แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ SSB แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ SSB แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทดลอง MC1496 ต่อร่วมกับ FT-411 รับสัญญาณระบบ CW/SSB


รับสัญญาณ SSB และ CW จากสถานีของ HS8FLU 

หลักการทำงาน ใช้ IC เบอร์ MC1496 ทำหน้าที่เป็น Product Detector สำหรับรับสัญญาณ CW/SSB ตัวอย่างนำสัญญาณ 455 KHz จากวิทยุรับส่ง Yaesu รุ่น FT-411 ซึ่งเดิมเป็นเครื่องรับส่งวิทยุแบบ FM 



ตำแหน่งขาของ MC1496






IF Unit ของ FT-411 เอาสัญญาณ 455 KHz ที่ CF01

ข้อมูล IC TK10487



สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหนังสือทดลองอย่างนักวิทยุสมัครเล่น 1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2   《〈 ====  หนังสือหมดแล้วครับ หยุดการจัดพิมพ์แล้ว


วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ข้อดีและข้อเสียของวิทยุระบบ SSB (Single-sideband modulation)

ข้อดีและข้อเสียของวิทยุระบบ SSB (Single-sideband modulation)


รูปสเปกตรัมความถี่ของสัญญาณ SSB


สมมุติว่าเราป้อนสัญญาณเสียงความถี่ 3 KHz เข้าไปผสมกับคลื่นพาห์ความถี่ 15 MHz ความถี่ ผลรวมจะเท่ากับ 15,003 KHz ความถี่เราเรียกว่า ไซด์แบนด์ด้านสูง หรือ Upper Sideband ;USB เพราะความถี่สูงกว่าคลื่นพาห์ ส่วนความถี่ผลต่าง ซึ่งจะเท่ากับ 14,997 KHz สัญญาณนี้เราจะเรียกว่า ไซด์แบนด์ด้านต่ำ Lower Sideband ;LSB เพราะความถี่ต่ำกว่าคลื่นพาห์

สัญญาณทั้งสอง Sideband นั้นจะมีข้อมูลข่าวสารเหมือนกัน การส่งสัญญาณเราจะส่งเพียง Sideband เดียวเท่านั้น อีก Sideband หนึ่งจะถูกลดทอนไป


ข้อดีของการส่งวิทยุแบบ SSB

  • สามารถ ทำให้ Bandwidth ลดลงได้ครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นผลดีในการรับเพราะว่าสัญญาณเสียงรบกวนในภาคขยายความถี่ปานกลาง หรือ IF จะแปรผันตาม Bandwidth ดังนั้นเมื่อลด Bandwidth ลงได้ ครึ่งหนึ่ง เสียงรบกวนก็จะลดลงครึ่งหนึ่งเหมือนกัน ทำให้สามารถเพิ่มอัตราการขยายของภาคนี้ได้อีก ซึ่งก็แสดงว่าระบบ SSB สามารถรับสัญญาณที่อ่อนกว่าระบบ AM ธรรมดาได้
  • สามารถ ส่งสัญญาณได้จำนวนช่องมากกว่า ระบบ AM ในแต่ละย่านความถี่ เพราะ Bandwidth แคบกว่า ตัวอย่างเช่น วิทยุ CB ในระบบ AM ใช้ได้ 40 ช่องแต่ถ้านำมาใช้ในระบบ SSB จะสามารถใช้ได้ถึง 80 ช่อง โดยใช้ช่วงความถี่เท่าเดิม
  • ใช้พลังงานในการส่งน้อยกว่าระบบ AM ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กกะทัดรัดและทนทานกว่า

ข้อเสียของการส่งวิทยุแบบ SSB

  • ตัวเครื่องมีราคาสูง เพราะต้องเพิ่มความยุ่งยากของวงจรทั้งในภาครับและภาคส่ง
  • ต้องการความเทียงตรงสูง การปรับเครื่องรับก็จะต้องมีความยุ่งยากมากขึ้น การปรับที่พอเหมาะจะทำให้เสียงออกมาเป็นธรรมชาติมากที่สุด
  • Bandwidth แคบทำให้การตอบสนองความถี่ได้แคบลง จึงจำกัดการใช้งานระบบ SSB ให้อยู่ในเฉพาะการสื่อสารเท่านั้น ไม่สามารถ นำไปใช้กับการกระจายเสียง เพราะให้เสียงที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่าระบบ AM)
  • การมอดูเลตและการดีมอดูเลต ยากกว่าระบบ AM
http://www.hs8jyx.com/html/ssb_radio.html