แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Dipole แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Dipole แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Dipole (ไดโพล) กับ Folded Dipole (โฟลเด็ดไดโพล) มันต่างกันอย่างไร

ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)

คำถาม :: Dipole (ไดโพล) กับ Folded Dipole (โฟลเด็ดไดโพล) มันต่างกันอย่างไร



คำตอบ :: ได (Di) แปลว่า 2 ส่วน โพล (Pole) แปลว่าขั้ว สายอากาศ 2 ขั้ว เป็นสายอากาศพื้นฐานที่ทำได้ง่ายที่สุด

รูปที่ 1 สายอากาศไดโพล (Dipole Antenna)

ต่อมาก็ดัดแปลงมันนิดหน่อยเอาโลหะอีกเส้นมาวางขนานแล้วเชื่อมหัวท้ายเพื่อบีบรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของมันให้แบนลง ทำให้ได้อัตราการขยายที่สูงขึ้นรูปร่างของมันก็จะเหมือนกับการต่อความยาวของสายอากาศไดโพลแล้วพับลงมา (รูปที่ 2) คำว่าโพลเด็ด Folded แปลว่าพับแล้ว พวกที่เป็นห่วง ๆ นั่นแหละ โพลเด็ดไดโพล ยังป้อนสัญญาณวิทยุตรงกลางต้นอยู่

และถ้ามีการดัดแปลงให้ป้อนสัญญาณเข้าที่ปลายสายอากาศแบบไดโพล ซึ่งสามารถบีบรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นให้แบนได้มากขึ้น ได้อัตราการขยายมากขึ้น แต่ค่า SWR ก็สูงขึ้นด้วย จึงมีการทำตัวปรับค่า SWR เป็นรูปตัว U เอาขาข้างหนึ่งต่อกับสายอากาศไดโพล กลายเป็นรูปตัว J เรียกว่าเจโพล (รูปที่ 3)




ดัดแปลงเจ้า J ต่ออีกหน่อย วางโลหะอีกเส้นให้ขนานกันคล้าย ๆ โพลเด็ดไดโพล เรียกว่า J intigrated match หรือ JIM เป็น JIM เพรียว ๆ เลยเรียกว่า สลิมจิม (รูปที่4) คนที่ออกแบบ สลิมจิมชื่อ F.C. Judd

ทำไมเอาสายอากาศไดโพลไว้ข้างเสา เอา V2 ไว้ด้านบน

คำถาม :: เห็นใคร ๆ ก็ติดสายอากาศไดโพล 4 ห่วง 8 ห่วง ไว้ข้าง ๆ Tower แล้วเอาพวก V2 หรือ 5/8 Lambda ไว้ด้านบนยอดเพราะอะไร เปลี่ยนกันได้มั้ย? 





ตอบ :: พวกสายอากาศ V2 ก็คือสา่ยอากาศ 5/8 Lambda ชนิดหนึ่ง (V2 เป็นชื่อทางการค้า) เป็นสายอากาศแบบรอบตัว ถ้าเอาไปไว้ข้าง ตัว Tower เป็นโลหะ จะมีผลกระทบต่อคุณสมบัติของสายอากาศต้นนั้นอย่างมาก

ส่วนสายอากาศ Folded Dipole (ต้องเรียกว่า Folded Dipole ไม่ใ่ช่ Dipole เฉย ๆ ) เป็นสายอากาศกึ่งรอบตัว ถูกออกแบบมาให้ตัวเสาอากาศเป็นส่วนหนึ่งของสายอากาศอยู่แล้ว คือทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนสัญญาณ เมื่อติดตั้งเข้าด้านข้าง Tower ในระยะห่างที่เหมาะสมก็ไม่เสีียหายอะไร

อีกอย่างหนึ่งมันหนักจะตาย ขืนเอาไปชูโด่เด่ไว้ เจอลมแรง ๆ เข้าเกิดโค่นลงมาบาดเจ็บล้มตาย สถานีเสียหาย ไม่คุ้มหรอกครับ


ข้อมูลจาก 100 วัตต์ เล่มที่ 68 พ.ศ 2543)