แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ n1mm แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ n1mm แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

โปรแกรม N1MM ร่วมกับ FLDIGI เพื่อเล่นโหมดดิจิตอล

ใกล้ถึงวันแข่งขัน CQ World Wide RTTY Contest 2012 แล้ว เรามาปรับแต่งโปรแกรม N1MM ของเราให้พร้อมใช้งานกันดีกว่า

โปรแกรม N1MM เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเล่นโหมดดิจิตอลได้  ต้องมีโปรแกรมเสริม อาจจะเป็น MMTTY หรือ FLDIGI ก็ได้ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง FLDIGI ซึ่งสามารถเล่นได้หลากหลายโหมดกว่า MMTTY

ขั้นแรกให้ไปตั้งค่าการแข่งขันในรูปแบบดิจิตอลก่อน ตัวอย่างเลือก CQWWRTTY


จากนั้นให้เข้าไปตั้งที่ในโปรแกรม N1MM โดยไปที่ Config เลือก Configure Port,Mode Control,... เลือกที่ Digital Mode จะได้ดังรูป


Digital Interface 1 TU Type เลือกเป็น Sound Card


DI-1 Fldigi Setup กำหนดตำเหน่งของโปรแกรม Fldigi (fldigi.exe) แล้วคลิก OK เป็นอันเสร็จสิ้น (ในที่นี้ในเครื่องต้องมีโปรแกรม Fldigi แล้ว ถ้ายังไม่มีให้ติดตั้งโปรแกรม Fldigi ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน)


 หลังจากติดตั้งเสร็จสิ้นแล้วจะได้หน้าตาโปรแกรมประมาณนี้

 ปัญหาที่บางท่านอาจจะเจอคือไม่มีสัญญาณเสียง เข้า/ออก อาจจะยังไม่ได้ตั้งค่า Sound Cardในโปรแกรม Fldigi ให้ไปตั้งค่าตามรูป





 กรณีที่ใช้กับชุด CAT ถ้าเจอปัญหา คีย์ค้าง หรือ โปรแกรมหยุดส่งสัญญาณแล้วแต่วิทยุยังคง PTT อยู่ ให้ลองเลือก Enable Both Hardware & Software PTT ในโปรแกรม N1MM


ตัวอย่าง ลูกเล่นของโปรแกรม Fldigi ในการรับหลาย ๆ สัญญาณพร้อมกัน อาจจะช่วยอำนวยความสะดวกให้เราได้ เวลาแข่งขัน


ขอให้สนุกกับการติดต่อ / แข่งขัน ในโหมดดิจิตอลนะครับ
 

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สร้าง Contest Voice Keyer แบบง่าย ๆ สำหรับ IC-2200 และวิทยุโมบาย ทั่วไป

สำหรับเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นที่เคยทำการแข่งขันวิทยุสมัครเล่น ประเภทเสียงพูด อย่างเช่น รายการ CQ WW VHF คงรู้ดีกว่า การ CQ ตลอดทั้ง 27 ชั่วโมง (ถ้ามีแรงเล่นนะครับ) นั้นเป็นเรื่องที่เหนื่อยเอาการ  คงจะดีไม่น้อย ถ้าเรามีตัวช่วยในการ CQ หลายวงจรที่ถูกออกแบบมาจะเหมาะกับวิทยุ HF หรือวิทยุขนาดใหญ่ ราคาแพง แต่นักวิทยุบ้านเรานิยมวิทยุประเภทเครื่องโมบาย ดังนั้นเรามาดัดแปลงวงจรเพื่อให้ใช้กับวิทยุโมบายของเรากันดีกว่า 

แนวทางในการออกแบบวงจร

1. ต้องมีต้นทุนที่ต่ำ หาอุปกรณ์ได้ง่าย
2. วงจรต้องไม่ยุ่งยาก หรือซับซ้อน เพื่อให้เพื่อน ๆ สมาชิกสามารถประกอบตามได้
3. ต้องใช้งานได้ดี

เริ่มด้วยดูขั้วต่อสายไมค์โครโฟนของ IC-2200 ก่อน ว่าสายใหนต่อไปจุดใหนดังรูป




 จากรูปพบว่า ขา 4 เป็นขา PTT หรือ ใช้สำหรับกดคีย์ มันจะทำงานเมื่อขา 4 ไปโดนกับกราวด์หรือ ขา 7 GND (GND = Ground)


การทดลองวงจร ผมเลือกใช้แผ่นพริ้นเอนกประสงค์ ต่อ Opto PC-817 , หลอด LED และ C -0.1uF เพื่อทดลองว่า วงจรนี้สามารถควบคุมการกดคีย์ ของ ICOM IC-2200 ได้หรือไม่





รูปแบบการต่อวงจร ขั้ว DP9 ต่อกับคอมพิวเตอร์ Radio key ต่อกับ ขา key ของวิทยุ (วิทยุรับส่งแต่ละรุ่น ต่ำแหน่งขาอาจจะไม่เหมือนกัน แต่หลักการทำงานคล้าย ๆ กัน)




การต่อสาย DB9
รูปขั้วต่อแบบ DB9 (มี 9 ขา)


ต่อขา 4 กับขา 5 ตามรูป ได้เลยครับ ถ้ากลัวพลาดสังเกตุให้ดีจะมีการระบุหมายเลขขาแต่ละขาเอาไว้



วงจรควบคุมการกดคีย์ผ่านคอมพิวเตอร์ พร้อมใช้งาน



ทดลองต่อกับวิทยุ IC-2200 ผลปรากฏว่า สามารถควบคุมการกดคีย์ได้ดีมาก โดยใช้โปรแกรม Contest Logger ผมเลือกใช้ N1MM เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน 

ตัวอย่างการตั้งค่าโปรแกรม N1MM ให้สามารถบังคับวิทยุ IC-2200 ของเราได้


เลือก Com port ที่เราต่อ ผมต่อกับ Com1 จากนั้นไปตั้งค่าที่ Set


เลือก DTR (pin4) เป็น PTT เพราะเราต้องการให้มันกดคีย์ให้เรา ถ้าไม่ตั้งค่าตรงนี้ โปรแกรมก็ไม่สามารถสั่งคีย์วิทยุได้นะครับ



เมื่อมีการสั่งกดคีย์ หลอด LED จะสว่าง เมื่อสั่งปล่อยคีย์ หลอด LED ก็จะดับ




 สรุปว่าชุดควบคุมคีย์ทำงานได้ดี ปัญหาต่อไปคือ "แล้วเวลาเราจะส่งเสียงพูดของเราเองละจะทำไง" คำตอบคือ เราต้องมีสวิชเลือกระหว่าง เสียงจากไมค์ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ผมลองพิจารณาผลดีผลเสียแล้ว ผมคิดว่าจะใช้ รีเลย์ มาเป็นตัวตัดต่อดีกว่า แล้วใช้สวิช กดติดปล่อยดับมาควบคุมรีเลย์อีกที  รีเลย์จะควบคุม 2 ชุด ชุดแรกจะควบคุม การเลือกไมค์ / ไฟล์เสียงในคอมพิวเตอร์ ชุดที่สองสั่งกดคีย์แบบ Manual 


รีเลย์ที่ผมเลือกใช้ ใช้แรงดัน 12 โวลต์









Schematic ของวงจรต้นแบบ วงจรแบบง่าย ๆ ที่ท่านสามารถนำไปประกอบใช้ได้เลย

 วงจรตัวอย่างเมื่อประกอบเสร็จเรียบร้อย ผลการทดสอบ ใช้งานได้ดีมาก คุ้มค่ากับการลงทุน สิ่งที่ควรเพิ่มอีกอย่างคือ โวลลุ่มปรับระดับเสียง จากคอมพิวเตอร์ 

นอกจากนั้นวงจรนี้ยังสามารถ ส่ง ระบบดิจิตอลต่าง ๆ เช่น SSTV,RTTY และ รหัสมอร์สผ่านวิทยุโมบาย ได้อีกด้วย


ตัวอย่างโปรแกรม CW Type สำหรับส่งรหัสมอร์สด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ตัวนี้ได้ดี สามารถ Download ได้ที่ http://www.dxsoft.com/en/products/cwtype/


เข้าไปตั้งค่าโปรแกรม นิดหน่อย ก็สามารถส่งรหัสมอร์ส ได้แล้วครับ





วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

N1MM Free Contest Logger ตอน CW Prosign Macros

สำหรับคนที่เล่นรหัสมอร์ส บางครั้งอาจจะต้องส่งตัวอักษรที่เป็น Prosign หรือ Procedural signs คือส่งติดกัน เช่น AR ไม่ได้ส่ง .- .-. (ดิ ดาห์ ดิ   ดาห์ ดิต) แต่จะส่ง .-.-. (ดิ ดาห์ ดิ ดาห์ ดิต) ยาวต่อเนื่องกันไปเลย

 ตัวอย่าง CW Prosign Macros มีดังนี้

  • AR ใช้เครื่องหมาย + ใช้เมื่อ end of transmission
  • BT ใช้เครื่องหมาย =  ใช้เป็น separator (ตัวอัการ BTถ้าส่งต่อเนื่องจะมีเสียงเหมือนกับเครื่องหมาย = )
  • AS ใช้เครื่องหมาย ] คือ wait a second
  • SK ใช้เครื่องหมาย [ คือ end of contact



ตัวอย่างเช่น F1 เราต้องการส่งคำว่า CQ CQ DE HS8JYX AR เราต้องพิมพ์ข้อความในช่อง CW Message ว่า CQ CQ DE * + เป็นต้น และถ้าหากต้องการส่ง Prosign ตัวอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

การเพิ่มความเร็วในการส่งเฉพาะบางตัวในประโยค สามารถใช้เครื่องหมายดังนี้

  • ใช้เครื่องหมาย < แทนการเพิ่มความเร็วขึ้น 2 คำต่อนาที (2 wpm)
  • ใช้เครื่องหมาย > แทนการลดความเร็วลง 2 คำต่อนาที (2 wpm) 
ตัวอย่างเช่น เราต้องการส่ง รายงานสัญญาณให้คู่สถานีทราบ โดยเพิ่มความเร็วขึ้น 4 wpm เราอาจจะรายงานว่า JA0JHA (คู่สถานี) 599 เราต้องต้องพิมพ์ใน  CW Message ว่า ! << 5NN (<หรือ> จะเท่ากับเพิ่มหรือลด 2 wpm)

หมายเหตุ

  • ! หมายถึง Callsign ของคู่สถานีที่เรากำลังติดต่อด้วย
  • * หมายถึง Callsign ของเรา ตามที่เราตั้งค่าไว้ในโปรแกรม
Prosign หมายถึง Combintion of two code characters into a single special
character without a space between. 

    วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

    การใช้โปรแกรม N1MM Logger กับการแข่งขัน CQ WW VHF


    การใช้โปรแกรม N1MM Logger กับการแข่งขัน CQ WW VHF
    ก่อนอื่นเข้าไปโหลดโปรแกรม ได้ที่ http://n1mm.hamdocs.com/tiki-index.php



    การติดตั้งต้องติดตั้ง 2 ขั้นตอน คือตอนแรกให้ติดตั้ง N1MM Base Install ก่อน จากนั้นติดตั้ง N1MM Latest Updates

    วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

    N1MM Free Contest Logger ตอน ตัวช่วยที่ดีอย่าง Check

    N1MM Free Contest Logger ตอน ตัวช่วยที่ดีอย่าง Check
    เราสามารถเปิดตัวช่วยอย่าง Check ได้โดย ไปที่ Window - Check




    Check จะแสดงรายชื่อทั้งหมดที่อยู่ใน MASTER.DTA โดยจะแสดงให้สอดคล้องกับ Callsign ที่เราพิมพ์ลงไปเช่น



    เราพิมพ์ HS8 เข้าไป ตัว Check จะแสดงรายชื่อ ที่ประกอบด้วย HS8 มาให้เราเห็น
    ไฟล์ MASTER.DTA ของเราต้องแน่ใจว่ายังใหม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ไปโหลดไฟล์มาแทนตัวเก่าในเว็บ http://www.supercheckpartial.com/ เพื่อจะได้มีข้อมูล รายชื่อเพื่อนสมาชิกใหม่ ๆ


    หน้าต่าง Check ตอนเปิดขึ้นมาใหม่จะเจอข้อมูล วันเดือนปี,ขนาดของไฟล์



    ในกรณีที่เราพิมพ์ Callsign ที่ไม่มีในฐานข้อมูล หน้าต่าง Check จะโชว์ข้อความว่า Unique ซึ่งในบางครั้ง เราอาจจะต้องตรวจสอบ ว่าเราพิมพ์ Callsign ถูกหรือเปล่า (โดยเฉพาะรหัสมอร์ส ให้ฟังอีกรอบจนแน่ใจ) ถ้าแน่ใจว่าถูกต้อง ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้



    ในกรณีที่ซ้ำกับ Callsign ที่เคยติดต่อแล้ว หน้าต่าง Check จะโชว์ว่า
    Dupe! ซึ่งจะไม่ได้คะแนน ให้แจ้งคู่สถานีของเราไป


    นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นย่อย ๆ อีกอย่าง ลองคลิกขวาที่หน้าต่าง Check ดูนะครับ

    N1MM Free Contest Logger ตอน การเปลี่ยน Mode/Freq

    N1MM Free Contest Logger ตอน การเปลี่ยน Mode/Frequency แบบง่าย ๆ

    - การเปลี่ยนโหมด สามารถเปลี่ยนที่วิทยุกรณีที่วิทยุต่อกับคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าไม่ต่อ สามารถเปลี่ยนได้โดยการพิมพ์โหมดที่ต้องการลงไปคือ CW, LSB, USB, RTTY, AM, FM, PSK หรือ SSTV




    - การเปลี่ยนความถี่ สามารถทำได้หลายแบบ อย่างง่าย ๆ ที่สุดคือ พิมพ์ความถี่ที่จะเปลี่ยนลงไปแล้วกด Enter อาจจะพิมแบบสั้น ๆ ก็ได้เช่น เดิมอยู่ที่ความถี่ 14000 KHz ถ้าเราจะเปลี่ยนเป็น 14005 KHz เราก็พิมพ์แค่ 5 แล้วกด Enter โปรแกรมจะเปลี่ยนไปยัง 14005 KHz ทันที (ไม่ต้องพิมพ์ยาว 14005)



    - การเปลี่ยน Band ทำได้ง่าย ๆ คือ พิมความถี่ที่ต้องการเป็น KHz หรือไม่ก็ กด Ctrl + Page Up หรือ Page Down เพื่อเลื่อน Band ขึ้น/ลง (WARC bands จะถูกข้ามไป)


    - การเปลี่ยนความเร็ว ในการส่งรหัสมอร์ส กรณีที่ใช้โปรแกรมส่งรหัสมอร์ส สามารถปรับได้ ที่รูป 3 เหลี่ยมไกล้ ๆ กับตัวเลข (ดังรูป) วิธีที่สองคือ ปรับที่ปุ่ม Page Up/Page Down ที่คีย์บอร์ด สุดท้ายสามารถพิมพ์ระดับความเร็วไปโดยตรงก็ได้ ครับ

    N1MM Free Contest Logger ตอน สีและความหมาย

    N1MM Free Contest Logger ตอน สีของตัวอักษรและความหมาย

    นี่คือข้อดีอย่างหนึ่งของโปรแกรม จะแสดงสีแทนจำนวนคะแนนหรือตัวคูณ เพื่อให้ผู้ใช้งานสังเกตได้ทันที



    สีน้ำเงิน หมายถึง การ QSO ปกติไม่มีตัวคูณ
    สีแดง หมายถึง ได้ตัวคูณ 1 (Single Multiplier)
    สีเขียว หมายถึง ได้ตัวคูณสองหรือมากกว่า (Double or better Multiplier)
    สีเทา หมายถึง การ QSO ซ้ำกับข้อมูลก่อนหน้า

    N1MM Free Contest Logger ตอน การติดตั้งโปรแกรม

    N1MM Free Contest Logger

    โปรแกรมสำหรับนักแข่งขัน เป็นโปรแกรมฟรีที่น่าสนใจมากตัวหนึ่ง มีการ Update โปรแกรมให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โปรแกรมนี้สามารถติดตั้งบน คอมพิวเตอร์ตัวเก่า ๆ ได้ แนะนำไว้ที่ Pentium II/III 500-800 MHz ขึ้นไป ซึ่งคอมพิวเตอร์ในปัจุบันก็เร็วกว่านี้มากมายครับ

    ก่อนอื่น เข้าไป Download ตัวโปรแกรมมาติดตั้งกันที่ http://pages.cthome.net/n1mm/



    การติดตั้งจะมี 2 ไฟล์ให้โหลด
    ไฟล์แรกจะเป็น N1MM Logger Base Installอันนี้ต้องติดตั้งลงไปก่อน จากนั้นก็ติดตั้งตัว Latest Versions ตามไป

    เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ลองเปิดโปรแกรมขึ้นมา แล้วตั้งค่าข้อมูลสถานีของเราก่อน โดยเข้าไปที่ Config



    กรอกข้อมูลส่วนตัวของเราลงไป



    ก่อนการแข่งขันเราควรจะสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่ โดยเข้าไปที่ File ..New Database ..



    โปรแกรมนี้จะใช้ฐานข้อมูลแบบ Access 2000



    เมื่อสร้างฐานข้อมูลเสร็จ ให้ไปเลือก ประเภทของการแข่งขัน โดยไปที่ File - New Log in Database ตามรูป



    เลือกรายการแข่งขัน, วันเวลา, ประเภท ตามความต้องการของเรา แต่อย่างไรก็ต้องคำนึงถึงกฏ กติกาของการแข่งขันประเภทนั้น ๆ ด้วย เพราะตัวโปรแกรมจะออกแบบเมนูรวม ๆ มา (เพื่อให้เข้ากับการแข่งขันทุกรายการที่รองรับ) การแข่งขันบางรายการอาจจะมีประเภทของการแข่งขันน้อยกว่า ที่ตัวโปรแกรมกำหนดมา