แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ loop antenna แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ loop antenna แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สร้างสายอากาศแบบ Loop ย่าน 2 มิเตอร์ สำหรับงานภาคสนาม

สายอากาศแบบ loop แบบง่าย ๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่ สามารถนำไปใช้ได้ดีในงานภาคสนาม หรืออาจจะทดลองทำเป็นสายอากาศต้นแรกก็ได้

วัสดุที่ใช้ มีท่อ PVC ตามรูป ขนาดพอเหมาะ ไม่อ่อน หรือมีน้ำหนักมากเกินไป ลวดทองแดง เบอร์ 14 หรือ เบอร์ 16 ก็ได้ (อาจจะใช้เบอร์อื่นก็ได้)




สูตรการคำนวนความยาว loop ได้จากสูตรด้านบน
306.4/145MHz =2.11 เมตร
หรือความยาวด้านละ = 2.11 /4 = 52.8 เซนติเมตร




ความยาวของแขนแต่ละข้าง สามารถคำนวนได้จาก
52.8 cm X 0.707 = 37.8 cm โดยวัดจากจุดศูนย์กลางของสี่เหลี่ยม เจาะรูที่ปลายของแขนแต่ละข้างให้ทะลุเพื่อร้อยสายสวดทองแดง




จุดต่อสายนำสัญญาณ ให้ต่อโดยตรงกับแขนด้านซ้าย หรือขวา เพื่อให้ได้ขั้วคลื่นแบบแนวตั้ง หรือภาษาอังกฤษบอกว่า Vertical Polarization


ในรูปตัวอย่างผมได้ใส่ toroid core เอาไว้ได้เป็นบาลัน แบบง่าย ๆ
จากการทดสองวัดค่า SWR เป็นที่น่าใจ สามารถปรับให้ลงต่ำกว่า 1.5 : 1 ได้โดยไม่ยากเย็น (โดยการปรับจุดบัดกรีสายนำสัญญาณ)



สายอากาศแบบ Loop นี้จะมีรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นแบบ 2 ทิศทาง คล้ายเลข 8


ทดลองวัดความแรง จากการหันสายอากาศแบบรูปแรก หลอดไฟจะสว่างมาก




ทดลองหันอีกด้านหลอดไฟสว่างน้อยมาก

บทความที่น่าสนใจ


วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กิจกรรม 2009 ARRL 10-Meter Contest ของ HS8JYX

ARRL 10-Meter Contest ในปี 2009 นี้ จัดขึ้นในวันที่ 12 ถึง 13 ธันวาคม 2552 (48 ชั่วโมง)การแข่งขันแบ่งออกเป็น 9 ประเภทย่อย ๆ ตามกำลังส่งและรูปแบบการติดต่อ CW หรือ/และ SSB สำหรับผมแล้วเลือกแบบ Low Power CW only (เพื่อต้องการฝึกฝนทักษะ CWให้ ชำนาญยิ่งขึ้น) จริง ๆ ผมรู้ข่าวการแข่งขันมานานแล้ว ตอนแรกก็ไม่อยากจะลงแข่งขันอะไร แต่พอใกล้วันแข่ง รู้สึกอยากเล่นขึ้นมาก็เลยหาแบบสายอากาศที่ง่ายที่สุด ลงทุนน้อยและน่าจะแพร่กระจายคลื่นได้ดี ก็เลยลองค้นหาข้อมูลดู มาเจอสายอากาศ 10 meter rectangular loop antenna ตามแบบในหนังสือ ARRL Handbook (หลายท่านคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี) ดูจากรูปก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพดีหรือเปล่า แต่เวลาจำกัดเลยต้องรีบประกอบ ตำราบอกว่ามีอัตราการขยายดีกว่าไดโพล 2.1 db, มุมการแพร่กระจายคลื่นต่ำ เหมาะกับการ DX, ไม่ต้องการ matching network ดีเลยครับไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติมให้ยุ่งยาก สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 28.0-28.8 MHz โดย SWR ไม่เกิน 2:1 (ขนาดความยาวตามในรูป

การประกอบของผมใช้ วัสดุคือสายไฟอ่อนกับท่อ PVC ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ก็ได้ผลมาดังรูป ทดลองยกเสาขึ้นด้วยไม้ไผ่ ทดลองวัด SWR ดูปรากฏว่าออกมาต่ำเป็นที่น่าพอใจ Bandwidth กว้างพอสมควร ผมเลยถอด ATU ออกไปเลย

 
วันแรกติดต่อได้ 4 สถานี จากประเทศจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และ ออสเตรเลีย (ค่า Solar Flux = 72) วันที่ 2 ติดต่อได้ 10 กว่าสถานี ส่วนมากจะมาจาก นิวซีแลนด์ (ระยะทางประมาณ 1 หมื่นกิโลเมตร) และ ออสเตรเลีย (ค่า Solar Flux = 75) ช่วงเวลาที่อากาศเริ่มเปิดก็ประมาณ 13.00 – 15.30 น.พอเวลาเย็นสัญญาณที่เคยชัดก็จะจางหายไปทีละสถานี ๆ จนหมดในที่สุด
ปัญหาที่เกิด มีสัญญาณรบกวนจากชาวประมงในประเทศ คุยกันโดยใช้ระบบ AM รบกวนมาเป็นระยะ ๆ ปัญหานี้น่าจะได้รับการแก้ไขจากผู้ที่รับผิดชอบ พอ ๆ หรือมากกว่าปัญหาในย่าน VHF เนื่องจากเวลาลาอากาศเปิดสัญญาณมันรบกวนไปถึงต่างประเทศด้วย สำหรับท่านที่ต้องการนำไปใช้กับความถี่อื่น ๆ ความยาวรวมของ Loop จะประมาณ 1 lambda จากการทดลองด้วยตัวเอง ในย่าน 2 มิเตอร์ ปรากฏว่า สามารถรับส่งได้ดีกว่าเสา Slice ทั่ว ๆ ไปมากอย่างสังเกตได้

 
10 meter rectangular loop antenna
 

อ่านต่อ http://www.hs8jyx.com/html/arrl_10meter_2009.html


 

ตอนนี้ ได้รับการยืนยันมา 3 ท่านตามรูปครับ



Contest Soapboxของผมในเว็บของ ARRL



eQSL จาก ZM4M