 2 E
  • รูป b สายอากาศคอลิเนียร์ 3 E
  • รูป c สายอากาศคอลิเนียร์ 4 E
เส้นประแสดงถึงการกระจายตัวของกระแสบนตัวไดโพลแต่ละตัว


ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตออกมาจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ใช้กับความถี่ย่าน 2 เมตร ลักษณะของสายอากาศคอลลิเนียร์ก็คือ การนำเอาสายอากาศไดโพลพื้นฐานตั้งแต่สองต้นขึ้นไป แล้วนำมาต่ออนุกรมกันหรือขนานกัน เพื่อให้ได้อัตราการขยายเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สายอากาศคอลลิเนียร์แบบที่ง่ายที่สุดก็คือสายอากาศแบบ 2 E ซึ่งประกอบด้วยสายอากาศไดโพล 1/2 แลมดา ทำหน้าที่เป็นตัวแพร่กระจายคลื่นสองตัว ทำงานในเฟสเดียวกัน (inphase) เพื่อให้ได้กำลังรวมประมาณ 1.5 เท่าของสายอากาศไดโพลตัวเดียว นั่นคืออัตราการขยายทางกำลังประมาณ 2.0 dB แต่ถ้าเพิ่มเป็น 3 E ก็จะได้ประมาณ 3.2 dB และ 4.3 dB สำหรับ 4E ตามลำดับ

http://www.hs8jyx.com/

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ข้อดีและข้อเสียของวิทยุระบบ SSB (Single-sideband modulation)

ข้อดีและข้อเสียของวิทยุระบบ SSB (Single-sideband modulation)


รูปสเปกตรัมความถี่ของสัญญาณ SSB


สมมุติว่าเราป้อนสัญญาณเสียงความถี่ 3 KHz เข้าไปผสมกับคลื่นพาห์ความถี่ 15 MHz ความถี่ ผลรวมจะเท่ากับ 15,003 KHz ความถี่เราเรียกว่า ไซด์แบนด์ด้านสูง หรือ Upper Sideband ;USB เพราะความถี่สูงกว่าคลื่นพาห์ ส่วนความถี่ผลต่าง ซึ่งจะเท่ากับ 14,997 KHz สัญญาณนี้เราจะเรียกว่า ไซด์แบนด์ด้านต่ำ Lower Sideband ;LSB เพราะความถี่ต่ำกว่าคลื่นพาห์

สัญญาณทั้งสอง Sideband นั้นจะมีข้อมูลข่าวสารเหมือนกัน การส่งสัญญาณเราจะส่งเพียง Sideband เดียวเท่านั้น อีก Sideband หนึ่งจะถูกลดทอนไป


ข้อดีของการส่งวิทยุแบบ SSB

  • สามารถ ทำให้ Bandwidth ลดลงได้ครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นผลดีในการรับเพราะว่าสัญญาณเสียงรบกวนในภาคขยายความถี่ปานกลาง หรือ IF จะแปรผันตาม Bandwidth ดังนั้นเมื่อลด Bandwidth ลงได้ ครึ่งหนึ่ง เสียงรบกวนก็จะลดลงครึ่งหนึ่งเหมือนกัน ทำให้สามารถเพิ่มอัตราการขยายของภาคนี้ได้อีก ซึ่งก็แสดงว่าระบบ SSB สามารถรับสัญญาณที่อ่อนกว่าระบบ AM ธรรมดาได้
  • สามารถ ส่งสัญญาณได้จำนวนช่องมากกว่า ระบบ AM ในแต่ละย่านความถี่ เพราะ Bandwidth แคบกว่า ตัวอย่างเช่น วิทยุ CB ในระบบ AM ใช้ได้ 40 ช่องแต่ถ้านำมาใช้ในระบบ SSB จะสามารถใช้ได้ถึง 80 ช่อง โดยใช้ช่วงความถี่เท่าเดิม
  • ใช้พลังงานในการส่งน้อยกว่าระบบ AM ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัดและทนทานกว่า

ข้อเสียของการส่งวิทยุแบบ SSB

  • ตัวเครื่องมีราคาสูง เพราะต้องเพิ่มความยุ่งยากของวงจรทั้งในภาครับและภาคส่ง
  • ต้องการความเทียงตรงสูง การปรับเครื่องรับก็จะต้องมีความยุ่งยากมากขึ้น การปรับที่พอเหมาะจะทำให้เสียงออกมาเป็นธรรมชาติมากที่สุด
  • Bandwidth แคบทำให้การตอบสนองความถี่ได้แคบลง จึงจำกัดการใช้งานระบบ SSB ให้อยู่ในเฉพาะการสื่อสารเท่านั้น ไม่สามารถ นำไปใช้กับการกระจายเสียง เพราะให้เสียงที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่าระบบ AM)
  • การมอดูเลตและการดีมอดูเลต ยากกว่าระบบ AM
http://www.hs8jyx.com/html/ssb_radio.html