วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

My ARRL Member Card


บัตรสมาชิก ARRL รายปีครับ

 

สมัครสมาชิก ARRL จะได้รับนิตยสาร QST ด้วยครับ (เดือนละ 1 เล่ม)


สำหรับนิตยสาร QST ผมมองในแง่ของนักวิทยุสมัครเล่นแล้วคุ้มค่ามาก ราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อหา รูปเล่มที่สวยงาม รวมค่าส่งแล้วก็ตกเล่มละ 100 กว่าบาท





นิตยสาร QST เก่า ๆ ในรูปแบบ PDF สามารถหาดาวน์โหลดได้ โดยไม่ต้องชื้อก็จริงอยู่ครับ แต่การอ่านบทความจากหน้าจอคอมหรือจะสู้อ่านจากหนังสือเป็นรูปเล่ม 


วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การส่งสัญญาณ E E หลังจากจบข้อความในการติดต่อแบบรหัสมอร์ส

หลังจากสิ้นสุดการติดต่อ (QSO) กับคู่สถานี เรามักจะส่ง Code สุดท้าย เป็น E  E โดยให้ทั้งสองตัวอักษรนั้นห่างกันเป็นพิเศษ เช่น ดิต  ดิต มีหมายหมายเสมือนว่า ‘bye bye’


ขอบคุณ ข้อมูลดี ๆ จาก  http://www.ham-operating-ethics.org

N1MM Free Contest Logger ตอน CW Prosign Macros

สำหรับคนที่เล่นรหัสมอร์ส บางครั้งอาจจะต้องส่งตัวอักษรที่เป็น Prosign หรือ Procedural signs คือส่งติดกัน เช่น AR ไม่ได้ส่ง .- .-. (ดิ ดาห์ ดิ   ดาห์ ดิต) แต่จะส่ง .-.-. (ดิ ดาห์ ดิ ดาห์ ดิต) ยาวต่อเนื่องกันไปเลย

 ตัวอย่าง CW Prosign Macros มีดังนี้

  • AR ใช้เครื่องหมาย + ใช้เมื่อ end of transmission
  • BT ใช้เครื่องหมาย =  ใช้เป็น separator (ตัวอัการ BTถ้าส่งต่อเนื่องจะมีเสียงเหมือนกับเครื่องหมาย = )
  • AS ใช้เครื่องหมาย ] คือ wait a second
  • SK ใช้เครื่องหมาย [ คือ end of contact



ตัวอย่างเช่น F1 เราต้องการส่งคำว่า CQ CQ DE HS8JYX AR เราต้องพิมพ์ข้อความในช่อง CW Message ว่า CQ CQ DE * + เป็นต้น และถ้าหากต้องการส่ง Prosign ตัวอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

การเพิ่มความเร็วในการส่งเฉพาะบางตัวในประโยค สามารถใช้เครื่องหมายดังนี้

  • ใช้เครื่องหมาย < แทนการเพิ่มความเร็วขึ้น 2 คำต่อนาที (2 wpm)
  • ใช้เครื่องหมาย > แทนการลดความเร็วลง 2 คำต่อนาที (2 wpm) 
ตัวอย่างเช่น เราต้องการส่ง รายงานสัญญาณให้คู่สถานีทราบ โดยเพิ่มความเร็วขึ้น 4 wpm เราอาจจะรายงานว่า JA0JHA (คู่สถานี) 599 เราต้องต้องพิมพ์ใน  CW Message ว่า ! << 5NN (<หรือ> จะเท่ากับเพิ่มหรือลด 2 wpm)

หมายเหตุ

  • ! หมายถึง Callsign ของคู่สถานีที่เรากำลังติดต่อด้วย
  • * หมายถึง Callsign ของเรา ตามที่เราตั้งค่าไว้ในโปรแกรม
Prosign หมายถึง Combintion of two code characters into a single special
character without a space between. 

    ความหมายของ CQ DX - What does ‘CQ DX’ mean?

    What does ‘CQ DX’ mean?

    • If you want to contact long distance stations, call ‘CQ DX’.
    • What is DX?
    • On HF: stations outside your own continent, or of a country with very limited amateur radio activity (e.g. Mount Athos, Order of Malta etc. in Europe).
    • On VHF-UHF: stations located at more than approx. 300 km.
    • During a CQ you can insist that you only want to work DX stations, as follows: ‘CQ DX, outside Europe, this is…’.
    • Always be obliging; maybe the local station calling you after your CQ DX is a newcomer, and maybe you are a new country for him. Why not just give him a quick QSO?
    • ถ้าคุณต้องการติดต่อกับเพื่อนสมาชิกทางไกลต้องใช้คำว่า "CQ DX"
    • แล้ว CQ DX คืออะไร
    • สำหรับย่านความถี่ HF เป็นสถานีที่อยู่ต่างทวีปหรือประเทศที่มีจำนวนนักวิทยุสมัครเล่นอยู่อย่างจำกัด
    • สำหรับย่าน VHF ถึง UHF หมายถึงสถานีที่อยู่ไกลออกไปมากกว่า 300 กิโลเมตร
    • ระหว่างการ CQ เราสามารถระบุพื้นที่ที่เราต้องการติดต่อด้วย เช่น CQ DX, outside Europe, this is…’.

    ข้อมูลจาก http://www.ham-operating-ethics.org

    วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    CQ ย่าน 10,12,15 และ 17 มิเตอร์ เพื่อล่ารางวัล DXCC

    สำหรับรางวัล DXCC (DX Century Club) นั้นต้องติดต่อให้ได้อย่างน้อย 100 ภูมิประเทศ (Entity) ในแต่ละประเภท




    สำหรับผมจะเริ่มต้นที่ความถี่ 21 MHz โหมด CW กำลังส่งต้องไม่เกิน 50 วัตต์ สายอากาศที่ประกอบขึ้นเองเท่านั้น (Homebrew)





    ใน LoTW เฉพาะความถี่ย่าน 15 เมตร มียืนยันมา 4 ประเทศ จาก YC0NSI, JR2FJC, UN3GX, DU1IVT  


    JA1CTB



    JR2FJC









    ส่วนแบบ Mixed มียืนยันมา 35 ประเทศตามตาราง

    สาเหตุที่ผมเลือกใช้ความถี่ 15 มิเตอร์ ก็เพราะว่า เป็นความถี่ที่เหมาะกับการใช้งานในเวลากลางวัน (ผมจะว่างช่วงบ่าย อากาศเปิดพอดี) และที่สำคัญสายอากาศไม่ยาวมากนัก (ได้โพลยาวประมาณ 7 เมตร) 

    การยืนยันโดย LoTW ง่าย สะดวก รวดเร็ว แต่ใช่ว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะใช้ระบบนี้นะครับ ทำให้บาง QSO ไม่ได้รับการยืนยัน





    ผลการติดต่อคร่าว ๆ


    • วันที่ 12-02-2554 ติดต่อได้ 15 สถานี ส่วนมากเป็นสมาชิก ประเทศญี่ปุ่น
    • วันที่ 15-02-2554 ติดต่อได้เพิ่มเติมอีก 7 สถานี จากประเทศไกล้ ๆ และได้ทดลองความถี่ 18 และ 24 MHz ด้วยครับ โดยใช้สายอากาศต้นเดิม จูนด้วย Homebrew ATU
    • วันที่ 16-02-2011 ติดต่อได้ 6 สถานี
    • วันที่ 17-02-2011 ติดต่อได้ 5 สถานี 
    • วันที่ 18 และ 19 -02-2011 ติดต่อได้ 8 สถานี โดยเฉพาะความถี่ 24 MHz
    • วันที่ 20-02-2011 ติดต่อได้ 4 สถานี (สัญญาณรบกวนมาก)
    • วันที่ 21-02-2011 ติดต่อได้ 2 สถานี สัญญาณรบกวนมาก)
    • วันที่ 22-02-2011 ติดต่อได้ 31 สถานี  (สัญญาณรบกวนหายไปบางช่วง) ติดต่อได้โดยเฉพาะความถี่ 18 MHz มีสถานีทางไกลเข้ามาด้วย
    • วันที่ 23-02-2011 ติดต่อได้ 4 สถานี วันนี้ได้ทดลองหาสาเหตุของสัญญาณรบกวน และลองเปลี่ยนสายอากาศ จากแนวนอน เป็นแนวตั้ง แต่ยังไม่สามารถสรุปอะไรได้ 
    • วันที่ 24-02-2011 ติดต่อได้ 17 สถานีบางช่วงมีสัญญาณรบกวนมาก
    • วันที่ 25-02-2011 ไม่สามารถติดต่อใครได้เลย สัญญาณรบกวนมาก 
    • วันที่ 26-02-2011 ติดต่อได้ 28 สถานี 
    • วันที่ 27-02-2011 ติดต่อได้ 24 สถานี
    • วันที่ 28-02-2011 ไม่สามารถติดต่อได้เลย
    • วันที่ 01-03-2011 ติดต่อได้ 1 สถานี ตอนเช้ารับสัญญาณ Beacon ความถี่ 18 MHz ได้ดีมาก แต่ไม่มีโอกาสได้ใช้ความถี่ ตอนเย็นรับสัญญาณได้น้อยมาก
    • วันที่ 02-03-2011 ติดต่อ 4 สถานี 
    • วันที่ 03-03-2011 ติดต่อได้ 11 สถานี 
    • วันที่ 04-03-2011 ติดต่อได้ 8 สถานี รวมทั้งความถี่ 28 MHz ด้วย
    • วันที่ 05-03-2011 ติดต่อได้ 29 สถานี ความถี่ 28 MHz อากาศเปิดดีมาก
    • วันที่ 06-03-2011 ติดต่อได้ 67 สถานี รวมทั้ง 2 สถานีจากประเทศอิตาลี 
    •  วันที่ 07-03-2011 ไม่สามารถติดต่อได้เลย
    • วันที่ 08-03-2011 ติดต่อได้ 11 สถานี โดยเฉพาะตอนเช้า ติดต่อทางอเมริกาได้หลาย QSO
    • วันที่ 09-03-2011 ไม่สามารถติดต่อได้เลย
    • วันที่ 10-03-2011 ติดต่อได้ 13 สถานี
    • วันที่ 11-03-2011 ติดต่อได้ 7 สถานี 
    • วันที่ 12-03-2011 ติดต่อได้ 7 สถานี 
    • วันที่ 13-03-2011 ติดต่อได้ 46 สถานี 
    • วันที่ 14-03-2011 ติดต่อได้ 6 สถานี 
    • วันที่ 15-03-2011 ติดต่อได้ 6 สถานี
    • วันที่ 16-03-2011 เดินทางไปนครศรีธรรมราช
    • วันที่ 17-03-2011 ติดต่อได้ 7 สถานี
    • วันที่ 18-03-2011 ติดต่อได้ 10 สถานี
    • วันที่ 19-03-2011 ติดต่อได้ 17 สถานี
    • วันที่ 20-03-2011 งดการติดต่อ 
    • วันที่ 21-03-2011 เดินทางกลับ จังหวัดกระบี่
    • วันที่ 22-03-2011 ติดต่อได้ 2 สถานี งานค่อนข้างมาก 
    • วันที่ 23-03-2011 ติดต่อได้ 11 สถานี
    • วันที่ 24-03-2011 ติดต่อได้ 2 สถานี วันนี้ความถี่เงียบมาก 
    • วันที่ 25-03-2011 ติดต่อได้ 1 สถานี 
    • วันที่ 26-03-2011 งดการ CQ ไปร่วมดูการสอบพนักงานวิทยุสมัครเล่นอเมริกา ที่จังหวัดสุราษ
    • วันที่ 27-03-2011 ติดต่อได้ 4 สถานี 
    • วันที่ 28-03-2011 ติดต่อได้ 3 สถานี รวมไปถึงสถานี EA8AK ด้วย
    • วันที่ 29-03-2011 ติดต่อได้ 29 สถานี แบบ QRP ได้ 2 สถานี (รวม 31 สถานี) สถานีทางไกลก็คือ OH8OR
    • วันที่ 30-03-2011 งด CQ
    • วันที่ 31-03-2011 ติดต่อได้ 21 สถานี โดยเฉพราะทางยุโรปได้หลายสถานี  วันนี้ไฟดับ และฝนตกหนัก
    • วันที่ 01-04-2011 ติดต่อได้ 4 สถานี รวมทั้งแบบ QRP ด้วยครับ 
    • วันที่ 02-04-2011 ติดต่อได้ 14 สถานี สถานีทางไกลคือ  LA3WAAจาก Norway
    • วันที่ 03-04-2011 ติดต่อได้ 6 สถานี 
    • วันที่ 04-04-2011 ติดต่อได้ 1 สถานีคือ V85SS  
    • วันที่ 05-04-2011 ติดต่อได้ 3 สถานี 
    • วันที่ 06-04-2011 ติดต่อได้  22 สถานี วันนี้ติดต่อความถี่ 28 MHz ได้หลายสถานี ส่วนมากจะเป็น ทางยุโรป สถานีทางไกล เช่น GW3JXN (WALES) DJ9CW(Germany)
    • วันที่ 07-04-2011 ติดต่อได้ 2 สถานี 
    • วันที่ 08-04-2011 ติดต่อได้ 2 สถานี
    • วันที่ 09 และ 10-04-2011 แข่งขันรายการ Japan International DX Contest 2011 ติดต่อได้ รวม 86 สถานี
    • วันที่ 12-04-2011 ติดต่อได้ 5 สถานีโดยความถี่ 14 MHz 
    • วันที่ 13-04-2011 ติดต่อได้ 4 สถานี มีสัญญาณรบกวนมาก 
    • วันที่ 14 และ 15-04-2011 ติดต่อได้ 18 สถานี ส่วนมากจะเป็นทางยุโรป 
    • วันที่ 16-04-2011 วันนี้ได้ CQ น้อย ติดต่อได้ 2 สถานี
    • วันที่ 17-04-2011 ติดต่อได้ 8 สถานี ทดลองสายอากาศอีกต้น  
    • วันที่ 18-04-2011 ติดต่อได้ 7 สถานี  
    • วันที่ 21-04-2011 ติดต่อได้ 5 สถานี 
    • วันที่ 22-04-2011 ติดต่อได้ 7 สถานี 
    • วันที่ 23-04-2011 ติดต่อได้ 9 สถานี มีสัญญาณรบกวนมาก
    • วันที่ 24-04-2011 ติดต่อได้ 5 สถานี ที่ความถี่ 18 MHz 
    • วันที่ 25-04-2011 ติดต่อได้ 71 สถานี เป็นสถานีทางยุโรปและอเมริกา ที่ความถี่ 18 MHz 
    • วันที่ 27-04-2011 ติดต่อได้ 110 สถานี 
    • วันที่ 29-04-2011 ติดต่อได้ 29 สถานี


      รวม 896 สถานี
        หมายเหตุ โดยปกติจะ CQ ช่วงบ่ายของแต่ละวัน บางวันอาจจะมีงานมากไม่สามารถใช้ความถี่ได้นานครับ 


        JA1BPA
        HA9PP
        เพื่อไม่ให้การทดลองครั้งนี้เสียเปล่า เราลองมาเรียนรู้หลักการกันบ้าง เรื่องแรกควรเป็นรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของความถี่ที่ใช้ในการติดต่อ โดย ARRL  

        18.068-18.168 MHz (17 meters) The 17 meter band is similar to the 20 meter band in many respects, but the effects of fluctuating solar activity on F2 propagation are more pronounced. During the years of high solar activity, 17 meters is reliable for daytime and early-evening long-range communication, often lasting well after sunset. During moderate years, the band may open only during sunlight hours and close shortly after sunset. At solar minimum, 17 meters will open to middle and equatorial latitudes, but only for short periods during midday on north-south paths. 


        17 Meter ได้รับการยืนยันมา 4 ประเทศ

         
        21.0-21.45 MHz (15 meters) The 15 meter band has long been considered a prime DX band during solar cycle maxima, but it is sensitive to changing solar activity. During peak years, 15 meters is reliable for daytime F2 layer DXing and will often stay open well into the night. During periods of moderate solar activity, 15 meters is basically a daytime-only band, closing shortly after sunset. During solar minimum periods, 15 meters may not open at all except for infrequent north-south transequatorial circuits. Sporadic E is observed occasionally in early summer and midwinter, although this is not common and the effects are not as pronounced as on the higher frequencies.  

        24.89-24.99 MHz (12 meters) This band offers propagation that combines the best of the 10 and 15 meter bands. Although 12 meters is primarily a daytime band during low and moderate sunspot years, it may stay open well after sunset during the solar maximum. During years of moderate solar activity, 12 meters opens to the low and middle latitudes during the daytime hours, but it seldom remains open after sunset. Periods of low solar activity seldom cause this band to go completely dead, except at higher latitudes. Occasional daytime openings, especially in the lower latitudes, are likely over north-south paths. The main sporadic E season on 24 MHz lasts from late spring through summer and short openings may be observed in mid-winter.

        28.0-29.7 MHz (10 meters) The 10 meter band is well known for extreme variations in characteristics and a variety of propagation modes. During solar maxima, long-distance F2 propagation is so efficient that very low power can produce strong signals halfway around the globe. DX is abundant with modest equipment. Under these conditions, the band is usually open from sunrise to a few hours past sunset. During periods of moderate solar activity, 10 meters usually opens only to low and transequatorial latitudes around noon. During the solar minimum, there may be no F2 propagation at any time during the day or night. 

        Sporadic E is fairly common on 10 m, especially May through August, although it may appear at any time. Short skip, as sporadic E is sometimes called on the HF bands, has little relation to the solar cycle and occurs regardless of F layer conditions. It provides single-hop communication from 300 to 2300 km (190 to 1400 mi) and multiple-hop opportunities of 4500 km (2800 mi) and farther. 

        Ten meters is a transitional band in that it also shares someof the propagation modes more characteristic of VHF. Meteor scatter, aurora, auroral E and transequatorial propagation provide the means of making contacts out to 2300 km (1400 mi) and farther, but these modes often go unnoticed at 28 MHz. Techniques similar to those used at VHF can be very effective on 10 meters, as signals are usually stronger and more persistent. These exotic modes can be more fully exploited, especially during the solar minimum when F2 DXing has waned.



         



        10 Meter ได้รับการยืนยันมา 11 ประเทศ




        NCDXF/IARU Beacon ช่วยพยากรณ์สภาพอากาศได้ดี โดยสามารถ รับฟังได้ที่ความถี่ 18.110, 21.150, 24.930 MHz (ย่านอื่นไม่ขอกล่าวถึง) Beacon ตัวที่ผมได้ยินบ่อย ๆ คือ JA2IGY จาก Japan, RR9O จาก Russia, 4S7B จาก Sri Lanka เป็นต้น การส่ง จะส่งสลับกันไป ทั้ง 18 ตัว(ทั่วโลก) 5 ความถี่ (สลับกันไป ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ncdxf.org/beacon/beaconschedule.html) ด้วยความเร็วรหัสมอร์ส 22 คำ/นาที ส่ง Callsign ของสถานีนั้น ๆ ตามด้วย เสียง ดาห์ ยาว ๆ 4 ครั้ง โดยที่ ดาห์แรกจะส่งด้วยกำลังส่ง 100 วัตต์ ดาห์ที่สอง 10 วัตต์ ดาห์ที่สาม 1 วัตต์ และดาห์สุดท้าย 0.1 วัตต์ ให้เราฟังเอา ถ้าอากาศเปิดมาก ก็อาจจะได้ยินครบทั้งสี่ ดาห์ แต่ที่ผมฟัง ๆ ของญี่ปุ่นและรัสเซีย ได้ยินสูงสุดแค่ 3 ดาห์ครับ



        วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

        Thailand Field Day Contest 2011 ของ HS8JYX

        กิจกรรม Thailand Field Day Contest ปี 2011 จัดขึ้นในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2554 ตั้งแต่เที่ยงวันเสาร์ ถึงเที่ยงวันอาทิตย์ ทีม HS8JYX เลือก สถานที่ออกอากาศเป็น สวนพฤกษาสวรรค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก



         

        สายอากาศ Quad 7 E


         

        แหล่งพลังงาน แบตเตอรี่ ขนาด 12V  70AH พร้อมด้วยวงจรตรวจสอบระดับพลังงาน


        วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

        สร้างสายอากาศแบบ Loop ย่าน 2 มิเตอร์ สำหรับงานภาคสนาม

        สายอากาศแบบ loop แบบง่าย ๆ สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นมือใหม่ สามารถนำไปใช้ได้ดีในงานภาคสนาม หรืออาจจะทดลองทำเป็นสายอากาศต้นแรกก็ได้

        วัสดุที่ใช้ มีท่อ PVC ตามรูป ขนาดพอเหมาะ ไม่อ่อน หรือมีน้ำหนักมากเกินไป ลวดทองแดง เบอร์ 14 หรือ เบอร์ 16 ก็ได้ (อาจจะใช้เบอร์อื่นก็ได้)




        สูตรการคำนวนความยาว loop ได้จากสูตรด้านบน
        306.4/145MHz =2.11 เมตร
        หรือความยาวด้านละ = 2.11 /4 = 52.8 เซนติเมตร




        ความยาวของแขนแต่ละข้าง สามารถคำนวนได้จาก
        52.8 cm X 0.707 = 37.8 cm โดยวัดจากจุดศูนย์กลางของสี่เหลี่ยม เจาะรูที่ปลายของแขนแต่ละข้างให้ทะลุเพื่อร้อยสายสวดทองแดง




        จุดต่อสายนำสัญญาณ ให้ต่อโดยตรงกับแขนด้านซ้าย หรือขวา เพื่อให้ได้ขั้วคลื่นแบบแนวตั้ง หรือภาษาอังกฤษบอกว่า Vertical Polarization


        ในรูปตัวอย่างผมได้ใส่ toroid core เอาไว้ได้เป็นบาลัน แบบง่าย ๆ
        จากการทดสองวัดค่า SWR เป็นที่น่าใจ สามารถปรับให้ลงต่ำกว่า 1.5 : 1 ได้โดยไม่ยากเย็น (โดยการปรับจุดบัดกรีสายนำสัญญาณ)



        สายอากาศแบบ Loop นี้จะมีรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นแบบ 2 ทิศทาง คล้ายเลข 8


        ทดลองวัดความแรง จากการหันสายอากาศแบบรูปแรก หลอดไฟจะสว่างมาก




        ทดลองหันอีกด้านหลอดไฟสว่างน้อยมาก

        บทความที่น่าสนใจ


        วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

        ผลการสอบ US Amateur Radio Examination BKK Thailand

        ผลการสอบ US Amateur Radio Examination BKK Thailand


        บทความจาก 100 วัตต์ ฉบับที่ 130 เป็นบทความที่น่าสนใจ เลยนำมาเผยแพร่ต่อ 


        สำหรับผมเองก็ได้ทดลองชักชวนเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นหลายท่านให้ไปสอบ อยากให้เขาได้อ่าน ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่ผลตอบรับมาคือ โดนปฏิเสธ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษไม่ถนัด ไม่มีที่อยู่ในอเมริกา ไม่มีความรู้เพิ่งเข้ามาในวงการ ... และร้ายกว่านั้นคือไม่มีเวลา (ที่จะเรียนรู้) 

        เนื้อหาของข้อสอบเป็นเรื่องวิชาการ สำหรับท่านที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก็มีคู่มือให้อ่าน แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า แค่ ARRL Handbook เล่มเดียวก็พอแล้ว (ที่พูดถึง ARRL Handbook ก็เพราะว่า มันหาโหลดได้ง่ายในโลกออนไลน์ แต่ใครไม่ถนัดอ่านในคอมพิวเตอร์ก็สามารถสั่งเป็นเล่มมาอ่านได้)

        ARRL 2010 Handbook


        วงจรตรวจสภาพแบตเตอรี่ 12 โวลต์

        ก่อนถึงวันแข่งขัน Thailand field day contest ผมคิดว่าเราคงต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 12 โวลต์ จากรถยนต์ ถ้าพามิเตอร์ไปวัดแรงดันไฟตลอดเวลาก็คงไม่ไหว เลยหาวงจรง่าย ๆ มาประกอบเล่นน่าจะสนุก และได้ความรู้มากกว่ากว่า



        วิธีการใช้งานง่าย ๆ ครับ ถ้าแรงดันอยู่ในสภาพปกติ ไฟเขียวจะติด แต่ถ้าไฟอ่อน ไฟแดงจะติด (แรงดัน 11 โวลต์ขึ้นไปถือว่าปกติ แต่ถ้าน้อยกว่าแสดงว่าแบตเตอรี่ ไม่พร้อมใช้งาน จะหมดพลังงานแล้ว)


        วงจรนี้ใช้ IC op -Amp เบอร์ LM358N เป็นวงจรเปรียบเทียบแรงดัน 2 ชุด IC1A ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าแรงดันยังมีมากพอที่จะใช้ได้หรือไม่ ส่วน IC1B ทำหน้าที่เปรียบเทียบว่าแรงดันต่ำจนถึงระดับแบตเตอรี่หมดหรือยัง

        ZD 5.6 โวลต์ เบอร์ 1N5232
        ZD 7.5 โวลต์ เบอร์ 1N5236




        ไฟแดง แบตเตอรี่หมดแล้วครับ

        ปรับแต่งสายอากาศก่อนทำการแข่งขัน

        หลังจากประกอบสายอากาศเสร็จเมื่อปีที่แล้ว ผมยังไม่ได้ปรับแต่งสายอากาศอย่างจริงจังเลย วันนี้เลยต้องจับมาปรับแต่งใหม่ การปรับแต่งเป็นที่น่าพอใจ ค่า SWR ไม่เกิน 1.5:1


        วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

        CQ160 CW ปี 2011 ของ HS8JYX

        ผมเดินทางออกจากบ้านด้วยความเร่งรีบ เนื่องจากฝนตกหนักมาก ติดตั้งสายอากาศแบบ inverted L อย่างง่าย ๆ ไม่สูงมากนัก เท่าที่พอจะหาวัสดุได้



        เนื่องจากฝนตกมาก ไม่สามารถติดตั้งสายอากาศได้อย่างเหมาะสม สายอากาศมีค่า SWR สูง ผมจึงไม่สามารถเพิ่มกำลังส่งได้ เลยต้องลดกำลังส่งมาเล่นแบบ QRP 


         แหล่งพลังงานใช้จากภาคจ่ายไฟแบบสวิชชิ่ง 12 โวลต์ น้ำหนักเบามาก (homebrew)

        ผลการติดต่อได้แค่ 3 สถานีครับ จาก มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย แล้วเจอกันใหม่ปีหน้านะครับ