แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ quad แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ quad แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปรับแต่งสายอากาศก่อนทำการแข่งขัน

หลังจากประกอบสายอากาศเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ผมยังไม่ได้ปรับแต่งสายอากาศอย่างจริงจังเลย วันนี้เลยต้องจับมาปรับแต่งใหม่ การปรับแต่งเป็นที่น่าพอใจ ค่า SWR ไม่เกิน 1.5:1


วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทดลองทำสายอากาศ cubical quad 7 E ไว้แข่งขัน (145 MHZ)

ทดลองทำสายอากาศ cubical quad 7 E ไว้แข่งขัน (145 MHZ)

ทุก ๆ ปีจะมีการแข่งขัน รายการต่าง ๆ ของนักวิทยุสมัครเล่น และรายการหนึ่งในนั้นก็คือ CQ World Wide VHF จุด ประสงค์ในการทำสายอากาศชุดนี้ก็คือ Gain สูง สามารถสู้คนอื่นเขาได้ ราคาถูก ยิ่งสามารถทำจากวัสดุเหลือใช้ยิ่งดี ผมจึงเลือกใช้แบบ QUAD ซึ่งทำไม่ยาก Gain สูงตามต้องการ จากการค้นหาข้อมูล ก็เจอโปรแกรม คำนวน สายอากาศ QUAD มีตั้งแต่ 2-7 E สามารถ Downlolad ได้ที่นี่

เมื่อดูจากโปรแกรมแล้ว 7E Boom ยาวแค่ 196.57 cm ถือว่าไม่ยาวมาก เหมาะสมกับการพกพาไปในวันแข่งขัน (Gain 15dBi)

ระยะ ห่างระหว่าง E ทั้ง 7 จะเท่ากันหมดคือ 31.75 cm สำหรับตรงกลาง Boom ผมจะใส่ข้อต่อ 3 ทาง เอาไว้ สำหรับเอาไว้ใส่ท่อ PVC อีกขุด ทำหน้าที่เป็นเสา

PVC สีขาวในรูป ผมใช้เส้นเล็กที่สุดเท่าที่จะพอหาได้ แถว ๆ บ้าน ก็เจอแบบ 5/8 นิ้ว ใช้ดอกสว่าน 5/8 นิ้ว เจาะจะแน่นพอดีเลยครับ ไม่จำเป็นต้องติดกาวให้ยุ่งยาก

สำหรับ สมาชิก ที่กลัวว่าจะเจาะแล้วไม่ตรง ผมมีวิธีการหนึ่งคือการทำต้นแบบเอาไว้ก่อนโดยใช้ปลายท่อ PVC ที่มีขนาดโตกว่า PVC ที่จะใช้เล็กน้อย ให้ตัดปลายออกมา ตามรูป

เมื่อ เราทำแบบไว้แล้ว เราก็ลากเส้นที่ PVC ตัว Boom ไว้เป็นแนวทาง จากนั้นก็เริ่มเจาะรูได้เลย รับรองครับ ตรงแน่นอน อย่าลืมว่า ต้นแบบนั้น ต้องแบ่งให้ได้ 4 ส่วนเท่า ๆ กันนะครับ

ปลาย Boom ก็ใช้เป็นจุดต่อสาย โดยการใส่ขั้ว PL-259 ตามรูป

จุดบัดกรีสายลวดทองแดง ให่ซ่อนเอาไว้ในท่อ PVC แล้วใช้ฝาปิด เพื่อความสวยงาม

อาจจะแบ่งเป็น 2 ท่อน เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

เตรียมพร้อม ทดลองออกอากาศ

จากการทดลอง ด้วยเครื่องมือถือ ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ไว้ทดลองอีกรอบในวันแข่งขัน

สูตรการหาระยะ

สำหรับโครงงานสายอากาศชิ้นนี้ขอขอบคุณ HS8XCE ที่ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด HS8VZW (TEL.08-9726-1367) ผู้ร่วมทดลอง

http://www.hs8jyx.com/html/cubical_quad.html

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สายอากาศ Quad 2E ของ AA1EX

สายอากาศ Quad 2E ของ AA1EX

สายอากาศแบบ Loop เป็นสายอากาศ มีลักษณะเป็น วง มีหลายรูปร่าง เช่น สามเหลื่ยม (Triangle) แบบสีเหลื่ยม (Quad) และแบบวงกลม (Cercular) ซึ่งแบบสามเหลี่ยมจะมี gain น้อยที่สุด ไกล้เคียงกับ dipole แบบวงกลมจะมี gain มากที่สุดแต่สร้างยาก และแบบวงกลม มีgain น้อยกว่าแบบวงกลมนิดหน่อยแต่สร้างง่ายกว่ามาก สามารถดูตารางแสดงอัตราการขยายของสายอากาศแบบ Loop ดังนี้


สายอากาศ Quad 2E ของ AA1EX

สำหรับ สายอากาศที่จะนำมาเสนอนี้ เป็นของ Chester S.Bowles (AA1EX) นักวิทยุสมัครเล่นรุ่นคุณปู่ ท่านได้ Call Sign มาตั้งแต่ปี 1967 (พ.ศ.2510) สายอากาศ Quad Loop ชุดนี้มี 2 อีเลเมนต์ คือ Driven และ Reflector ตัวอิเลเมนต์ใช้ลวดเบอร์ 18 โดยที่ Driven ยาวด้านละ 52.4 cm. และ Reflector ยาวด้านละ 55 cm.

โครง สร้างสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ท่อ PVC ขั้นแรกให้ทำขึ้นเป็นตัว T ก่อนโดยใช้ท่อ PVC ขนาด 3/4 นิ้ว ให้แนวตั้งของตัว T ยาวประมาณ 1 เมตร อันนี้จะยาวกว่าก็ได้ ไม่มีผลอะไร ส่วนแขนทั้งสองข้างกางออกไปไม่น้อยกว่า 25 cm. เพราะเราต้องจัดให้ อิเลเมนต์ทั้งสองห่างกันประมาณ 38 - 40.5 cm.

ที่ แขนของตัว T ให้เจาะรูเตรียมสอดแท่งไม้กลม ๆ ที่จะใช้เป็นตัวยึดให้ลวดเกาะด้านละ 2 ท่อน (อาจจะดัดแปลงใช้ฉนวนอย่างอื่นก็ได้) พยายามให้ไม้ทั้งสองอันนี้ไกล้กัน และตั้งฉากมากที่สุด เพื่อให้รูปร่างของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื้ยนน้อยที่สุด

สำหรับ Reflector นั้นอาจจะทำได้ง่ายหน่ิอยพอจัดรูปร่างเข้าที่ก็ให้บัดกรีลวดทองแดงเข้าด้วย กัน อย่าลืมว่าความยาวรอบวงต้องเท่ากับ 220 cm (55 X 4 ด้าน)

ต่อ มาก็เป็นส่วนของ Driven อาจจะยุ่งยากกว่าเล็กน้อย เพราะตรงจุดปลายสายลวดทั้งสองต้องต่อด้วยชุด Matching ซึ่งประกอบด้วย สตับ ซึ่งทำมาจากสายทวินลีด (Twin Lead) และทริมเมอร์ ค่า 6-50 pF อีก 1 ตัว

การเตรียมสายนำสัญญาณ RG-58 ต่อเข้ากับ ทริมเมอร์เพื่อต่อเข้ากับสตับ

การเตรียมสายนำสัญญาณ RG-58 ต่อเข้ากับ ทริมเมอร์เพื่อต่อเข้ากับสตับ

การทำ สตับให้ตัดสายทวินลีดยาวประมาณ 15 cm. ปอกปลายสายด้านหนึ่ง บัดกรีสายเข้าด้วยกัน วัดจากด้านที่บัดกรีเข้ามา 9 cm. กรีดและปอกสาย ได้สายเปลือยประมาณ 5 cm. จากนั้นบัดกรีปลายสายทั้งสองเข้ากับปลายทั้งสองของ Driven

การเตรียมสายนำสัญญาณ RG-58 ต่อเข้ากับ ทริมเมอร์เพื่อต่อเข้ากับสตับ

จาก นั้นก็จัดสายให้เรียบร้อย แล้วทำการวัดค่า SWR ที่ความถี่กลาง คือ 145.000 MHz ปรับจูนทริมเมอร์ ให้ได้ค่า SWR ต่ำที่สุด ถ้า SWR ได้สูงกว่า 1.5 :1 อาจจะต้องขยับจุดบัดกรีช่วยด้วย ปรกติแล้วจะได้ SWR ตลอดย่านความถี่ 144-146 MHz ประมาณ 1.2 :1

สำหรับ ข้อมูลทางเทคนิคของสายอากาศต้นนี้ทาง AA1EX ไม่ได้บอกมา มีแต่บันทึกว่า "Useing less then 1/2 watts, I was easy able to work repeaters 60-70 miles away whith full quieting"

หรือ ก็คือ ด้วยกำลังส่งไม่ถึงครึ่งวัตต์สามารถยิงไปเตะรีพีตเตอร์ที่ห่างออกไป 60-70 ไมล์ (92-112 กิโลเมตร) ได้สบายโดยไม่มีเสียงรบกวนเลย


http://www.hs8jyx.com