แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ jt65 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ jt65 แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

NetTime โปรแกรมตั้งเวลาฟรีอีกตัวที่น่าสนใจ

อยู่ ๆ เวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผมก็คลาดเคลื่อน จะให้ windows อัปเดทอัตโนมัติ มันก็ไม่ยอมทำงาน ค้นหาข้อมูลไปเจอโปรแกรม NetTime โปรแกรมตั้งเวลาฟรีอีกตัวที่น่าสนใจ

http://www.timesynctool.com/


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ใช้เวลาถึง 2 วันกว่าจะติดต่อได้ VE9DX

 VE9DX จาก Canada ระยะทาง 13881.1 km ได้นัดผมให้มาติดต่อกันที่ความถี่ 18 MHz เพื่อการยืนยันการติดต่อด้วย LoTW เราใช้เวลา 2 วันกว่าจะติดต่อกันได้ ผมรับเขาด้วยสายอากาศ ไดโพล 21 MHz 


และหลังจากนั้นไม่นาน VE9DX ก็ได้ส่งภาพหน้าจอมาพร้อมกับแจ้งว่ารับสัญญาณด้วยสายอากาศไดโพล ย่านความถี่ 3.5 MHz

 ระบบ JT65 ก็สนุกไปอีกแบบนะครับ


 ในที่สุดก็ได้รับการยืนยันใน LoTW

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

มีโอกาสได้ทดลอง JT65HF

ก่อนหน้าผมใช้โปรแกรม WSJT ในการเล่นโหมด JT65 แต่หลายวันที่ผ่านมาโปรแกรมมันไม่ค่อย Decode มีคนตอบ CQ มามากมายแต่ผมไม่สามารถโต้ตอบกับเขาได้ เลยตัดสินใจทดลองโปรแกรม JT65HF ดูเผื่อว่าอะไรจะดีขึ้น


ผลปรากฏว่า JT65HF สามารถ Decode ได้ดี (ผมทดลองเปิดโปรแกรมทั้ง 2 พร้อมกัน โดยปกติ 2 โปรแกรมนี้ก็ทำงานได้พอ ๆ กันแต่ในที่นี้โปรแกรมของผมมีปัญหาเอง)

หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จ ผมไม่คุ้นกับหน้าตาโปรแกรมที่แปลกใหม่ เล่นเอางงไปนาน แต่หลังจากอ่านคู่มือ และทดลองเล่นดูพบว่า มีลูกเล่นที่น่าสนใจ ทำให้อะไร ๆ ง่ายขึ้นครับ

โปรแกรม JT65HF จะมีข้อจำกัดอย่างหนึ่งเมื่อเทียบกับ WSJT ก็คือมีแค่โหมด JT65A อย่างเดียว 

 
Log QSO  สิ่งที่เพิ่มความสะดวกให้กับ JT65HF หลังจาก QSO เสร็จสิ้นสามารถลง Log ได้ทันที ไฟล์ที่ได้จะเป็น jt65hf_log.adi สามารถนำไปใช้งานได้ทันที


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ทดลองระบบ JT65B กับ HS8FLU ระยะทาง 15 กิโลเมตร VHF 2 meter

วันนี้ได้ทำการทดลองระบบ JT65 กับท่าน HS8FLU โดยใช้วิทยุแบบมือถือ 2 meter FM ในการส่ง โดยที่ก่อนส่งระบบ JT65 เราได้ทดลอง คุยกันโดยใช้เสียงพูดก่อน เราทดลองใช้กำลังส่ง Mediam สามารถคุยกันได้บ้างไม่ได้บ้าง จับใจความแทบไม่ได้ จากนั้น ลดกำลังส่งเป็น Low ผลปรากฏว่า ไม่สามารถติดต่อกันได้เลยด้วยระบบเสียงพูด (ไม่ได้ยินอะไรเลย มีแต่เสียงซู่ ซ่า)

ข้อมูลสถานี 
วิทยุรับส่งแบบมือถือ สายอากาศติดรถยนต์ (ทั้งผ่ายรับและส่ง) วางไว้บนหลังคาบ้าน กำลังส่ง Low แรงดันไฟ 12 โวลต์ ระยะทาง ประมาณ 15 กิโลเมตร โปรแกรม wsjt สุดท้ายชุด interface ทำเอง



วิทยุมือถือยีห้อ Standard และการต่อชุด interface เข้ากับ Port Com 1 ของคอมพิวเตอร์  การประกอบวงจร interface เพื่อใช้กับวิทยุแบบมือถือ สามารถดูได้ที่ http://www.hs8jyx.com/html/vhf_beacon.html



ผลการทดลองด้วยกำลังส่ง Low พบว่าสามารถรับได้ดีมาก มีความแรง -10dB โดยประมาณ ด้วย ระบบ JT65 ซึ่งเป็นที่น่าพอใจ ไม่น่าแปลกเลยถ้าเราจะติดต่อได้ไกลขึ้นด้วยระบบนี้


ใหน ๆ ก็ทดลองแล้ว เราก็ขอทดลองส่งด้วยระบบ JT65A ในย่าน VHF ดูบ้างแล้วกัน (ระบบนี้ใช้ในย่าน HF) ผลปรากฏว่ารับได้ใกล้เคียงกันที่ -10 dB


สุดท้ายตามด้วยการทดลอง ว่าระบบนี้จะสามารถทนต่อสัญญาณรบกวนได้ดีขนาดใหน เราก็เลยไปออกอากาศใกล้ ๆ กับช่องที่มีสมาชิกใช้ความถี่ตลอดเวลา ผลก็พบว่า สัญญาณของเราตกไปพอสมควรคือรับได้ประมาณ -20 dB แต่ข้อความยังถูกต้อง 100% ครับผม

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

รูปแบบการติดต่อโหมด JT65 แบบง่าย ๆ



ระบบ JT65 ถูกออกแบบมาให้ติดต่อแบบข้อความสั้น ๆ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ตัวอย่างการติดต่อแบบสั้น ดังนี้



CQ HS8JYX NJ98 <<=== ผม CQ พร้อมด้วยการแจ้งกริด (Grid)
N6JC HS8JYX CM98 <<=== N6JC ตอบ CQ ตามด้วยแจ้ง กริด (grid) ของเขา
N6JC HS8JYX -06 <<=== ผมรายงานระดับสัญญาณที่รับได้ให้เขาทราบ
HS8JYX N6JC R-09 <<=== N6JC ส่ง R (Roger ) พร้อมด้วยรายงานระดับสัญญาณที่เขารับได้
N6JC HS8JYX RRR <<
=== ผมแจ้ง RRR เพื่อยืนยันการติดต่อว่ารับข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน
HS8JYX N6JC 73 <<=== เขาแจ้งจบการติดต่อ

N6JC HS8JYX 73 <<=== ผมแจ้งจบการติดต่อ
 

บางสถานีอาจจะแจ้งข้อมูลของสถานีด้วยเช่น

10W DIPOLE 73 (ออกอากาศด้วยสายอากาศไดโพล กำลังส่ง 10 วัตต์)

การติดต่อไปมาแบบสั้น ตามตัวอย่างจะใช้เวลาทั้งหมด 6 นาที (นับตั้งแต่เริ่ม CQ จนถึงสิ้นสุดการติดต่อ) ถ้าไม่มีความผิดพลาด หรือสัญญาณจางหายไป
 

การรับและส่งทั้งสองสถานีจะใช้ช่วงเวลาเวลา 1 นาที โดยที่ 1 นาทีจะประกอบด้วย ส่ง 48 วินาที อีก 12 วินาที จะเงียบ ถ้าเป็นผ่ายรับจะใช้เวลานี้ในการ decode สัญญาณออกมาเป็นข้อความ เรื่องเวลาสำคัญมากสำหรับโปรแกรมนี้ ทั้งผ่ายรับกับผ่ายส่งเวลาในเครืองคอมพิวเตอร์ต้องตรงกัน (เราสามารถตั้งเวลาได้โดยใช้โปรแกรมเสริมครับ)



ตัวอย่างโปรแกรม Dimension 4 สำหรับตั้งเวลาให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ http://www.thinkman.com/dimension4/

ระบบ JT65 จะไม่เหมือนกับระบบดิจิตอลอื่น ๆ บางระบบ ขณะที่คู่สถานีเป็นผ่ายส่ง เราจะรับสัญญาณได้เลย เช่น PSK31, RTTY หรือ SSTV ระบบ JT65 ต้องรอให้ผ่ายส่ง ส่งสัญญาณมาครบถ้วนก่อน จึงค่อย decode ข้อความออกมาครับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทดลองเล่นโหมด JT65A สองวันแรก

การเรียนรู้ทดลองเรื่องใหม่ ๆ เป็นคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่น ผมเลยต้องทดลองเรียนรู้การติดต่อในโหมดอื่น ๆ ดูบ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้กับตัวเอง เริ่มเล่นใหม่ ๆ ผมก็งงครับ พยายามค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จาก internet อ่านมาก ๆ ก็เริ่มเข้าใจ และทดลองโหลดโปรแกรมมา ลองหัดรับดูครับ พอเข้าใจหลักการติดต่อแล้วจึงเริ่ม CQ ดูเลยครับ





รูปแบบการติดต่อแบบง่าย ๆ ใน Mode JT65 


ในวันแรกผมได้รื้อวงจร interface เก่าที่เคยทำไว้นานแล้ว เอามาดัดแปลงใหม่ ให้ทำงานได้ดีกับระบบนี้ครับ 






จริง ๆ แล้ววงจร Interface (IC-718) ไม่ได้มีความลับอะไรมาก ทำหน้าที่ควบคุมการกดคีย์ เมื่อโปรแกรมสั่งให้กดคีย์ วงจรก็จะทำงาน แค่นั้นเองครับ (ขา 5 ต่อลงกราด์ หรือ ขา 6และขา 7) สายสัญญาณอีกส่วนก็นำเสียงจากคอมพิวเตอร์ส่งเข้าวิทยุรับส่งผ่านทางขั้วต่อ Mic (ขา 1 ในรูป) ถ้ากลัวว่าเสียงที่ป้อนเข้าวิทยุจะดังเกินไป จะปรับที่คอมก็ไม่สะดวก ก็ให้ใส่โวลลุ่มเข้าไป 1 ตัวเพื่อปรับระดับเสียงครับ




สิ่งที่น่าประทับใจแรกของโปรแกรมนี้คือ ใช้งานได้ดีแม้ว่าสัญญาณที่รับได้จะอ่อนมาก มากถึงขั้นที่ว่าหูเราไม่ได้ยินแล้ว แต่โปรแกรมยังรับสัญญาณได้ และถูกต้อง และอีกอย่างที่บ้านผมมีสัญญาณรบกวน ที่ความถี่ 21 MHz นี่ กวนมากเรียกได้ว่า S meter ลอยอยู่ที่ 8-9 ตลอดทั้งวัน แต่ไม่มีปัญหากับโปรแกรมนี้แม้แต่น้อยครับ



ตัวอย่างสถานีที่ติดต่อได้ในสองวันแรก

T88XC, JA1NUX, JA4VKL, VK4FQN, JA4QYQ, JG1WNO, JI4JGD, JA6BZH, BV7RC, JA7FYU, JA1IZ, JA9AOB, JA3EYP,JH1QKG, JA7CSS, JA1PJS, JA1CJY, JF1TEU,JF2FQW, JH1QKG, JA7CSS, JA1PSJ, JH1CJY, JF1TEU, JF2FWQ, JH2LPY, VK7XX, JA1UGN, JF3KOA, JH4JPO, JA6EDJ, JA6ADA, ZL3HAM,JH3OWW, JG1FPO, F8RZ, ZS2I, JN3DNK, ZS1LS, JI3CJP เป็นต้น



eQSL บางส่วน







แถมมาด้วยการยืนยันใน LoTW อีก 3 ประเทศ ถือว่าเป็นการยืนยันที่รวดเร็วมาก